วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

หนอนหัวดำมะพร้าว

หนอนหัวดำมะพร้าว ที่กุยบุรี นับว่าเป็นจุดที่น่าจนใจมากเพราะเป็นเขตที่แห้งแล้ง ฝนน้อย กระจายตัวไม่ดี ซึ่งพวกเราได้เข้าไปในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2555 แต่ก็หยุดชงักเพราะว่ามีการปูพรมมาตรการต่าง ๆ ลงไปในพื้นท่ีจากหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งการตัดทางใบแลัวเผา แต่กว่าจะเผาก็กองสุมไว้จนหนอนไต่ออกมาหาที่อยู่ใหม่ เจ้าของสวนบางรายเข็ดขยาด เพราะการสื่อสารที่ไม่เข้าใจและมจารฐานงานที่ไม่รัดกุม ทำให้ต้นเล็ก ๆที่ตัดฟันง่ายถูกตัดใบจนเกินพอดี และละเลยต้นที่สูง ทำให้มะพร้าวชงักการเจริญเติบโต
มีรายงานผลการวิจัยซึ่งสมชายและคณะ (2555) เขียนไว้ว่าการที่ทางใบมะพร้าวที่ถูกทำลายหากลดลงมากจะกระทบต่อผลผลิต  การตัดทางใบมะพร้าวให้เหลือ 13 ทาง ทุกๆ 45 วัน เป็นเวลา 3 ปี ในปีที่ 1 ไม่กระทบต่อผลผลิตมะพร้าว ปีที่ 2 ผลผลิตลดลง 29 % ปีที่ 3 ผลผลิตลดลง 20 % แต่ถ้าตัดทางใบให้เหลือ 18 ทาง ทุกๆ 45 วัน นาน 3 ปี ในปีที่ 1-3 ให้ผลผลิตที่เหมาะสม แต่หลังปีที่ 3 จำนวนผลและผลผลิตลดลง 20-25 % และเป็นเหตุผลสำคัญหาไม่สามารถแก้ไขให้ทางใบมะพร้าวมีใบสีเขียวมากพอมะพร้าวก็จะยอดกุดตายได้ 
ฝนเป็นตัวช่วยก็จริงแต่การปลูกมะพร้าวบ้านเรายังมีเกษตรกรจำนวนมากไม่ได้ให้การดูแลเท่าที่ควร แต่ที่สังเกตุได้คือสวนมะพร้าวที่มีการดูแลเอาใจใส่มีการใส่ปุ๋ยไม่ว่าจะเป็นมูลสัตว์หรือเคมี และที่ๆ มีน้ำอาจเป็นที่ขังน้ำได้ ที่ ๆ ให้น้ำเข้าสวนได้ มีการปลูกพื้ชหลายชนิด สวนจะมีความเสียหายจากการเข้าทำลายของแมลงน้อย หรือหากเข้าทำลายก็ฟื้นตัวได้เร็ว 
แมลงศัตรูธรรชาติที่สำคัญคือแตนเบียนโกนีโอซัส หากนับเวาลาตั้งแต่ผลิตจนถึงตินนี้ก็นับว่าผลิตปล่อยในพื้นที่น้อย แต่ที่มากจะเป็นพื้นที่มะพร้าวบนเกาะสมุยลงไปหลายแสนตัวเมีย 
ที่กุยบุรี กลางเดือนธันวาคม แปลงหนึ่งมีความคิบหน้าดีมาก แต่ก็ยังพบประชากรอยู่ตัวน้อย ๆ แต่ต้นเดือนกันยายนก็มีสัญญาณที่ดีขึ้น พบการถูกต่อยมากขึ้นในแปลงต้นเล็กส่วนการเบียนยังไม่ทราบแน่ชัด ต้องดูผลกันต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น