วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หมดฝนทางพื้นที่ตอนบน



ภาพรวมของฝนของประเทศตอนบนฝนต่ำกว่าปกติยกเว้นทางตะวันออกของประเทศ โดยเฉพาะอุบลราชธานี ฝนมากกว่าปกติมาก ซึ่งปีนี้มีรายงานเรื่องหัวมันเน่าในพืี่นที่อำเภอน้ำยืน
และอีกบริเวณทางหนองคาย สกลนคร กาฬสินธุ์ ที่ฝนมากกว่าปกติ ปีนีัที่ตราดแห้งแล้งมากซึ่งปกติเรามักได้ยินว่าฝนตกมากที่อ.คลองใหญ่ จ.ตราด





















วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แมลงศัตรูมะพร้าวที่เกาะพะงัน

พวกเราเดินทางจากเกาะสมุยซึ่งปกติเก็บข้อมูลการระบาดที่นี้ทุก ๆ 2 เดือน คราวนี่ต้องรีบทำงานกัน วางแผนการเดินทางแต่ละแปลงให้ดีหน่อย เพราะชำนาญเส้นทางแล้ว กะว่าจะบริหารจัดการเวลาให้สามารถไปเกาะพะงันได้ทันตามเวลา อยากไปดูสภาพทั่ว ๆ ไป ในฐานะที่ไม่เคยมาเลย และก็เลยได้ของแถมกลายเป็นได้สำรวจแมลงศัตรูมะพร้าวเกาะพะงันไปด้วยในวันที่  30 ตุลาคม 2557 เนื่องจากยังรู้สึกติดพันอยู่ มองไปก็มีมะพร้าวมาก จากท่าเรือขับรถไปเรื่อยๆ ไปทางตอนใต้ของเกาะก็มีมะพร้าว สวย ๆ คิดว่าจะไม่เจอศัตรูแล้วเชียว ยังนึกชมว่ามะพร้าวที่นี้สวยมาก 


มีเวลาสำรวจได้ด้านเดียวของเกาะซึ่งเป็นเส้นทางส่วนใหญ่ที่ใช้ภายในเกาะ มีถนนลาดยาง ส่วนอีกด้านทางน่าจะต้องใช้รถดีๆ หน่อย ๆ 
พบการระบาดของหนอนหัวดำมาก  แปลงอยู่ก่อนถึงโรงเรียนบ้านมะเดื่อหวาน มีการเจาะต้น และแปลงอยู่เลยโรงเรียนบ้านมะเดื่อหวานไป
หนอนหัวดำทำลายในต้นมะพร้าวอายุน้อย



ทำลายได้ไม่นาน ใบยังแดงอยู่
ปางช้าง สวนมะพร้าวที่อยู่ใกล้ๆ ถูกแมลงทำลายมาก




























































จากร่อยรอยการทำลายน่าจะใกล้เคียงกับสมุย การระบาดเริ่มจากตอนเหนือของเกาะก่อน ปัจจุบันการระบาดยังพบอยู่ จากการพบตัวหนอนวัย 4-5 ในมะพร้าวต้นเล็ก ๆ ที่สามารถดึงลงมาดูได้ ชาวบ้านที่นี้ไม่ค่อยชอบให้เจาะอัดฉีดยาเข้าลำต้น ยังกังวลเรื่องผลตกค้าง

นอกจากหนอนหัวดำแล้วยังพบการระบาดของแมลงดำหนามเล็กน้อย โดยพบในช่วงใบกลาง ๆ


ปาล์มภาคเหนือ-ทะลายเน่า

อาการทลายปาล์มเน่า
วันที่ 13 พย.57    สถานที่ อ. สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
ปาล์มอายุ 3 ปี 3 เดือน ที่เดิมเคยปลูกลำไยมาก่อน
ทะลายเน่าจากยอดทลายดูรูป














                        pH OM (%) N(%) P(มก./กก.) K(มก./กก.) Mg(มก./กก.) B(มก./กก.)
ค่าวิเคราะห์ดิน 6.6 1.94         0.1           29                  180                  302                   0.31
ใบปาล์ม                                 2.9          0.27               0.84                0.54                    3.8

ส่งตัวอย่างหาเชื้อสาเหตุอยู่อาจเป็นได้ว่าธาตุอาหารไม่สมดุล และมีเชื้อสาเหตุ
24 พย57 ทราบผลว่าไม่พบเชื้อสาเหตุสำคัญ
และลองหาข้อมุลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธาตุอาหารเผื่อใครมีความเห็นเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฝนปลายปีที่หนาแน่น

คงมีช่วงเวลาสั้น ๆ ที่จะให้ฝนตกช่วงนี้คนกรุงจึงกังวลกับฝนที่มากในช่วงนี้
แต่ไปดูข้อมุลที่กรมอุตุ ฯ ข้อมูลปริมาณน้ำในตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงปัจจุบัน บอกได้ชัดเจนว่าปีนี้ฝนน้อยมาก แผนที่ข้างล่างนี้เป็นแผนที่เปรียบเทียบปริมาณน้ำฝนกับค่าเฉลี่ยโดยปกติจาก 30 ปี แทบทุกพื้นที่มีฝนต่ำกว่าค่าปกติ ยกเว้น อุบลราชธานี นครพนม ซึ่งปีนี้ทำให้มันสำปะหลังที่อุบลแสดงอาการเป็นโรครากเน่าโคนเน่าชัดเจนในช่วงเดือนกรกฏาคม 2557
แต่ก็หวังว่าคงไม่ลืมว่าช่วงต้นปีนี้แห้งแล้งขนาดไหนได้คุยกับคนปลูกมันสำปะหลังที่กำแพงเพชรก็บอกว่าปีนี้อากาศร้อนรุนแรงมาก ปลูกเช้าตายต้องปลูกใหม่ ปลูกเย็นรอด เป็นอะไรที่แปลกมาก ปีนี้ก็เป็นอีกปีที่ขาดแคนท่อนพันธุ์


วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

ไส้เดือนฝอยในมันสำปะหลัง

มันสำปะหลังเคยเป็นพืชที่ทรหด อดทนมาก เร็ว ๆ นี้ก๋มามาเจอไส้เดือนฝอย ที่เคยเห็นครั้งแรกในมันสำปะหลัง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็เคยได้ยินจากเวทีงานวิจัยมันสำปะหลังมาก่อน แต่ไม้มั่นใจว่าจะทำความเสียหายขนาดไหน โอกาศที่จะเกิดมีมากไหม และมีปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้าง  ปีนี้มัโออาศเจอในแปลงที่ปลูกแบบอาศัยน้ำฝน ต้นที่รุนแรงก็น่ากลัวเหมือนกัน แต่มันก็ไม่แน่ว่าฤดูต่อไปจะเยอแบบนี้อีก
     
               รากมันสำปะหลังเป็นปม

                            การลงหัวไม่ดี
ลองสังเกตุในแปลงของตนเองบ้างนะ แต่ก็อย่ากังวลเกินเหตุ

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ต้นไม้หลังผ่านอากาศหนาวปี 57

เดินทางกลับสุพรรณบุรีสัปดาห์นี้ 31 มกราคม เห็นได้ชัดว่าแล้งมากขึ้น ใบไม้เหลืองเตรียมร่วง ต่างชัดจากสัปดาห์ก่อน วันเสาร์เช้าพอสายหมอกก็หนาขึ้น ดินแตกระแหง ร่องลึก มะม่วงไม่ค่อยมีราดำมากเหมือนปีก่อน

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

คุยกันเล็กๆเรื่องอ้อย

มาร่วมกลุ่มครั้งแรกกับทีมอ้อย วันนี้มาคุยเรื่องเครื่องจักรกล ที่อรรถทำงานเรื่องนี้มานานาน เราก็เพิ่งได้รู้จักหลักการทำงานก็เน้นเรื่องการไม่เผาใบอ้อย ลดการชะล้างของดิน โดยการปรับระดับดิน จึงสามารถปลูกแบบไม่ให้น้ำได้ ผลผลิตสูง แต่ปีที่ผ่านมาช่วงที่แล้งมากจากการไม่ให้น้ำเลย ฝนตกลงดินน้อยไม่มีความชื้นพอนานไป ผลผลิตหายไป
เครื่องปลูกแบบนอน และแบบตั้งดูแล้วแบบนอนน่าจะทำงานได้สบายกว่า บรรทุกท่อนพันธุ์ได้จำนวนมากกว่า
การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนก่อนตัด 1 เดือน จะสามารถเพิ่มความแข็งแรงของท่อนพันธุ์ได้ แต่ในทางปฏิบัติทำได้หรือที่จะมุดแปลอ้อยสูงๆไปใส่ปุ๋ย หรือว่าจะให้การ treat ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก
เกษตรไทย แนะนำให้เกษตรกรตัดท่อน 1 ข้อ เลือกต้นที่แข็งแรงไปปลูกเป็นแปลงท่อนพันธุ์โดยเฉพาะ และเตรียมดินโดยไม่พลิกหน้าดิน
การปลูกอ้อยต้องแข่งกับเวลาเพราะความชื้นในดินมีจำกัดและต้องรักษาความชื้นและดินสัมผัสกับท่อนพันธุ์ให้มากที่สุด
การปลูกอ้อยในนา-ดินเหนียว การไถดินจะเป็นก้อน ดังนั้นในนาข้าวนั้นไม่ต้องไถต้องใช้ริบเปอร์ลงสุดหรือมากกว่า 50 ซม.และติดโรตารรีท้ายริปเปอร์  2 สัปดาห์ก็มาพรวนตีระหว่างแถว เพื่อชักร่องอีกครั้ง สำหรับการให้น้ำ
แทรกเตอร์ติดจีพีเอสในบ้านเรานำมาใช้ในการตัดคอนทัว หรือการทำร่องปลูก
ปัญหาระดับปลูกต่ำกว่ารอยแทรกเตอร์
วีนัส 30 บริกซ
แทร
โลจิสติก ขอนแก่น3 บรรทุกได้น้ำหนักมากกว่า
กวางสี ปูพลาสติก ตัดขนออกด้วยควาย อ้อยสะอาดไท่ได้เผา ยอดก็ให้ควายกิน มิครผลมี 5 โรง พม่าก็สะอาดกว่า