วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

29กรกฎาคม58 ฝนตกประมาณ40 มิล ช่วยชีวิตต้นไม้หลายต้น

ที่หากจากตัวเมืองสุพรรณบุรีลงมาทางใต้สัก 1 กิโล ปีนี้แล้งมากฝนตกรอบแรกช่วงสงกรานต์มากหน่อยแล้วก็หายไปเลยมาตดอีกที่ก็ 29 กรกฎาคม 58 ฝนตกประมาณ 40 มิล ช่วยชีวิตต้นไม้หลายต้น แต่ก็ไม่รอดหลายต้น 1 สัปดาห์หลังฝนตกก็เห็นผล มะม่วงตาย 1 ต้น น้อยหน่า 3 ต้น ไผ่เหี่ยวในช่วงเช้ามาเดือนเศษหลังจากฝนตก 1 คืนฝนที่เหี่ยวก็เขียวสดใสขึ้นมา น้อยหน่าเพชรปากช่องที่แตกยอดมาตั้งแต่ฝนเดือนมีนาคม ยอดสีออดน้ำตาลคล้ำ ๆ 1-2 วันหลังฝนตกยังไม่หายคล้ำ แต่ 1 สัปดาห์แล้วก็ยอดสีสดใส ที่งามมากก็หญ้า 1 สัปดาห์มะม่วงแทงยอดใหม่ขนาดสัก 2-4 นิ้ว ฝนตกมาอไรก็ดูดีไปหมด ปีนี้ขุดหลุมเล็กๆ ดักน้ำไว้ไม้อยากให้ไหลทิ้งไป ขอให้มีเวลาลงดินได้ลึก ๆ ดีกว่า ซึ่งหากคล้ายกับปีก่อนที่ฝนมามากในช่วงปลายฝนจะได้เก็บกักไว้ในดิน พืชปีที่ผ่านจึงมีดอกผลให้ได้กินมากมาย

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

8 เมษายน 58 การติดตั้งสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติทีี่เพชรบุรี

คุณโอยืนยันการเดินทางมาเพชรบุรี เดินทางไปช่วงเช้าแต่ฝนตกก่อนเดินทาง พขร.เลยมาช้าเลยได้ไปสายอีก โชคดีที่ทีมคุณโอแจ้งว่าถึงเป้าหมายแล้วแต่เรายังพ้นกรุงเทพไปไม่ถึงไหนเลย น้องเปิ้ลทำหน้าที่ได้ดีมากดูแลพวกพี่ๆ การติตตั้งใช้เวลาไม่นานก็แล้วเสร็จ ทดลองใช้โปรแกรมผ่านมือถือ ช่วงนี้เป็นแอนดรอย์ก่อนติดต่อกับอุปกรณ์ผ่านบรูทรูชไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ แต่ส่งข้อมูลผ่านทางเมลล์ก่อนแล้วทางคุณโอจะนำขึ้นเว็บต่อไป  เก็บทุก 5 นาที่อยู่ได้นานประมาณ 20 วัน มีเวลาหายใจ ไม่ต้องไปโหลบ่อยหากช้ากว่านั้นข้อมูลจะถูกเขียนทับไป งานที่ออกแบบจะประหยัดพลังงานเช่น การให้บรูทรูชหยุทำงานตอนกลางคืนรุ้นที่ติดตั้งคือ BT_Log 6
ทางทีมงานแม้มีความชำนาญทางวิศวกรรมแต่ก็หาประสบการณ์เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของต้นไม้ด้วยซึ่งจะช่วยให้การพัฒนางานต่อๆ ไปทำได้ง่ายขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

ฝนตกช่วงสงกรานต์

ฝนตกช่วงสงกรานต์ที่สุพรรณบุรี เมษ. ตกแล้ว 42 มม. แต่ไปดูข้อมูลฝนที่กำแพงเพชรของกรมอุตุ ฝนตกน้อยมาก 0.2 มม. ปีนี้ชาววังชะพลูปลูกมันปลายฝนกันมาก พร้อมด้วยระบบน้ำหยด 2 เมษ ไปเจอบางแปลงไรแดงลง แต่เฉพาะจุดที่ต้นเติบโตไม่ดี ก่อนหน้านี้ฝนตก 24 กพ และ 22 มีค.ปีนี้ลองเรื่องขี้เถ้าด้วยคงต้องการน้ำมากเพราะขี้เถ้าแห้งเร็ว

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

มะม่วงที่บ้านสุพรรณ

ปีนี้ได้กินมะม่วงที่บ้านมีทั้งฟ้าลั่นซึ่งติดลูกจำนวนมากออกดอกและติดผลตามธรรมชาติ และเขียวเสวยแม้เขียวเสวยจะออกผลน้อยไปหน่อย แต่ไงก็มากพอที่กระรอกไม่กินจนเหลือให้ผู้คนได้กินกัน เช็งเม็งปีนี้มีได้เก็บแจกทุกครอบครัวเลย ผลขนาดใหญ่ ปีนี้หากถามคนสวนมะม่วงเขาจะบอกว่าปีนี้ทำมะม่วงยากไม่ออกดอกตามที่บังคับ มาย้อยดุเหตุการณ์ ปลายฝนก่อนออกดอกฝนชุกมีน้ำขังสะสมในบริเวณบ้านมาก และมีน้ำขังเต็มบ่อเล็ก ๆ ฝนตกล่า จนเข้าช่วงหนาวก็มีอากาศหนาวเย็นในช่วงต้นมกราคม 58 ที่ข้าวที่ออกดอกในช่วงนี้เมล็ดลีบมาก

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

หนอนหัวดำมะพร้าว

หนอนหัวดำมะพร้าว ที่กุยบุรี นับว่าเป็นจุดที่น่าจนใจมากเพราะเป็นเขตที่แห้งแล้ง ฝนน้อย กระจายตัวไม่ดี ซึ่งพวกเราได้เข้าไปในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2555 แต่ก็หยุดชงักเพราะว่ามีการปูพรมมาตรการต่าง ๆ ลงไปในพื้นท่ีจากหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งการตัดทางใบแลัวเผา แต่กว่าจะเผาก็กองสุมไว้จนหนอนไต่ออกมาหาที่อยู่ใหม่ เจ้าของสวนบางรายเข็ดขยาด เพราะการสื่อสารที่ไม่เข้าใจและมจารฐานงานที่ไม่รัดกุม ทำให้ต้นเล็ก ๆที่ตัดฟันง่ายถูกตัดใบจนเกินพอดี และละเลยต้นที่สูง ทำให้มะพร้าวชงักการเจริญเติบโต
มีรายงานผลการวิจัยซึ่งสมชายและคณะ (2555) เขียนไว้ว่าการที่ทางใบมะพร้าวที่ถูกทำลายหากลดลงมากจะกระทบต่อผลผลิต  การตัดทางใบมะพร้าวให้เหลือ 13 ทาง ทุกๆ 45 วัน เป็นเวลา 3 ปี ในปีที่ 1 ไม่กระทบต่อผลผลิตมะพร้าว ปีที่ 2 ผลผลิตลดลง 29 % ปีที่ 3 ผลผลิตลดลง 20 % แต่ถ้าตัดทางใบให้เหลือ 18 ทาง ทุกๆ 45 วัน นาน 3 ปี ในปีที่ 1-3 ให้ผลผลิตที่เหมาะสม แต่หลังปีที่ 3 จำนวนผลและผลผลิตลดลง 20-25 % และเป็นเหตุผลสำคัญหาไม่สามารถแก้ไขให้ทางใบมะพร้าวมีใบสีเขียวมากพอมะพร้าวก็จะยอดกุดตายได้ 
ฝนเป็นตัวช่วยก็จริงแต่การปลูกมะพร้าวบ้านเรายังมีเกษตรกรจำนวนมากไม่ได้ให้การดูแลเท่าที่ควร แต่ที่สังเกตุได้คือสวนมะพร้าวที่มีการดูแลเอาใจใส่มีการใส่ปุ๋ยไม่ว่าจะเป็นมูลสัตว์หรือเคมี และที่ๆ มีน้ำอาจเป็นที่ขังน้ำได้ ที่ ๆ ให้น้ำเข้าสวนได้ มีการปลูกพื้ชหลายชนิด สวนจะมีความเสียหายจากการเข้าทำลายของแมลงน้อย หรือหากเข้าทำลายก็ฟื้นตัวได้เร็ว 
แมลงศัตรูธรรชาติที่สำคัญคือแตนเบียนโกนีโอซัส หากนับเวาลาตั้งแต่ผลิตจนถึงตินนี้ก็นับว่าผลิตปล่อยในพื้นที่น้อย แต่ที่มากจะเป็นพื้นที่มะพร้าวบนเกาะสมุยลงไปหลายแสนตัวเมีย 
ที่กุยบุรี กลางเดือนธันวาคม แปลงหนึ่งมีความคิบหน้าดีมาก แต่ก็ยังพบประชากรอยู่ตัวน้อย ๆ แต่ต้นเดือนกันยายนก็มีสัญญาณที่ดีขึ้น พบการถูกต่อยมากขึ้นในแปลงต้นเล็กส่วนการเบียนยังไม่ทราบแน่ชัด ต้องดูผลกันต่อไป

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โจรกรรมทางวรรณกรรม

ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติคำว่า Plagiarism  ไว้ 2 คำคือโจรกรรมทางวรรณกรรม(สาขาวรรณกรรม) กับ การลอกเลียนวรรณกรรม (สาขานิติศาสตร์) หมายถึงการกระทำที่เป็นการแอบอ้างงานเขียน หรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมของผู้อื่นทั้งหมด หรือนำมาบางส่วนมาใส่หรือมาใช้ในงานของตนเองโดยไม่มีการอ้างอิง แหล่งที่ได้ข้อมูลมา 
"Plagiarism เป็นรูปแบบหนึ่งของความไม่สุจริตทางวิชาการ (academic dishonesty) ในยุโรปสมัยโบราณนักวิชาการ (Scholar) มีความรอบรู้อย่างยอดเยี่ยมถ่ายทอดความคิดเป็นหนังสือ โดยการเขียนต้นฉบับด้วยลายมือของตนเอง รวมทั้งวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียนของนักวิชาการอื่นๆ ได้อย่างอิสระ ในสมัยนั้นยังไม่มีการพิมพ์ ไม่มีการจัดหน้าหนังสืออย่างเป็นระบบ จึงไม่มีระบบมาตรฐานของการอ้างอิง (citation) "
ได้อ่านบทความเกี่ยวกับโจรกรรมทางวรรณกรรม ของคุณบุษบา มาตระกูลแล้วก็รู้สึกว่าต้องมองย้อนดูสักหน่อย และยอมรับว่ามีการกระทำเช่นนี้อยู่บ่อยๆ ให้เห็น แม้แต่การเผยแพร่งานทางเว็บก็มักจะมีผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมฐานข้อมูลโน่น นี่ นั้น มาคัดลอกเอาไปดื่้อ ๆ ขนาดมีจดหมายไปถ้วงติงก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการเกิดขึ้นกับหน่วยงานที่เรียกว่าผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งเขาน่าจะเป็นผู้คัดกรองงานเหล่านี้ มิใช่เลี่ยงว่าจ้างทำ ที่สำคัญน่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดทำระบบฐานข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและนำเสนอวิธีการที่ถูกจ้องในการอ้างอิง และนำผลงานผู้อื่นมาใช้ เนื่องผู้เป็นเจ้าของงานไปเห็นงานจากบุคคลที่3 อ้างอิงงานของผู้คัดลอกมิใช่เจ้าของงานตามเจตนาของจรรยาบรรณการเขียนวรรณกรรม

มีอีกหลาย ๆ กรณีที่พวกเราอาจละเลย เช่น
การคัดลอกงานของตนเอง 
การส่งผลงานชิ้นเดียวกันไปพิมพ์ 2 แห่ง   
การส่งงานเขียนที่มีผู้เขียนร่วมไปตีพิมพ์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เขียนร่วม
การ download บทความจากอินเทอร์เน็ตมาใช้โดยไม่อ้างอิง
การนำสถิติ แผนภาพ รูปภาพ ของผู้/แหล่งอื่นมาใช้โดยไม่อ้างอิง


วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คุณหนูระบาด

ศุกร์ที่ผ่านมาไปชัยนาท กว่าจะถึงก็มึดมากแล้วเลยเห็นแสงไฟที่ใช้ไฟฟ้าดักหนูจำนวนมากในทุ่งนาเห็นเป็นไฟสีแดงเป็นจุดๆ ก็ได้รับการยืนยันว่าเยอะมากจริงๆ ขนาดในศูนย์วิจัยยังต้องใช้บริการผู้เชี่ยวชาญด้านหนูจากกรมมาช่วยกำจัด ซึ่งก็ทำกันหลายวิธี ทั้งล่า ดัก และป้องกันไม่ให้เข้าพื้นที่ ก็เอาใจช่วย การลดพื้นที่ปลูกข้าวปีนี้ถ้าไม่ปลูกเลยท่าจะดีกว่าปลูกแล้วกลายเป็นอาหารของหนูช่วยเพิ่มประชากรหนูไปอีก ชาวนาได้ผลผลิตไม่คุ้มรายหนึ่งจากที่ 12 ไร่ ปลูกเหลือข้าวให้เกี่ยวเพียง 2 ตัน การกำจัดหนูก็มีเรื่อย ๆ แต่คงน้อยกว่าอัตราการเพิ่ม ผู้ล่าที่จะช่วยลดประชากรก็น้อยลง เราคงต้องช่วยเพิ่มบ้าง