วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ยางพาราภาคเหนืออีกที

ช่วงน้ำท่วมกรุงเทพ ทำให้คนกรุงเทพต้องปรับเปลี่ยนวิถ๊ชีวิตประจำวันใหม่ ปกติมักชอบนั่งทำงานที่ทำงานมีนจนมืดจนค่ำ ต้องหันกลับมาสายบ้าง กลับเร็วขึ้น ต้องหันมานั่งรถเมล์ เพราะรถยนต์ที่เคยขับเอามาใช้ไม่ได้ เกษตรบางเขนวันนี้น้ำแห้งแล้ว มาทำงานได้ปกติ แต่การเดินทางมายังไม่สะดวก รถเมล์ยังวิ่งไม่ได้ทุกสาย หรือไปได้ทางจำกัด สัปดาห์นี้ก็ต้องช่วยตัวเองมากขึ้น เพราะไม่มีรถบริการจากจุดต่าง ๆ เข้ามาแล้ว ยังคงมีบ้างจากประตูกรมส่งเสริมและ ประตู 1 เข้ามาในหน่วยงาน เมื่อวานไปดูรถจักรยานที่จอดไว้ประตูวิภาวดีที่แห้งแล้ว แต่รถจักรยานเต็มไปด้วยคราบมีรอยท่วมมิดรถ ต้องรอทำความสะอาด เป็นปีแรกที่กรมวิชาการเกษตรน้ำท่วม
น้ำท่วมปีนี้ก็เป็นโอกาสดีที่ได้ไปดูสวนยางที่ภาคเหนือ ที่หลายพื้นที่เขากรีดกันหน้าที่ 2 แล้วก็มี ที่ตื่นเต้นมากน่าจะเป็นที่อำเภอภูซาง ยางพารามากมีกันแทบทุกบ้าน แล้มีการกรีดกันมาลายปีแล้ว เห็นเกษตรกรมีความสุข มีผลผลิต ขายได้ราคา แต่ที่ไม่เปิงใจน่าจะเป็นที่ยุงเยอะมาก เนื่องจากสวนยางทำให้เกิดร่มเงาเป็นบริเวณกว้างเป็นที่อยู่อาศัยของยุง เกษตรกรมีประสบการณ์ในการดูแลสวนแตกต่างกัน มีเทคนิดในการเพื่มผลผลิตแตกต่างกันมาก

เกษตรกรใช้นิ้วจุ่มดูเปอร์เซนต์เนื้อยางที่น้อยลง
การไปช่วงนี้ทำให้เห็นว่ายางหน้าหนาวหากกรีดจะหยุดไหลช้า และช่วงนี้เป็นช่วงที่มีเนื้อยางน้อย คือเป็นน้ำมากกว่าเนื้อเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำยางช่วงอื่น ๆ ของปี ช่วงที่เป็นดอยจะมีน้ำน้อยกว่าช่วงที่เป็นที่ลุ่ม ซึ่งก็อธิบายได้ไม่ยากตามความชื้นในดินที่มีในแต่ละพื้นที่ที่ปลูกยาก หากมีมากน้ำยางจะมีน้ำมากกว่าจนกว่าระดับน้ำ-ความชื้นในดินจะลดลง ดังนั้นในช่วงนี้หากเกษตรกรกรสังเกตุเห็นว่าย้พยางเหลว แข็งตัวช้าให้ผสมน้ำยางในสัดส่วนที่มากขึ้นกว่าน้ำเวลาทำยางแผ่น เกษตรกรบางรายให้ข้อสังเกตุว่าหากน้ำอุ่นจะทำให้ยางแข็งตัวเร็วกว่า
มีที่น่าห่วงคือการกรีดและการรักษาหน้ากรีดยาง บางรายทำได้ดี หน้ากรีดสวย หน้าไม่แห้ง ไม่มีรอยกรีดลึก เกษตรกรให้ข้อสังเกตุช่วงนื้เปลือกพัฒนาได้เร็ว

หน้ากรีดที่กรีดได้สวย น้ำยางมากในช่วงนี้แต่เนื้อยางต่ำ
ส่วนที่หน้ากรีดแย่ ๆ ก็มีมาก แถมกรีดยางต้นเล็กอีกต่างหาก เรื่องนี้ห้ามกันยาก การกรีดยางต้นเล้กจะทำให้อายุของต้นยางที่จะสามารถกรีดได้สั้นลง เนื่องการกรีดยางต้นเล็ก เปลือกจะบางมีโอกาสที่จะกริดลึกเลยเปลือกมีมาก น้ำยางก็ได้น้อย เกษตรกรที่ดูเลสวยสวย ๆ นี้ บอกว่าสวนตัวเองจะกรีดยางต้นโตกรีด 1/3 ต้นก็พอ แต่หากต้องกรีดจริง ควรกรีดที่ระดับต่ำลงมาเพราะการเปิดกรีดที่ 150 ซม กับต้นยางเล็กเปลือกจะบาง และอีกประการหนึ่งควรจะป้องกันการชะล้างหน้าดินในแปลงที่มีพื้นที่ลาดเท ควรมีสิ่งปกคุมดิน เช่วนในยาง เศษกิ่งยางที่ล่วงหล่นไม่ควรกวาดออกหรือเผา ควรให้คลุมดินไว้ หากทำได้ให้ไถกลบลงดินบ้างนอกจากจะทำให้ดินอุดมสมบรูณ์แล้วยังช่วยให้การซึมซาบน้ำลงดินดีขึ้นด้วย หรือทำเป็นจุดชลอน้ำไม่ให้ไหลบ่าทันที ให้ไหลลงดินบ้าง

นอกจากไปดูสวนชาวบ้านแล้วยังมีโอกาสไปดูสวนของนักลงทุนอีก (ขอขอบคุณที่เจ้าของอนุญาตให้เข้าชม) เขาปลูกยาง 1 ปี โตมาก ๆ ด้วยให้น้ำจากบ่อที่เลี้ยงหมูอยู่บนบ่อทุกสัปดาห์ ทำให้ยาง 1 ปีต้นสูงมากใหญ่มาก ดูรูปเอาเองเลย

ยางต้นนี้เป็นยาง RRIM 600 อายุปีเศษเทียบกับคนตัวโตๆ เห็นถึงศักยภาพของการเจริญเติบโต แต่ในปีต่อ ๆ ต้องรอดู มีผู้ให้ข้อสังเกตุว่าปีต่อไปน่าจะขยายขนาดของต้น แต่ทรงต้นจะเป็นอย่างไรจะพยายามติดตาม

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พฤศจิกาน้ำท่วมกรุง

ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดน้ำท่วมกรุงเทพได้ยาวนานขนาดนี้ โดยเฉพาะเขตปริมณฑลที่ขังยาวนาน ปริมาณน้ำจำนวนมากเขาเดินทางใช้เวลานาน แต่ก็ด้วยการคากการณ์ที่ผิดพลาดทำให้กรุงเทพและปริมณฑลเป็นฝ่ายตั้งรับน้ำที่เขาเรียกว่าก้อนใหญ่ ปริมาณขนาดใหนไม่สามารถคาดเดาได้ หรือไม่ก็ไม่กล้าประเมิน ช่วงต้นเดือนพ.ย.เดินทางไปทางเหนือกำแพงเพชรน้ำลดลงมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน นำที่มากเหล่านั้นไม่มีใครคิดจะกักเก็บไว้ใช้ ไม่มีหน่วยงานใดคิดจะนำมาใช้ประโยชน์ เพราะว่าปีนี้น่าจะแล้งตามมาติด ๆ น้ำฝนทั้งหมดที่ตกลงมาในบริเวณภาคเหนือในรอบปีที่ผ่านมามากกว่าค่าปกติ จึงทำให้มีปริมาณน้ำที่ไหลลงล่างมีมากน้ำในเขื่อนทางตอนบนจึงมีรายงานว่ารับน้ำไว้เต็มหรือเกือบเต็มความสามารถของเขื่อน ซึ่งต่างจากภาคตะวันตกที่ปริมาณน้ำฝนปีนี้น้อยกว่าปกติ ทำให้เขื่อนทางด้านตะวันตกไม่มีน้ำ
2 เดือนที่น้ำใช้เวลาเดินทางจากทางเหนือลงสู่กรุงเทพ พร้อมทั้งทำความเสียหายกับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และที่อยู่อาศัยจำนวนมาก คงมีคำถามอยู่ในใจผู้คนมากมายว่าหน่วยงานของรัฐทราบข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการจัดการกับน้ำนี้หรือไม่ ผู้รับผิดชอบโดยตรงทราบหรือไม่และได้ใช้ข้อมูลเหล่านั้นมาช่วยในการตัดสินใจหรือไม่
ดอนเมือง เกษตร กลายเป็นที่ลุ่มรับน้ำ ไม่ดอนเหมือนชื่อเลย ช่วงนี้น้ำจะระบายออกได้คือลงทะเล ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม แต่ถ้าคิดต่างไป หลาย ๆ กิจกรรมตั้งใช้น้ำ ถ้าเราช่วยกันนำน้ำ หรือสูบใส่รถบรรทุกน้ำไปใช้ เช่น ทำความสะอาดถนน บ้านเรือน รถน้ำต้นไม้ ซึ่งมองไปหลายที่ก็เริ่มเหี่ยวแห้งแล้ว หรือแม้แต่สูบกลับขึ้นไปทางเหนือบ้าง ก็น่าจจะดีกว่าให้มีทางเลือกอยู่ทางเดียวที่ให้ลงทะเล ช่วงนี้หลายพื้นที่เริ่มน้ำลด เราก็เข้าไปล้างทำความสะอาดด้วยน้ำที่ท่วมนั้นแหละก่อนเป็นระยะจะได้ไม่ต้องออกแรงขัดมากเมื่อน้ำแห้ง ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบภัยทุกคน

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พฤศจิกาอ่วม

น้ำฝนปีนี้มากช่วงปลายปีทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมใหญ่มาก ๆ ที่ที่ไม่เคยมีปัญหาน้ำท่วมมาก่อนก็เกิดน้ำท่วม รุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งคราวนี้คนกรุงเทพและรอบข้างเจอแบบไม่สามารถใช้ชีวิตแบบปกติได้ ต้องอพยบกัน เก็บของขึ้นที่สูง ยอมรับกับมัน บางคนโชคดีมีหลายบ้านจึงสามารถย้ายตัวเองมาอยู่ต่างจังหวัดซึ่งปลอดภัยกว่า และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่ต้องยุติงานหรือกิจกรรมที่ไม่สามารถทำได้ไป จะช่วยลดปัญหาที่หน่วยงานต่าง ๆ ต้องคอยมาช่วยเหลือลงไป
ประมาณการณ์ต่าง ๆ ดูตำกว่าที่เป็นจริงหรือเกิดคาดมากก ภาครัฐจึงไม่ประสบผลสำเร็จในการสกัดกั้น หรือจัดการน้ำจำนวนมหาศาลนี้ได้ น้ำจำนวนมหาศาลนี้มาจากไหน ยังคงต้องการคำตอบ เมืองไทยมีคนเก่งก็มากแต่ไม่สามารถนำความรู้ และข้อมูลต่าง ๆ มาใช้จัดการอย่างได้ผล มีแต่ความล้มเหลวซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ราชการก็หยุดงาน เพราะโดยสภาพทำงานไม่ได้ แต่จริง ๆ แล้วหลายหน่วยงานมีหลายแห่ง น่าจะพิจารณาย้ายที่ทำงานพร้อมอพยบคนได้ด้วย งานที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่นจะได้สามารถดำเนินต่อไปได้ จนปัจจุบันน้ำยังไม่ลด และเคลื่อนที่ไปทำความเสียหายระหว่างเส้นทางไปเรื่อง ๆ เหตุการณ์นี้ถูกจงใจให้ไปทางใดทางหนึ่ง ปกป้องทางหนึ่งด้วยเหตุผลที่สมควรแก่เหตุหรือไม่ ถนนที่แบ่งเขตสร้างความแตกต่างในสังคมมาก ใครที่มีสิทธิพิเศษก็ได้รับการปกป้อง หากเราปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติเราน่าจะพ้นวิกฤตินี้ไปแล้ว
หน่วยงานที่ได้รับน้ำท่วมก็ไม่สามารถเดินทางไปทำงานได้สะดวก ถ้าจะไปจริง ๆ ก็ไปได้ แต่ต้องใช้ความพยายามมาก เวลามาก และก็คงไม่มีสมาธิทำงานด้วย การทำงานณ.ที่ใด ๆ ก็ได้น่าจะนำมาใช้ได้ดีกว่าปล่อยเวลาไปเลย หรือไปทำงานในที่ที่อื่นเพื่อให้ทำงานได้ งานต้องดำเนินต่อไป ถ้ามาเศร้าซึมกับเหตุการณ์นี้ไปหมดก็คงหดหู ไม่ได้งาน เสียโอกาสด้วย
อยากให้ทุกคนยอมรับ สอนให้เด็ก ๆ เห็นความสนุกสนานจากน้ำท่วมบ้างไม่อยากให้เด็กรุ่นนี้ซึมเศร้ากับเหตุการณ์อย่างนี้

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ตุลาหนักกว่า



ตุลาคมน้ำจำนวนมากๆๆจากฝนที่ตกในที่ที่ต่างไปจากปีก่อน ๆอาจเป็นอิทธิพลของการเลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมด้วย เป็นที่สังเกตุว่าปริมาณน้ำท่วมเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยมีน้ำท่วมมาก่อน เกิดขึ้นหลายแห่ง จากพี่แจ๋วยังบอกว่าบ้านที่อุทัยไม่เคยมีน้ำท่วมหนักขนาดนี้ ในชั่วอายุของผู้เป็นแม่ ลุ่มน้ำสะแกกรังเป็น 1 ใน 25 ลุ่มน้ำก็เจอปัญหาน้ำท่วมมาในปีนี้ สุพรรณบุรีจะน้ำท่วมได้เนื่องจากการผันน้ำจากเขี่อนเจ้าพระยา เพราะว่าปริมาณน้ำจากฝนตกในพื้นที่มีน้อยมาก หลายพื้นที่ก็มีน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีเป็นพื้นที่ซ้ำซาก เช่น บางปลาม้า แต่เป็นพื้นที่ทุ่งนาจึงไม่มีใครเดือดร้อนนักยกเว้นคนทำนาที่ต้องปล่าช้าไป หรือต้องพักไปโดยปริยาย รอให้น้ำลด เพราะน้ำในบริเวณนี้ลดช้ามาก การใช้ถนนเดินทางผ่านสายเอเชียทำไม่ได้ เนื่องจากน้ำท่อมทางในเขตบางปะหัน การเลี่ยงการจราจรมาทางสายสุพรรณบุรัทำให้การจราจรติดขัดโดยเฉพาะวันแรก ๆ น้ำท่วมครั้งนี้ทำให้คนสุพรรณบางคนหงุดหงิด ที่กลายเป็นจำเลยของสังคม ที่น้ำไม่ท่อมย่านตัวเมื่อง แต่ถ้ามาดูพื้นที่จิง ๆ แลเวปีนีน้ำมากกว่าปี 2549 ที่น้ำท่วมเมืองสุพรรณอีก ด้วยน้ำมหาศาลในทุกพืนที่ ก่อนนี้เคยคิดว่าหากเรามีการเก็บกักน้ำเป็นระยะด้วยการทำแก้มลิง หรืออ่างเเก็บน้ำขนาดเล็ก ทั้งเป็นของไร่นาเอง ของชุมชน น่าจะช่วยได้ การขุดลองหนองคลองบึงโดยเฉพาะบึงบรเพ็ดควรทำ เพื่อชลอไม่ให้มวลน้ำไหลลงเจ้าพระยา แต่ตอนนี้ไม่ทันแล้ว เราต้องพร้มที่จะเผชิญกับการที่น้ำท่วมได้ตลอดเวลา ไม่ไว้วางใจการบริหารจัดการจากภาครัฐ ก็ถือเป็นการซ้อมใหญ่

อย่างไรก็ตาม การทำแก้มลิง หรืออ่างเเก็บน้ำขนาดเล็ก ทั้งเป็นของไร่นาเอง ของชุมชน รวมทั้งการขุดลองหนองคลองบึงควรทำอย่างยื่ง เพราะปริมาณน้ำที่ตกมาหากระบายทิ้งทะเลทั้งหมด หน้าแล้งนี้เราคงต้องเจอกับภัยแล้ง เหมือนคำพูดว่าพอหมดน้ำท่วม ก็แล้งปั๊บ การให้ชุมชนมามีส่วนช่วยในการบริหารจัดการน้ำจะดีกว่าเนื่องจากชาวช้าน ชุมชนรู้จักพื้นที่ การมาและไปของน้ำในพื้นที่ดี





วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

น้ำท่วมเดือนกันยายน 2554

ไปติดตามเพลี้ยแป้งช่วงนี้ ไม่น่าเชื่อว่า..เจอด้วย!! เป็นเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู เริ่มจากจังหวัดเลย ก่อนและระหว่างเดือนทางก็มีฝนตก ปกติจังหวัดเลยไม่มีปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้งเพราะไม่มีการปลูกข้ามปี ไม่มีการขนท่อนพันธุ์จากแหล่งอื่นเข้ามมาในพืนที่ แต่เพิ่งช่วงแล้งที่ผ่านมา หรือต้นปี 2554 มีรายงานการระบาดในพื้นที่ ที่เหล่าใหญ่ จังหวัดเลย สอบถามก็ทราบว่ามีการนำท่อนพันธ์จาก อ. เสิงสาง นครราชสีมาเข้ามาในพื้นที่ และมีการปล่อยแปลงทิ้งไว้ข้ามปี ทำให้เป็นแหล่งแพร่ขยายของเพลี้ยแป้ง ยอดหงิก
กันยายนทุกพื้นที่ได้รับฝนมาก แต่หากเข้าไปตรวจดูในแปลงเราก็ยังพบเห็นเพลี้ยแป้งสีชมพูอยู่ประปลาย แต่ที่ประหลาดใจกว่า คือพบมัมมี่เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูทั้งที่อ.ภูกระดึง และอ. เอราวัญ คุณใหญ่-ผู้นำทางบอกว่าเขาเอามาปล่อยเดือนมิถุนายน
ซึ่งทำให้ต้องเฝ้าระวังอยู่หากช่วงหมดฝนก่อนเข้าแล้งยังเห็นเพลี้ยแป้งสีชมพูอยู่ก็ไม่น่าไว้ใจ เพราะเขาขยายพันธุ์ได้เร็วในช่วงที่อากาศร้อนและแล้ง พื้นที่นี้ยังไงก็ต้องเฝ้าระวัง แม้จะมีแตนเบียนอยู่แต่ก็เกรงว่าจะขยายพันธุ์ได้ไม่ทันกันต้องมีการปล่อยเสริมหรือไม่??
ที่เลยผู้คนตื่นตัวกับน้ำมาก มาดูน้ำกันใหญ่ ตั้งแต่ตอนเย็นที่ 12 ตอนเช้าก็แวะกินข้าวเช้าในตลาด เขาชี้ให้ดูระดับน้ำเมื่อครั้งก่อนที่ท่วม สูงเกือบเมตร งั้นปีนี้ก็ไม่เท่าไร
เดินทางต่อไปที่กำแพงเพชร เข้าพื้นที่อ.เมืองก็ดูเหมือนฝนตกปกติไม่มีพื้นที่น้ำท่วม เนื่องจากพื้นที่แทบนี้อยู่สูงเป็นลอนลาด ดินร่วนปนทราย ทรายปนร่วนระบายน้ำดี พบเพลี้ยแป้งสีชมพูจำนวนน้อย ๆ ในต้นที่ไม่แข็งแรง สีเขียวก็มีมากแต่น้อยกว่าเดือนก่อน อาจถูกฝนชะไปจึงเหลือที่ตัวที่สะอาด
ลงมาทางคลองคลุงพื้นที่แถบนี้เริ่มเห็นน้ำท่วมบ้าง และร่องรอยที่น้ำหลากผ่านไปและน้ำลดระดับไปแล้ว น้ำที่นี้น่ากลัวมาเร็วหายเร็ว แปลงมันฯที่นี้พบเพลี้ยแป้งสีเขียวมากกว่าที่อ. เมือง แมลงหวี่ขาวพบตามใต้ใบล่าง ไม่มีใครบ่นถึงเพลี้ยแป้งเลย
เลยลงไปบ้านช้างคับไม่แน่ใจว่าเดินทางได้หรือไม่ เพราะชาวบ้านบอกว่าน้ำท่วมทางรถเล็กเข้าไม่ได้ เลยต้องอ้อมไปเข้าอีกทาง แจ้งข่าวลุงมนัสเรื่องการเตรียมการปล่อยแตนเบียนช่วงแล้งที่จะมาถึงนี้ .. แต่ปีนี้จะมีช่วงแล้งไหม
กำแพงเพชรก็ยังไม่น่าไว้ใจ ต้งเฝ้าระวัง คราวนี้ไม่เจอแตนเบียนเลย
กลับออกจากคลองลานน้ำท่วมทางมาก คิดไม่ถึงว่าจะท่วมมาก แต่ถ้าสังเกตุให้ดีท่วมเฉพาะทางร่องน้ำ พื้นที่นาได้รับการป้องกัน ยกเว้นบางที่ที่ไม่มีคันกั้นน้ำ-ถนนช่วย ต้องลุ้นว่าจะขับนถผ่านไปได้หรือไม่เพราะน้ำระดับสูงมาก
เดินทางกลับผ่านพื้นที่หลากหลาย การกั้นน้ำ การรับน้ำของแต่ละพื้นที่แตกต่างกันมาก อดีตเราเจอแต่เรื่องแย่งน้ำกันถึงขั้นเอาชีวิต ปัจจุบัน ก็แก่งแย่งกันแต่เป็นอีกมุมหนึ่ง แล้วใครละจะเป็นผู้ประสานผลประโยชน์ หากประเมินจริง ๆแล้วปีนี้น้ำไม่มากแต่ทุกคนกั้นย้ำกันหมด คนที่ไม่มีแรงก็ต้องรับชะตากรรมไป แต่ไปบางที่พื้นที่น่าจะรับน้ำได้หากให้น้ำระบายไปบ้างหลายพื้นที่คงไม่เดือนร้อน ที่สำคัญน้ำที่เป็นต้นทุนนี้ไม่มีใครอยากเก็บ ในหน้าแล้งเราอาจต้องจอกับปัญหาขาดแคลนน้ำอีก น่าจะช่วยกันกักน้ำไว้เป็นระยะ จะเป็นแก้มลิง หรือฝายเล็ก ๆ ก็ได้ นอกจากจะมีน้ำใช้ในช่วงแล้งแล้ว ยังเป็นการบรรเทาไม่ให้มวลน้ำไหลลงในพื้นที่ต่ำพร้อมกันจำนวนมาก ๆ คนข้างล่างจะเดือนร้อนมาก
ผู้เขียนเป็นคนสุพรรณจึงนึกถึงเหตุการณ์ที่น้ำท่วมสุพรรณบุรี ปี 2549 ตลาดเทศบาลเมืองสุพรรณน้ำท่วม ต้องนั่งรถสูง ๆ ของทหารมาบริการรับส่ง ปีนี้มีการสร้างเขี่ยริมน้ำทำให้แม่น้ำท่าจีนช่วงเทศบาลดูแคบ แต่เขาก็ช่วยได้เรื่องแนวป้องกันน้ำท่วมในเขตเทศบาล ปีนี้ยัง
ต่อไปเราคงเจอปัญหาการแก่งแย่งกันเข้าถึงทรัพยากรเหล่านี้ ใครจะเป็นผู้ได้เปรียบ - เสียเปรียบ ลองมองหาพ้นที่ที่จะเป็นแก้มลิง ที่กักน้ำ หรืที่ชลอการไหลของน้ำ การแบ่งปันและบรรเทาความเสียหาย จุดไหนที่พอดี

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เวียดนามกรกฎาคม 54

20 กค 54 เช้าเดินทาง กว่าจะถึงที่พักก็เที่ยง การเข้าประเทศนี้ไม่ต้องใช้เอกสารใด ๆ คนไทยไม่ต้องใช้วีซ่า ประหยัดทรัพยากรดีจังเลย แต่รอกระเป๋านานมาก จนคิดว่าไม่ได้เอามาเสียแล้ว
มีเวลาน้อยในการเตรียมตัวสำหรับการเดินทางครั้งนี้ ต้องเตรียมงานเอกสาร โปสเตอร์ และ presentation ไม่ค่อยมีเวลาหาข้อมูลอะไรมากเกี่ยวกับเวียดนาม รู้แต่ว่าเป็นคู่แข่งในการผลิตพืชผลเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะข้าว มาครั้งนี้ที่ฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม ทางโครงการเลือกเป็นที่ประชุมสรุปงานสำหรับทุกประเทศที่ร่วมงานกันมา คุณชินดี้ก็มาด้วย งานนี้เหมือนกับการประชุมหลายประเทศมากกว่าการประชุมผู้มีส่วนได้เสียของเวียดนาม ซึ่งต่างจากบ้านเราที่เราให้ความสำคัญกับคนของเรามากกว่า แต่ก็มีประธานร่วมอีก ทางเจ้าภาพเขาจัดให้มีบรรยากาศกันเองห้องประชุมไม่ใหญ่




บรรยากาศก่อนเรื่มประชุม วันแรกช่วงเช้าก็รายงานส่วนของเวียดนามก่อนเลย พอช่วงบ่ายก็ถึงคิวแต่ละประเทศ เราเสนอเองด้วยความเกร็งและกังวลเรื่องภาษา แต่ก็เน้นพูดช้า ๆ ชัด ๆ ทำสไลด์โปร่ง ๆ ไม่แน่นด้วยตัวหนังสือ ใช้เวลาประมาณ 12 นาทีก็เสร็จคนอินเดีย ศรีลังกายังชมว่าดีเลย คือ นำเสนอได้ครอบคลุมดี ตอนหลังจึงรู้ว่าเขาสนในงานวิเคราะห์VI ระดับครัวเรื่อน แต่ตัวเองก็ได้รับบทเรียนว่าต่อไปต้องหัดชื่นชมตัวเองบ้าง...และไม่ลืมว่างานที่เรานำเสนอนั้นเรารู้ดีที่สุด

วันแรกทางผู้บริหารโครงการก็สรุป และเน้นว่าแต่ละประเทศมีข้อดีอะไรบ้างที่น่านำมาอวดกัน ศรีลังกาได้รับการชื่นชมมากในการศึกษาทางด้านส้งคม ไทยเราก็มีควันหลงจากการประชุมที่รามาฯ การฟังเสียงจากรากหญ้ามีความสำคัญ และการศึกษาได้เรียนรู้อะไรบ้างจากชาวบ้าน ก็การเป็นเรื่องกดดันว่า วันรุ่งขึ้นต้องอธิบายอย่างไร พวกเราเข้าใจตรงกับซินเธียหรือเปล่า เป็นคำถาม ที่ทำให้พวกเราต้องนอนดึกกันอีกรอบ พี่จิ๊บก็รับหน้าที่เรื่องนี้ไปนำเสนอ

วันที่ 2 ช่วงเปิดงานสุดยอดเลย มีผู้สื่อข่าวหลายสื่อ มีระดับรัฐมนตรีมาร่วมงานและกล่าวสุนทรพจน์ด้วย ประเทศเขาให้ความสำคัญมากและแสดงความชัดเจนในเรื่องนี้ในระดับนานาชาติ

หลังจากนั้นการควบคุมเวลาไม่ดีเลย แถมมีโปรแกรมผีแทรกมาอีก ไม่เป็นที่พอใจของเจ้าของเงิน และเจ้าภาพ เวลาที่ควรจะเป็นหลังเบรคเช้าต้องเลื่อนเป็นบ่าย นาวีนจะไม่ยอมให้หยุด แต่ก็จะเที่ยงแล้วนะ ก็เลยหลุดก่อน แล้วมาต่อ การเสนอวันนี้จะมีบางส่วนที่ซ้ำกันแต่จะเน้นส่วนที่จะนำมาทำข้อเสนอนโยบายตามที่แต่ละประเทศมีโดดเด่น

จบท้ายด้วยการสรุปของคนบริหารโครงการ เป็นครั้งแรกที่เห็นการทำงานแบบนี้ ก็ทึ่งเหมือนกันที่เขาสรุปงานที่แต่ละประเทศทำออกมาได้น่าสนใจ ที่สำคัญทำงานได้เร็วน่าเอาเป็นแบบอย่าง แต่ที่ไม่ดีคือไม่เข้าใจความต้องการของเจ้าของทุน และการประสานงานระหว่างทีมผู้บริหารโครงการและผู้ดำเนินงานในแต่ละประเทศเพื่อให้ได้ข้อมูลตรงตามเวลา พวกเราก็เลยมีการบ้านอีกหลังจากกล้บบ้านเรา ทั้ง ๆ ที่เราก็ได้พยายามทำงานในส่วนนี้แล้ว เหมือนทำงานไม่เสร็จสักที...ขอระบายหน่อย

จบงานก็ฉลองด้วยงานเลี้ยงที่ภัตราคารขนาดใหญ่มาก การจัดร้านก็กว้างขวาง รับแขกได้มาก มีอาหารให้เลือกมากมาย โต๊ะจำนวนมาก จัดเป็นชุ้มอาหารให้ไปเลือกกินกันตามชอบ และไม่อั้น บ้านเรามีหรือเปล่านะ...แต่เครื่องดื่มจะสั่งต่างหาก งานนี้ก็อิ่มไปตาม ๆ กัน

ประทับใจโรงแรมฮานอยนี้มากเรื่องมีผลไม้ให้หยิบทานทุกวัน ลิ้นจี่ที่นี่อร่อยมาก เนื้อหนา แถมราคาไม่แพง 1 เหรียญ ชื้อได้ 3 กิโล เป็นบ้านเราหน่อยไม่ได้คงกินกันสนุกไปเลย อากาศที่นี้ดีสำหรับไม้ผลหลายชนิดโดยเฉพาะไม้ผลเมืองหนาว ผลไม้ที่โรงแรมนำมาบริการแขกก็มีลิ้นจี่ แอลเปิ้ล แพร พีช ผลไม้อร่อยมาก


มาฮานอยต้องแวะเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยเก่าแก่ซึ่งไม่ไกลจากที่พักนัก นั่งรถแท็กซี่ประมาณ 15 นาที รถแท็กซี่มีลายขนาดตั้งแต่รถเล็กจากหลายยี่ห้อ ขนาดใหญกว่าที่จุคนได้ 7 คน นั่ง 2 แถวหลัง และ 1 คนหน้า ค่ารถเก็บตามมิเตอร์ รถเล็กก็เริ่มที่ 10,000 เงินเวียดนาม รถคันใหญ่กว่าเริ่มที่ 12,000 อัตรา ก็แตกต่างกัน ขนาดเจ้าภาพยังใช้รถแท็กซี่รับส่งคณะจากสนามบินมาโรงแรมเลย ผิดกับบ้านเราที่มีรถตู้คันงาม ๆ ไว้คอยรับส่งแขก
บรรยากาศบนถนนที่ดูวุ่นวายมาก

อากาศที่นี่ร้อนมาก ร้อนแบบเหงื่อเป็นน้ำเลยโดยเฉพาะเจ้าดา คนตัวใหญ่เหงื่อมากเหมือนอาบน้ำ ฝนตกทุกวันที่ไปอยู่ เวียดนามมีเรื่องราวเกี่ยวกับเต่าที่ดีจะเห็นได้ว่าแทบทุกที่จะมีเต่าให้เห็น รวมทั้งของที่ระลึกด้วยอาคารที่อยู่อาศัยในฮานอย เป็นที่สังเกตุว่ามีถังน้ำอยู่บนหลังคา

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เพชรบรูณ์-เลย-เสิงสาง

การเดินทางจากเพชรบรูณ์ไปเลยผ่านเส้นทางที่เป็นภูเขาเนื่องจากการใช้เส้นทางของ รพช จากหล่มสัก -ตาดกลอย-ภูหลวง-วังสะพุง ผ่านเข้าหมู่บ้านและพื้นที่ทำกินทำให้รู้สึกเหมือนเดินทางทางภาคเหนือ บรรยากาศคล้ายกันมากมีการทำไร่บนที่ลาดชัน บนยอดเขา ถางและเผายังมีอยุ่ทั่วไป แต่ที่ไม่ลาดชันมากก็ เริ่มเห็นยางพาราเข้ามาบ้าง บางทีทางเลือกอาจจะมีไม่มาก หน่วยงานของทางราชการก็ไม่ได้เสนอทางเลือกให้มากมาย ทำให้การเกษตรที่ต้องใช้พื้นที่มาก ๆ ยังมีอยู่
มีที่น่าสนใจระหว่างทางมีไร่ยาสูบจำนวนมาก มีสถานีใบยาสูบท่าพลเป็นแหล่งรับซื้อ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีคนยาสูบในกรมวิชาการเกษตร มีแต่คนสูบยา
เลยมีการปลูกมันสำปะหลังกันพอควรโดยเฉพาะที่เอราวัน ท่าลี่ เชียงคาน แต่วัฒนธรรมการปลูกแตกต่างกัน เชียงคานยังมีการเอาแรงกันอยู่ ยังไม่มีรายงานเรื่องเพลี้ยแป้งระบาดในอำเภอนี้ คงมีเฉพาะที่เอราวัน เนื่องจากมีการปล่อยมันข้ามแล้งมา และมีคนนำท่อนพันธุ์จากต่างถิ่นเข้ามาในพื้นที่ การให้ผู้คนตระหนักถึงความเสียหายของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูนี้ยาก เราจึงเห็นต้นมันที่ปลูกใหม่แตกยอกหงิกออกมา ต้องลองเจอด้วยตนเอง เนื่องจากมีเวลาน้อยได้พูดคุยกับทีมเคลื่อนที่เร็วของจังหวัดก็ได้ทราบสถานการณ์ และไปสำรวจเพื่มเติมก็พบว่ามีอยู่ เลยยังไม่เข้าฤดูฝน ฝนยังไม่มากพอที่จะช่วยควบคุม ทางศวพ.เลยก็ขอไปทางศวร.ขอนแก่นเพื่อนำแตนเบียนมาปล่อย แลกกับเพลี้นแป้งสีชมพูที่ขอนแก่นบอกว่าหายากแล้ว
ขอนแก่น อ. น้ำพอง มีเพลี้ยแป้งสีชมพูทำลายจนหงิกระหว่างจากอุบลรัตน์ทางเข้าขอนแก่นพบหลายแปลง มีแตนเบียนที่เพิ่งออกมาจากยอดมันที่เก็บมาจากกำแพงเพชร เลยปล่อยไป ถ้าเขารอดก็น่าจะช่วยได้มากถึงแม้จะมีแตนเบียนจำนวนน้อยมากก็ตาม
ผ่านทางเสิงสาง-ครบุรี ทางเขตนี้แปลงติดต่อกันขนาดใหญ่มาก ๆ มีมันข้ามแล้งจำนวนมากและถูกทำลาย ช่วงที่สำรวจมีฝนตกมาแล้ว เราจึงเป็นยอดมันเริ่มคลายตัวไม่หงิกแล้ว ไม่เจอเพลี้ยแป้งสีขมพูในยอดที่หงิก แต่ยังบอกไม่ได้ว่าไม่มี และพบแมลงช้างจำนวนมากส่วนใหญ่อยู่ในรูปดักแด้ เก็บยอดมา 2-3 วันก็ออกเป็นตัว ช่วงนี้เกษตรกรกำลังตัดท่อนพันธุ์ไปปลูก-ขาย ใครเอาท่อนพันธุ์จากแหล่งนี้ไปปลูกต้องระวัง และควรเข้าโปรแกรมทำให้ท่อนพันธุ์สะอาด

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สัปดาห์ที่แล้วไปจัดนิทรรศการที่สุโขทัย 18-20 มีนาคม แต่ก่อนเดินทางที่กรุงเทพมีฝนตกหนัก ตรวจสอบกับหลาย ๆ พื้นที่ที่มีคนรู้จักก็ไม่มีฝนที่สุพรรณบุรี นครราชสีมาแต่ไม่ได้ถามทางสุโขทัย ปรากฏว่าเดินทางไปกับฝนตลอดทาง เดิมกะว่าจะแวะดูพื้นที่มันสำปะหลังแถวขารุวรลักษณบุรีก่อนเพราะได้ข่างจากพี่อัมพรว่ามีผู้แจ้งข่าวเกี่ยวกับเพลี้ยแป้งระบาดในมันอย่างกว้างขวาง แต่จากประสบการณ์ที่ไปทำงานในพื้นที่กำแพงบ่อย ๆ น่าจะเป็นเพลี้ยแป้งสีเทามากกว่า เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาพบเพลี้ยแป้งสีชมพูน้อยมากเนื่องพื้นที่กำแพงเพชรมีการนำแตนเบียนไปปล่อยจำนวนมากในปัที่ผ่านมา เฉพาะทีมตัวเองก็หลายพันคู่ และยังที่สมาคมผู้ประกอบการมันฯได้รับจากมูลนิธิมันสำปะหลังแห่งประเทศไทยอีกหลายพันคู่ และพบว่ามีการปรับตัวได้ดีอยู่รอดในสภาพธรรมชาติ แม้ว่าบางช่วงสภาพอากศจะไม่เอื้ออำนวยทั้งแล้งมาก ร้อนมาก ฝนตกมาก ครบรส ก่อนหมดฝนก็พบเพลี้ยแป้งสีเขียวมาก แต่ก็พบแตนบี้ยท้องถิ่นจำนวนมากมาย แต่ช่วงเดือนกุมภาพันธุ์สีเขียวน้อยลง สีเทามากขี้น และพบสีชมพูตัวอ้วน ๆ น่ากินแต่จำนวนไม่มาก สัดส่วนช่วงนี้ต้องยอให้สีเทากินขาด ขนาดเกาะที่ยอด และมีน้ำหวานเยิ้ม
ถ้าฝนมากขนาดนี้ก็ไม่จำเป็นต้องให้ความสนใจในการควบคุมเพลี้ยแป้ง ฝนช่วยลดประชากรได้แน่นอน แต่ก็อยากไปดูพื้นที่จริง ๆ ยืนยันอีก
สภาพอากาศช่วงนี้ถ้าจะให้อธบายเหตุน่าจะมาจากสึนามิด้วยเพราะมีการเปลี่ยนแปลงทิศทางการเคลื่อนที่ของมวลที่เป็นของเหลวและอากาศ เราจึงพบสภาพอากาศที่โหดร้าย หนาวจัดกว่าฤดูหนาวปีนี้ของบ้านเรา
ฝนตกถล่มถลายนี่ฤดูฝนมาถึงแล้วหรือ หากคิดตามเงื่อนไงที่ใช้กำหนดกากมาของฤดูฝนก็ต้องบอกว่าฝนมาแล้ว
พูดถึงสุโขทัยที่ไปจัดงานเย็นวันที่ 17 ฝนตกอากาศหนาวเย็นมาก แต่หลายคนก็หวังว่าวันรุ่งขึ้นฝนคงหยุด แต่ละหน่วยงานก็จัดนิทรรศการก็เสร็จวันนั้น กลับไปพักผ่อน รุ่งเช้ามาน้ำฝนขังสวนสวนของบางหน่วยงานก็ลอยไปกับน้ำ เจ้าภาพระดมสูบน้ำเพราะน้ำสูงประมาณครึ่งน่อง ฝนก็ตกพรำ ๆ ยังไม่หยุด พอสาย ๆ ก็ยุบ ฝนหยุด ทั้งคนมาเที่ยวงานและคนจัดงานต้องหาซื้อรองเท้าบูทมาใส่ เพราะเละไปทั้งงาน คนจัดก็ใจสู้ไม่ถอยต้องขอชมเชย สอพ. สปผ.ที่ทีมงานยังอยู่ในบูทอย่างเข็มแข็ง บ่ายแล้วก็ยังอยู่เต็มทีม ...หลวมตัวมาแล้วก็ต้องทำให้สมบรูณ์ แต่หลาย ๆ บูทก็พักยกแล้วพรุ่งนี้ค่อยว่ากันใหม่รวมทั้งทีมเรมด้วย พอเจ้าภาพแสดงความจำนงว่าไม่ต้องอยู่ช่วยก็ได้เลยตัดสินใจกลับมาเลย
มอบมรดกทั้งระบบงานบนเว็บลงไว้ในเครื่องคอมพิมเตอร์ของสุโขทัย และโปสเตอร์ แผนที่ต่าง ๆ ให้โนไปจะเจ้าของพื้นที่จะได้นำไปใช้ประโยชน์ได้ การใช้พันธุ์มันสำปะหลังให้เหมาะสมกับพื้นที่ปันี้เป็นงานที่ยอดหิดมาก ทำข้อมุลให้ไม่ทัน ทั้งส่วนที่อยากนำไปเผยแพร่ในรูปเอกสารและดำเนินโครงการต่อเนื่อง

วันนี้ฝนตกตั้งแต่เช้าตรู่ มาทำงานกันไม่ได้บ้าง สายบ้าง ขนาดบ้านที่อยู่น้ำยังขังระบายไม่ทัน หลังจากเกข้อมูลปริมาณฝน 90 มม. เลยนึกถึงโคราชเพราะพรุ่งนี้จะจัดงานใหญ่ เสียดายที่ไปไม่ได้แต่ส่งคนไปช่วยก็หวั่น ๆ ว่าจะมีฝนหรือเปล่า ยังไงเสียอย่าให้ฝนตกเป็นอุปสรรค์ก็แล้วกัน

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อสังเกตเกี่ยวกับภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง

ในช่วงปีที่ผ่านมาและปีนี้เราคงสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆของพืชที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ ปี 2552/33 แห้งแล้งรุนแรงจนมันสำปะหลังที่เคยปลูกไม่ต้องดูแลมากมาเพิ่มค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดแมลง เพื่อจัดการกับเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีขมพู แต่ความแห้งแล้งก็ยาวนานกระทบฤดูฝนปี 53 ทำให้ช่วงต้นฝนไม่มีน้ำพอสำหรับการปลูกพืช มันสำปะหลังก็เห็นได้ชัดเจนว่าถ้าเกษตรกรตั้งใจจะปลูกต้นฝนก็ไม่ได้ปลูก ปลูกแล้วก็ต้องปลูกอีกเพราะว่าไม่งอก พอปลายฝนก็ตกกระหน่ำ แต่ก็ดีได้ประโยชน์เกี่ยวกับการควบคุมเพลี้ยแป้ง จนกระทั้งบัดนี้ยังไม่มีรายงานเสียหายเกี่ยวกับเพลี้ยแป้งสีชมพู
พืชอื่น ๆ ก็อยากให้คนที่ทำงานลองมาช่วยกันบันทึกเรื่องราวที่ท่านสังเกตุได้ โดยเขียนในส่วนแสดงความคิดเห็น เช่น ปี 53 เรายังไม่ได้กินมะม่วงเลยก็หมดแล้ว ปีนี้มะม่วงที่ออกก่อนก็ออกไปแล้วแต่ส่วนที่เป็นดอกชุดใหญ่ยังไม่ออก ข้อสังเกตุนี้จะได้จากสุพรรณบุรี กำแพงเพชรเป็นหลัก

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

วันหยุดปีใหม่ปีกระต่าย

ได้หยุดยาว ๆ และหยุดทำงานจริงๆ พักผ่อนหลังจากตรากตรำทรมานร่างกายมาหลายเพลา กลับบ้านสุพรรณ ปีนี้จัดว่าหนาวมาก ทำให้ไม่อยากไปที่ที่หนาวเลยเพราะว่าจะเป็นการทรมานร่างกาย ที่บ้านมะปรางเริม่ออกดอก และดอกบาน มะม่วงที่ดิดผลขนาดนิ้วมือเริ่มมีให้เห็นปีนี้มะม่วงออกก่อนฤดูมาก ส่วนฤดุของเขาจริง ๆ ไม่แน่ใจว่าจะถึงเมื่อไร จำได้ว่าฝนตกมาห่าใหญ่ช่วงธันวาคม ก็เป็นฝนชะช่อมะม่วงไปด้วย อาจเป้นสาเหตุหนึ่งที่ทำให่มะม่วงที่บ้านติดมากกว่าทุกปี เพลี้ยจั๊กจั้นมะม่วงก็ยังไม่หมดยังคงหลบอยุ่ตามพุ่มใบมะม่วง ขนุุนเริ่มแก่เก็บได้
ก่อนปีใหม่ไปพื้นที่แถวกำแพงเพชร มันสำปะหลังอีกตามเคย ปีนี้หลายไร่ยังไม่เก็บผลผลิต เนื่องจากรอราคาให้เป้นที่พอใจ หากจะให้ประเมินผลผลิต ปีนี้ไม่เสียหายเหมือนปีที่แล้วที่โดยเพลี้ยแป้งทำลาย การปล่อยแตนเบียนควบคุมได้ผล ประกอบกับสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยช่วยได้มาก การอดทนจนผ่านช่วงแล้งที่ยาวนานในต้นปีเป็นช่วงที่ต้องผ่านแรงกดดันมาก
ปัญหาที่น่าจะเป้นข้อสรุปได้ชัดเจนคือ
1. การรู้จักแมลงศัตรู เกษตรกรจำนวนมากแยกไม่ออกว่าแมลงที่เป็นคืออะไร อะไรก็เหมารวมไปหมดทำให้ไม่รู้สถานการณืทีีเป็นจริง หรือมีการใช้สารเคมีป้องกันเนื่องจากใข้ประสบการณืในอดีตมาตัดสินใจ ทั้ง ๆ ที่ปีนี้เพลี้ยแป้งสีชมพูน้อยมาก
2. ควรให้เกษตรกรได้รู้จักศัตรูธรรมชาติ หลายแปลงที่พบในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงหลังฝนแมลงศัตรูธรรมชาติมาก ที่มีบทบาทมากในช่วงที่ผ่านมาคือ แตนเบียนท้องถิ่น เขามีลักษณะที่ชัดเจนคือ มีสีเหลือง เคลื่อนที่เร็ว เบียนเพลี้ยแป้งสีเขียว และยังพบแตนเบียนเพลี้ยแป้งสีชมพูอยู่ ที่ยอดมาเลยคือเขาสามารถผ่านช่วงที่มีอาหารน้อยมาก และฝนที่ตกหนักมาได้
3. การใช้สารเคมีที่ฟุ่มเฟีอย เกษตรกรคิดว่าการใช้สารเคมีเป้นทางออกที่ดีที่สุด แต่จริงๆ แล้วทำให้การควบคุมโดยธรรมชาติถูกทำลาย หลังฝนตกหนักสัก 1 สัปดาห์ หากไปดูแปลงที่เดิมเราเคยเห็นมีเพลี้ยอยู่ใต้ใบเต็มไปหมด จะมีลักษณะเป็นซากดำ ๆ แห้ง ๆ มีเกษตรกรรายหนึ่งบอกว่าเขาเพิ่งฉีดยาก่อนฝนตก 1 วัน และรู้สึกดีใจว่าการควบคุมได้ผล หากพิจารณาโดยชัดเจนแล้วการฉีดพ่นครั้งนั้นไม่ได้ผลหรือมีผลทำกับไม่ได้ทำอะไรเลย
"ต้องใจแข็ง" การปลูกมันสำปะหลังในปีพศ.นี้ไม่ต้องกังวลคอยฉีดยา การชุบท่อนพันธุ์ยังจำเป็น การใช้ยาฆ่าแมลงระหว่างปลูกไม่มีความจำเ ป็น ปล่อยให้แมลงศัตรูธรรมชาติควบคุมกันเอง เราจะได้ไม่ต้องเจอบทเรียนราคาแพงที่ยาฆ่าแมลงอะไรก็เอาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวไม่อยู่