วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โจรกรรมทางวรรณกรรม

ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติคำว่า Plagiarism  ไว้ 2 คำคือโจรกรรมทางวรรณกรรม(สาขาวรรณกรรม) กับ การลอกเลียนวรรณกรรม (สาขานิติศาสตร์) หมายถึงการกระทำที่เป็นการแอบอ้างงานเขียน หรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมของผู้อื่นทั้งหมด หรือนำมาบางส่วนมาใส่หรือมาใช้ในงานของตนเองโดยไม่มีการอ้างอิง แหล่งที่ได้ข้อมูลมา 
"Plagiarism เป็นรูปแบบหนึ่งของความไม่สุจริตทางวิชาการ (academic dishonesty) ในยุโรปสมัยโบราณนักวิชาการ (Scholar) มีความรอบรู้อย่างยอดเยี่ยมถ่ายทอดความคิดเป็นหนังสือ โดยการเขียนต้นฉบับด้วยลายมือของตนเอง รวมทั้งวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียนของนักวิชาการอื่นๆ ได้อย่างอิสระ ในสมัยนั้นยังไม่มีการพิมพ์ ไม่มีการจัดหน้าหนังสืออย่างเป็นระบบ จึงไม่มีระบบมาตรฐานของการอ้างอิง (citation) "
ได้อ่านบทความเกี่ยวกับโจรกรรมทางวรรณกรรม ของคุณบุษบา มาตระกูลแล้วก็รู้สึกว่าต้องมองย้อนดูสักหน่อย และยอมรับว่ามีการกระทำเช่นนี้อยู่บ่อยๆ ให้เห็น แม้แต่การเผยแพร่งานทางเว็บก็มักจะมีผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมฐานข้อมูลโน่น นี่ นั้น มาคัดลอกเอาไปดื่้อ ๆ ขนาดมีจดหมายไปถ้วงติงก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการเกิดขึ้นกับหน่วยงานที่เรียกว่าผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งเขาน่าจะเป็นผู้คัดกรองงานเหล่านี้ มิใช่เลี่ยงว่าจ้างทำ ที่สำคัญน่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดทำระบบฐานข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและนำเสนอวิธีการที่ถูกจ้องในการอ้างอิง และนำผลงานผู้อื่นมาใช้ เนื่องผู้เป็นเจ้าของงานไปเห็นงานจากบุคคลที่3 อ้างอิงงานของผู้คัดลอกมิใช่เจ้าของงานตามเจตนาของจรรยาบรรณการเขียนวรรณกรรม

มีอีกหลาย ๆ กรณีที่พวกเราอาจละเลย เช่น
การคัดลอกงานของตนเอง 
การส่งผลงานชิ้นเดียวกันไปพิมพ์ 2 แห่ง   
การส่งงานเขียนที่มีผู้เขียนร่วมไปตีพิมพ์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เขียนร่วม
การ download บทความจากอินเทอร์เน็ตมาใช้โดยไม่อ้างอิง
การนำสถิติ แผนภาพ รูปภาพ ของผู้/แหล่งอื่นมาใช้โดยไม่อ้างอิง


1 ความคิดเห็น:

  1. The Tinten Brothers, Tinten Brothers, Tinten Brothers, Tinten Brothers
    Tinten titanium tubing Brothers, Tinten Brothers, Tinten Brothers, Tinten Brothers, black titanium Tinten titanium pot Brothers, Tinten mens titanium rings Brothers, ion titanium hair color Tinten Brothers, Tinten Brothers, Tinten Brothers, Tinten Brothers

    ตอบลบ