วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ตุลาหนักกว่า



ตุลาคมน้ำจำนวนมากๆๆจากฝนที่ตกในที่ที่ต่างไปจากปีก่อน ๆอาจเป็นอิทธิพลของการเลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมด้วย เป็นที่สังเกตุว่าปริมาณน้ำท่วมเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยมีน้ำท่วมมาก่อน เกิดขึ้นหลายแห่ง จากพี่แจ๋วยังบอกว่าบ้านที่อุทัยไม่เคยมีน้ำท่วมหนักขนาดนี้ ในชั่วอายุของผู้เป็นแม่ ลุ่มน้ำสะแกกรังเป็น 1 ใน 25 ลุ่มน้ำก็เจอปัญหาน้ำท่วมมาในปีนี้ สุพรรณบุรีจะน้ำท่วมได้เนื่องจากการผันน้ำจากเขี่อนเจ้าพระยา เพราะว่าปริมาณน้ำจากฝนตกในพื้นที่มีน้อยมาก หลายพื้นที่ก็มีน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีเป็นพื้นที่ซ้ำซาก เช่น บางปลาม้า แต่เป็นพื้นที่ทุ่งนาจึงไม่มีใครเดือดร้อนนักยกเว้นคนทำนาที่ต้องปล่าช้าไป หรือต้องพักไปโดยปริยาย รอให้น้ำลด เพราะน้ำในบริเวณนี้ลดช้ามาก การใช้ถนนเดินทางผ่านสายเอเชียทำไม่ได้ เนื่องจากน้ำท่อมทางในเขตบางปะหัน การเลี่ยงการจราจรมาทางสายสุพรรณบุรัทำให้การจราจรติดขัดโดยเฉพาะวันแรก ๆ น้ำท่วมครั้งนี้ทำให้คนสุพรรณบางคนหงุดหงิด ที่กลายเป็นจำเลยของสังคม ที่น้ำไม่ท่อมย่านตัวเมื่อง แต่ถ้ามาดูพื้นที่จิง ๆ แลเวปีนีน้ำมากกว่าปี 2549 ที่น้ำท่วมเมืองสุพรรณอีก ด้วยน้ำมหาศาลในทุกพืนที่ ก่อนนี้เคยคิดว่าหากเรามีการเก็บกักน้ำเป็นระยะด้วยการทำแก้มลิง หรืออ่างเเก็บน้ำขนาดเล็ก ทั้งเป็นของไร่นาเอง ของชุมชน น่าจะช่วยได้ การขุดลองหนองคลองบึงโดยเฉพาะบึงบรเพ็ดควรทำ เพื่อชลอไม่ให้มวลน้ำไหลลงเจ้าพระยา แต่ตอนนี้ไม่ทันแล้ว เราต้องพร้มที่จะเผชิญกับการที่น้ำท่วมได้ตลอดเวลา ไม่ไว้วางใจการบริหารจัดการจากภาครัฐ ก็ถือเป็นการซ้อมใหญ่

อย่างไรก็ตาม การทำแก้มลิง หรืออ่างเเก็บน้ำขนาดเล็ก ทั้งเป็นของไร่นาเอง ของชุมชน รวมทั้งการขุดลองหนองคลองบึงควรทำอย่างยื่ง เพราะปริมาณน้ำที่ตกมาหากระบายทิ้งทะเลทั้งหมด หน้าแล้งนี้เราคงต้องเจอกับภัยแล้ง เหมือนคำพูดว่าพอหมดน้ำท่วม ก็แล้งปั๊บ การให้ชุมชนมามีส่วนช่วยในการบริหารจัดการน้ำจะดีกว่าเนื่องจากชาวช้าน ชุมชนรู้จักพื้นที่ การมาและไปของน้ำในพื้นที่ดี