วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ทีมมันพัฒนาการที่เยี่ยมมาก

ประชุมทีมงานมันที่ขอนแก่น แต่ละเขตนำเสนองานในส่วนของตนเอง สวพ 2 โดดเด่นมากพัฒนาได้ไกลกว่ากลุ่มสวพอื่น ๆ คือสามารถจำลองได้ตาม SMU ที่กำหนด และนำกลับมาแสดงผลในแผนที่ได้ ให้คำแนะนำได้ ศปบ เลยก็มีกรณีศึกษาที่ดี หลากลายทั้งช่วงปลูก อายุเก็บเกี่ยว แต่ศึกษาเฉพาะที่จังหวัดเลยที่เดียว จังหวัดอื่น ๆ ยังไม่ได้นำมาเสนอ แต่เป็น case ที่สวพ 2 อยากนำไปพัฒนาต่อ เขต 5 สามารถรันแบบจำลองได้ สอนเพื่อน ๆ ได้ แต่การนำกลับมาแสดงในแผนที่ยังสับสนอยู่ เขต 4,6 ยังไม่มีเวลาลงมือทำจริงจังจึงยังรันโมเดลไม่ได้ ในกลุ่มมองเห็นปัญหานี้ จึงเสนอการจับคู่เรียนรู้เพื่อดึงกลุ่มที่ช้า ไม่ทันให้ทันกลุ่มให้ได้ การเขียนคู่มือเป็นวิธีการหนึ่งแต่ปัญหาที่เจอก็คือ อาจเขียนไม่เข้าใจสถานการณ์ที่ผู้ใช้ต้องการแก้ไข เพราะการเขียนคู่มือต้องเขียนเป็นกลาง ๆ ไว้ ไม่ได้ระบุว่าใช้กับกรณีใดเป็นการเฉพาะ แต่เขียนไว้ช่วยจำเพราะไม่มีใครจำอะไรได้ทั้งหมด และอีกหน่อยซอพท์แวร์ก็เปลี่ยนไป พอไดเมีโอกาศเรียนรู้ของใหม่ ๆ ของเก่าก็ลืม คู่มือการใช้งานจำเป็น

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ข้อมูลดาวเทียมกับงานด้านการเกษตร

การวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียม ทดลองนำมาใช้ในส้มเขียวหวานเพื่อตรวจสอบระดับความเสื่อมโทรมของสวนส้ม โดยศึกษาจากค่าการสะท้อนพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีแหล่งกำเนิดจากแสงอาทิตย์ ใช้ข้อมูลดาวเทียม spot5 การจำแนกมีทิศทางที่ดี ความสามารถในการจำแนกระดับของตัวอย่างสวนที่เสื่อมโทรมแต่ละระดับอยูในระดับ high แต่จะจำแนกได้ พื้นที่ส้มที่ให้ผลผลิตแล้วต้องจำแนกออกมาก่อน
บทสรุปจากการทำงาน
การจำแนกอาการเสื่อมโทรมของสวนส้มในพื้นที่อำเภอฝาง เป็นอาการที่แสดงออกให้เห็นได้ด้วยการสังเกตทางใบ เรือนยอด ซึ่งมีได้หลายสาเหตุ อาจเกิดจากโรคกรีนนิ่ง รากเน่าโคนเน่า ทริสเทซ่า รวมทั้งการขาดธาตุอาหาร ข้อมูลดาวเทียมที่สามารถนำมาใช้งานได้เป็นภาพที่ได้จากการถ่ายภาพในเดือนมกราคม 2006, 2007 และมีนาคม 2007 ส่วนภาพในช่วงปลายฤดูฝนมีเมฆมากไม่สามารถนำมาใช้งานได้ ดังนั้นการจำแนกอาการเสื่อมโทรมในสวนส้ม จึงใช้ข้อมูลดาวเทียมช่วงเดือนมีนาคม เพื่อหลีกเลี่ยงการแปลผลผิดพลาดเนื่องจาก สีของผลส้มในฤดูเก็บเกี่ยว การสะท้อนพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของสวนส้มที่มีความสมบรูณ์แตกต่างกัน 5 ระดับ นั้นมีความแตกต่างกันในทุกแบนด์ (อินฟราเรดใกล้ แดง เขียวและ อินฟราเรดคลื่นสั้น) รวมทั้งดัชนีพืชพรรณ NDVI (NIR-G)/(NIR+R) ที่แสดงความแตกต่างของปริมาณชีวมวลและกิจกรรมของพืช green NDVI (NIR-G)/(NIR+R)ที่สัมพันธ์กับความเข้มข้นของคลอโรฟิล แต่ความสัมพันธ์ไม่ได้เป็นเส้นตรง
ความความถูกต้องของการจำแนกระดับความเสื่อมโทรมเมื่อตรวจสอบกับข้อมูลจริงในภาคสนามจำนวน 75 ตัวอย่าง พบว่า ระดับที่จำแนกได้สูงกว่าหรือเสื่อมโทรมกว่าความเป็นจริง 1 ระดับ และสวนที่เสื่อมโทรมมาก(ระดับ 5) มีเนื้อที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากลักษณะของสวนที่มีความอุดมสมบรูณ์ในระดับนี้ ต้นส้มมีทรงพุ่มขนาดเล็ก มีอาการกิ่งแห้งจากยอด ทำให้เห็นพื้นดิน หรือพื้นที่ว่างมากขึ้น การจำแนกสวนที่เสื่อมโทรมมากจึงปะปนกันสวนส้มที่มีอายุน้อย หรือเริ่มปลูกได้ ซึ่งหากพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้ว อาการเสื่อมโทรมของส้มนี้มักเกิดในส้มที่ให้ผลผลิตแล้ว หากสามารถแยกพื้นที่ปลูกส้มใหม่หรือส้มเล็กได้แต่ต้นแล้ว ความถูกต้องในการจำแนกน่าจะสูงขึ้น
พื้นที่ปลูกส้มในเขตอำเภอฝางและอำเภอใกล้เคียงจัดเป็นพื้นที่ปลูกส้มผืนใหญ่ของประเทศ มีความสม่ำเสมอพอควร เนื่องจากเกษตรกรยังสามารถให้การเอาใจใส่ดูแลได้ภายใต้ต้นทุนที่จำกัด อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของระยะการเจริญเติบโตของส้มในรอบปี สภาพภูมิอากาศ การให้น้ำให้ปุ๋ยแก่พืช มีผลกระทบต่อการรับรู้ของดาวเทียม และเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาในการประยุกต์ใช้งาน ระดับที่ 4-5 เป็นระดับที่มีความสูญเสียเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากสวนเป็นโรค หรือขาดการบำรุง หรือละทิ้ง
ในการศึกษาไม่สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของปัจจัยทางภูมิอากาศได้เนื่องจากจำนวนสถานีตรวจวัดมีไม่เพียงพอ

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การให้บริการจุดพิกัดของหน่วยงาน

การให้บริการจุดพิกัดของหน่วยงานโดยเฉพาะหน่วยงานที่เป็นเกษตรท่องเที่ยว เป็นความท้าทายใหม่ ๆ ที่น่าดำเนินการ โดยให้ข้อมูลทั่วไปและตำแหน่ง

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การประชุม 10-11 กันยายน 2550

ห้องประชุมศูนย์สารสนเทศ กรมวิชาการเกษตร
1 ทบทวนขั้นตอนการทำงานตั้งแต่การสร้าง หน่วยการผลิต และการสร้าง X file run DSSAT
ปัญหาในการทำงาน
การกำหนดวันปลูกวันเก็บเกี่ยวเกินข้อมูลที่จัดไว้ให้ เมื่อรันโมเดลแล้วไม่ได้ เช่น ข้อมูลเก็บเกี่ยวปี 2550 แต่ปัจจุบันเรามีข้อมูลเพียง 2549 แก้ไขโดย ประสานงานขอข้อมูลจากกรมอุตุ สถานีที่อยู่ข้างเคียง หากอยู่ห่างไกลให้แจ้ง รหัสสถานีให้วลัยพรทราบ เพื่อประสานงานขอข้อมูลไปที่กรมอุตุอีกครั้ง
นนสด ตันต่อไร่ หารด้วย 0.00047 เป็นหน่วย กก./เฮกตาร์
Summary.out
Overview.out
Growth.out
ทั้ง 3 ไฟล์จะถูกทับทุกครั้งที่มีการรันโมเดล หากต้องการจัดเก็บไว้ต้อง copy ออกไป
การจัดการข้อมูลที่มี .bak เนื่องจากผลของไฟล์ window commander
สรุป
นำ excel ข้อมูลแปลงทดสอบเพื่อค้นหา ดินและอากาศ
2 การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กุลสิริ(สถาบันวิจัยพืชไร่) แบบสอบถาม 2 กลุ่ม เน้นการเก็บข้อมูลในทุกประเด็นเพื่อให้ครอบคลุม ส่วนจำนวนอาจไม่ได้ตามเป้าหมายก็ได้ การสรุปแบบสอบถามต้องสมบรูณ์
มีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแบบสอบถาม
เป้าหมายหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีการเพื่อให้ได้ข้อมูล นัดเกษตรกรมารวมกันสัมภาษณ์ รายแปลง รัศมีรอบโรงงานเป็นจุดเริ่มต้นแทนการสุ่มจากจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกมัน
การส่งแบบสอบถาม สถาบันจะทบทวนอีกครั้ง
3 แนะนำการใช้งาน PDA
-มีอะไรในกล่อง os win CE pg powermap ซึ่งติดตั้งใน PDA แล้ว ความเร็ว 400 G memory 64 M ใช้ SD size 1 Gbyte ฟังเพลงได้ เสียงไม่เพราะเท่า MP3 GPS embedded
การ syn
ใช้แผ่นติดตั้ง เพื่อติดตั้ง Microsoft activesyn และทำตามลำดับ ใส่ชื่อเครื่องตามชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อ แล้วให้ restart
get connect ตามลำดับที่เขาแนะนำ ระบบจะสแกน port ต่างๆ แต่ไม่เกี่ยวกัน cancel ไป เลือก USB port เพื่อใช้งาน ครั้งต่อไปเมื่อเชื่อมต่อจะสามารถ detect ได้เอง
ใส่ชื่อเครื่อง เมื่อเครื่องติดต่อกันแล้วจะปรากฎชื่อ การตั้งชื่อจะปรากฏเป็นชื่อผู้ใช้ในซอฟท์แวร์ต่างๆ
4. align
สวพ 2 ขาด อากาศนครสวรรค์
400201
ดูฝา ใช้ showgraph เลือก new เปิดไฟล์อากาศ เปรียบเทียบ
มันเส้น คำนวณจาก 38% มันสด สวพ2
งาน
จากแผนที่ปลูกมัน ให้นำไปตัดด้วยสวพตัวเอง แล้วนำไป ซ้อนทับกับอากาศ ดิน
สร้าง Smu code จาก รหัสอากาศ รวมกับดิน โดยการเพิ่มฟิลด์ แล้วคำนวณรวมกัน
Summary เลือกข้อมูลที่ไม่ซ้ำกันมาจำลอง station_code and id soil
นำไปจำลองทั้งจังหวัด
Run แต่ละพันธุ์ นำข้อมูลมาเปรียบเทียบด้วย excel
Save as dbf file แล้ว join with smu file

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

กันยาต่อตุลา

เดินทางข้ามหลายดอยทั้งโครงการพิเศษและหน่วยงานในสังกัดช่วงนี้อากาสเปลี่ยนแปลงบ่อย ก่อนมาทีมก็มาไม่ได้ 1 คน มาป่วยอีกคน เลยไม่ค่อยมัน เพราะกังวลกับการเจ็บป่วยการส่งกลับ และงานที่ต้องปรับเปลี่ยนไป ได้งานไม่ตรงตามที่กำหนด ก่อนกลับก็ได้รับโทรศัพท์เรื่องลาออกของอาท ก็คงยุติกิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่อยากทำไปเลย ตัวเองก็ป่วยก่อนกลับ

สบขุ่น สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงน่าน

29-30 กันยา เยือนสบขุ่น
บ้านสบขุ่น เป็นชุมชนดั้งเดิม ประกอบด้วยผู้คนขากหลายพื้นที่อบยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่เพื่อทำมาหากิน เนื่องจากเห็นว่าเป็นที่อุดมสมบรูณ์ ชุมชนอยู่ห่างไกลจากเมือง การเดินทางต้องผ่านช่วงที่เป็นภูเขาสูง ผ่านบ้านดอยติ๊วซึ่งเป็นชุมชนของม้ง แต่ทางลาดยางถึงหมู่บ้าน บ้านสบขุ่น เป็นพื้นที่ราบ ปลูกข้าวนาสวนไว้กิน บางรายเหลือก็ขายในหมู่บ้าน มีโรงสีข้าวขนาดเล็กดำเนินการโดยเอกชน รายได้หลักมาจากการปลูกข้าวโพด ปีนี้ข้าวโพดราคาดี ช่วงนี้กำลังเก็บผลผลิต งานอีกอย่างที่น่าสนใจ คือ การจักสาน ชาวบ้านทำตอกไม่ไผ่อ่อนสีขาวตากกันแทบทุกบ้าน สานกันเป็นปื้น ขายเป็นมัด มัดหนึ่งมี 10 พับ มีคนมารับซื้อในราคา 5 บาท



ที่สถานี
นำกล้าสตรอบอรี่มาปลูกด้วยแต่ที่ประทับใจมาก คือ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลอธิบายงานให้คนงานได้น่าประทับใจมาก "สตรอบอรี่ที่อาจารย์นำมาปลูกนี้เป็นพืชเมืองหนาว ดูการสาธิตการปลูก ..."
คนซ้ายในภาพ ชื่อ กอบ ที่นี่มีนักเกษตรในพระองค์ 2 คน เป็น ชาย 1 หญิง 1 มีกิจกรรมที่ดำเนินการก้าวหน้ามาก อาจเป็นเพราะมีแรงสนับสนุนจากภายนอกดี มีผู้ช่วยดีอย่างนายกอบ กิจกรรมที่นี่ดำเนินการได้เร็ว ทั้งทับทิมอินเดีย และมะเดื่อฝรั่ง ชาปีนี้นำมาปลูกแล้วและบางส่วน bare root มาชำไว้ก่อนเตรียมปลูกปีหน้า


วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

งานโครงการพิเศษของกรมบางส่วน

ได้มีโอกาสเยี่ยมชม รับทราบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมในกิจกรรมโครงการพิเศษต่าง ๆ ช่วงปลายกันยายน-ต้นตุลาคม
ภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน





ปีนี้กิจกรรมปรับเปลี่ยนการทำงานเน้นการดำเนินการในแปลงส่วนกลางของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งขอพื้นที่จากโครงการ เดิมเคยทำในพื้นที่ชาวบ้าน ปัจจุบันส่วนที่ขยายผลในแปลงชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านต้องดำเนินกิจกรรมเอง ปีนี้ นำสตอเบอรี่ไปปลูกเป็นพันธุ์จาก สะเมิง แม่สาย ในพื้นที่ส่วนกลางของภูฟ้า พื้นที่ของกรม และแปลงลุงไหล และชาวบ้านที่มาช่วยแรงงานเล็ก ๆ น้อย 20-30 ต้น
นำมันฝรั่งสปุนต้ามาปลูกครั้งแรก ฟักทองญี่ปุ่น ผัก มะระหวาน ถั่วปากอ้า มะเกียง

ความสูงของพื้นที่ ประมาณ 550 เมตร กาแฟที่นี่ปลูกได้แต่สุกแก่เร็ว ซึ่งไม่เหมาะสมนัก หากสุกแก่ช้าคุณภาพของสารกาแฟจะดีกว่า ช่วงนี้ก็มีการเก็บกาแฟบางส่วนแล้ว สารกาแฟคุณภาพดีต้องเก็บไว้ 5 เดือนก่อนนำมาคั่ว


แปลงลุงไหล
เกษตรกรตั้งใจอยากมีพืชที่เป็นรายได้ และปลูกแบบพอเพียง เคยปลูกหลายอย่างแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ตาย เพราะไม่มีน้ำ ??? เรื่องน้ำ หากวิเคราะห์จากข้อเท็จจริงแล้วทุกสวนในโครงการมี ก็อกน้ำตั้งแต่ต้น เพียงแต่ไม่มีระบบน้ำหหรือสปริงเกอรืให้ ปีนี้ พด.มาทำระบบน้ำให้ก็มีกำลังใจในการปลูกพืช เกษตรกรที่นี่ทำงานหนัก ตั้งใจทำแปลงปลูกอย่างดี แต่เสียที่ว่าการแนะนำปลูกครั้งแรกปลูกถี่ไป เกษตรกรปลูกเองยิ่งถี่มากไปอีก ทำให้กล้าไม่พอ
เกษตรกรจึงไปขอรับกล้าเพิ่มจึงแนะนำให้ปรับระยะปลูกใหม่ แปลงนี้นำจะเป้นแปลงตัวอย่างได้ดีทั้งการศึกษาวิจัยและแปลงตัวอย่าง
เป็นที่สังเกตุว่าเกษตรกรไม่กี่รายที่ร่วมกิจกรรมกับโครงการ และก็รับความร่วมมือ ช่วยเหลืออย่างหนาแน่น




การอบรม GIS กรมพัฒนาที่ดิน

กรมพัฒนาที่ดินได้จัดให้มีการฝึกอบรม หลักสูตร การพัฒนาโปรแกรมในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในระหว่างวันที่ 18-21 กันยายน 2550 กล่าวถึง
1. การพัฒนาโปรแกรมใช้ ARCMAP ซึ่งเป็นโมดูลหนึ่งของ ARCGIS เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับผู้ใช้ มีความสามารถปรับแต่งเมนู และเขียนโปรแกรมด้วย VBA ของ ARCMAP
2. การสร้าง MODEL BUILDER ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล GIS และช่วยในการอำนวยความสะดวกในการทำงานกับลักษณะงานที่คล้ายคลึงกันได้
3. เรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Map Window GIS ซึ่งเป็น open source program จัดเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย และมีผู้พัฒนาต่อเนื่อง น่าจะพิจารณานำมาใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล การใช้งานคล้ายกับ ARCVIEW ที่ใช้งานกันทั่วไป แต่ Map Window GIS จะไม่มีปัญหาเรื่อง license ในการใช้งาน
4. การเขียนโปรแกรมด้วย ภาษา Visual Basic สามารถพัฒนาร่วมกับ Map Window GIS โดยดึง service ของ Map Window มาพัฒนาเป็น application ได้ สามารถ complied เป็น exe file หรือ เป็น script นำไปใช้ต่อกับ Map Window GIS ได้ แต่ Visual Basic ใช้ Visual studio.net ซึ่งเป็น commercial software เป็น tool ช่วยเขียน
กรมวิชาการเกษตรเราน่าจะมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้วย GIS open source program โดยเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ GIS อบรมการใช้งาน และการเผยแพร่ข้อมูล ควรพิจารณาเลือกใช้ open source program สำหรับการใช้งานกับ PC และผู้ใช้กลุ่มนี้ก็มีมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

single window

หน่วยงานภาครัฐพยายามพัฒนาระบบงานที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้โดยการกรอกข้อมูลครั้งเดียวเข้าไปใช้งานได้อีกหลาย ๆ ระบบ กำลังเริ่มที่กรมส่งเสริมการส่งออก เลือก 8 หน่วยงาน ที่มีการออกใบรับรองมาเป็นงานนำร่อง แต่รัฐก็ใช้บริการ outsource เป็นครั้งแรกที่ไปที่กรมส่งเสริมการส่งออก ที่ทำงาน /ส่วนบริรประชาชนน่าใช้มาก การจัดที่ทำงานดูทันสมัยมาก
กระบวนการทำงานเป็นมืออาชีพมีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาช่วยในการทำงาน วันนี้เป็นการเสนอซองทางด้านเทคนิด ผู้เสนอต้องมานำเสนอเทคนิควิธีการแผนที่ทำงานใครผ่านก็ค่อยไปเคาะราคากัน
เป็นครั้งแรกที่มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมทำนองนี้ กรรมการมีการประชุมซักซ้อมก่อนการเข้าฟัง แต่ละบริษัทมีเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงในการเสนอและตอบข้อซักถาม ใครเสนอซองก่อนก็ได้เป็นผู้นำเสนอก่อน ก็ต้องทำให้กรรมการมีความเชี่อมั่นว่าสามารถทำงานให้สำเร็จ และเนื้องานครอบคลุมตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ ระบบเป็นระบบไม่ใหญ่มาก แต่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานและเป็นส่วนที่ยากที่สุดในการพัฒนาระบบ ระบบย่อย ๆ ของแต่ละหน่วยงานไม่เข้าไปยุ่งเพราะหน่วยงานต่างก็มีระบบอยู่แล้ว จะเป็นทำด้วยมื่อหรืออิเล็กทรอนิก เรารู้สึกว่าแพงนะ แต่ถ้ารับประกัน 24X7 ก็ รับได้

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550

climate change

ภาวะโลกร้อนเป็นที่ตระหนัก และกรมวิชาการเกษตรก็ให้ความสำคัญ พี่เงาะมาคุยด้วยเกี่ยวกับงานที่เกี่ยวข้องกับแบบจำลองของพืชที่คนกรมเคยทำมา และกระทรวงเกษตรฯกำลังมีความร่วมมือกับออสเตรเลียในการพัฒนา Thailand Plant production system research unit ใน 3 ปีข้างหน้า ให้ความสนใจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพืช ทั้งในระดับภูมิภาค จนถึงแปลงปลูกพืช คนที่ทำงานนี้มาแล้วก็มีพี่ดก พี่สุกิจ แต่ก็เป็นผู้ใช้ หากกรมต้องการให้พัฒนาโมเดลได้เอง ต้องทำอะไรบ้าง ใครบ้างที่เกี่ยวข้อง และใครจะอาสาในเรื่องนี้เพื่อเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง มีน้องใหม่มาคน ดูว่าเขาสนใจนะแต่ก็ยังไม่กระโดดมาเต็มที่ อยากเห็นเขาอาสา

datalogger ที่พืชสวนโลก




งานพืชสวนโลกทำให้พวกเราตื่นตา เทคโนโลยีได้รับการคัดเลืกกมาจัดแสดง รวมทั้งอุปกรณ์ตรวจอากาศ/ดินอัตโนมัติด้วย วันนี้ไปดูเครื่องมือ ไม่ได้มีการใช้งาน ใช้งานไม่ได้ ไม่รู้จะใช้อย่างไร การส่งต่อระหว่างผู้รับเหมาจัดแสดง และการเตรียมบุคคลเข้ารับไม่สอดคล้องกัน





ว่าไปแล้วปัญหานี้ก็เกิดกับทุกที่เป็นปกติอยู่แล้ว แต่อุปกรณ์พวกนี้มีอายุการใช้งานเสียหายง่าย และการหาคนซ่อมก็ยาก ซื้อใหม่ก็แพง โมเดลของเมืองไทยก็พอใช้ได้ราคาถูกลง ปัจจุบันมีการใช้งานแพร่หลายมากขึ้นและนำข้อมูลผยแพร่ผ่าน net

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550

ขยายพันธุ์สตอเบอรี่ที่แม่สาย


บนเส้นทางเรียบชายแดนจากดอยตุงไปแม่สายมีเกษตรกรเพาะสตอเบอรี่ขยายพันธุ์อยู่ข้าวทาง









เกษตรกรรายนี้ผลิตอยู่ 2 พันธุ์ คือพันธุ์พระราชทานเบอร์ 20 ขนาดผลโต และเบอร์16 ซึ่งผลดก และทนโรค ช่วงต้นเดือนกันยายนนี้กำลังแตกไหล เดือนหน้าสามารถนำไปปลูกได้ เพื่อ่นร่วมทางกำลังติดต่อขอสั่งซื้อเพื่อนำไปปลูกที่ภูฟ้า

บัวทองไม้ดอกของดอยผ้าห่มปก


บัวทอง ไม่พุ่มขนาดเล็ก ดอกสีทอง


ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด สงสัยว่าเอามาปลูกบนพื้นล่างจะได้ไหม เจ้าหนาที่วาวีเก็บเมล็ดไปมากพอควร แต่วาวีเป็นที่ดอยสุงก็น่าจะOK

หนอนแมลงนูนหลวง



รูปร่าง




มีหลายขนาด พบมากบนพื้นที่โครงการบ้านเล็ก ฟ้าห่มปก ทำลายพืชปลูกทุกชนิด


ข้อสังเกตุ


ดินที่นี่มีอินทรีย์วัตถุมาก อากาศเย็น แดดน้อย ฝนตก แต่ปริมาณครั้งละไม่มาก

รูปนี้กำลังขุดหาหนอนในแปลงถั่วลิสงซึ่งถูกกัดโคนขาด


ฟ้าห่มปก






เส้นทาง











การติดตั้งระบบตรวจอากาศอัตโนมัติ 31 สิงหาคม 2550
ติดตั้งที่ โครงการบ้านเล็ก ในป่าใหญ่ฟ้าห่มปก ต. แม่สาว อ. แม่อาย จ. เชียงใหม่ วันที่ 30 สิงหาคม 2550 ของ Unidata มี sensor 2 ชนิด คือ radiation และ temperature กำหนดให้เก็บข้อมูลทุก 1 ชั่วโมง



เจ้าหน้าที่ของโครงการ (ปรีชา นักเกษตรในพระองค์) ขอให้ติดตั้งถึงเดือนมกราคม
การเก็บข้อมูลภูมิอากาศนี้จะนำมาวิเคราะห์ร่วมกับการให้ผลผลิตข้าว ได้ประสานงานกับคุณวิชัย ขอให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยข้าวเก็บข้อมูลวันออกดอก วันเก็บเกี่ยวข้าวของข้าวแต่ละพันธุ์
กาแฟ สภาพอากาศเหมาะสม น้ำดีมาก แต่เกษตรกรไม่ค่อยชอบฉีดยา น่าจะหาวิธีในการผลิตกาแฟอินทรีย์ กาแฟที่นี่เริ่มเก็บได้ปลายเดือนธันวาคม หมด มีนาคม ปีที่ผ่านมาขายเป็นผลสด ผลผลิตทั้งหมดประมาณ 5 ตัน คุณนัด จากวาวีให้ข้อมูลว่าสภาพแวดล้อมดีเหมาะสมสำหรับการปลูกกาแฟ และสามารถให้สารกาแฟคุณภาพที่ดี
การเกษตรที่นี้มีปัญหาเรื่องดิน อากาศ และแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะหนอนของด้วงซึ่งกัดดินรากพืช ข้าว กาแฟ ถั่วลิสงมีหลายขนาดตั้งแต่ขนาด 2-3 มิล จนขนาดเท่านิ้ว เก็บตัวอย่างหนอนมาแต่อยู่ได้ 2 วันก็ตาย
การหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องหนอนด้วงนี้ใช้ภาพถ่ายไปหานักกีฎ ทำให้ทราบว่าเป็นแมลงนูนหลวง กำจัดไม่ยาก ให้น้องบอลช่วยสรุปวิธีป้องกันกำจัด