วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ภัยพิบัติจากปัญหาการเกษตร

ภัยพิบัติจากปัญหาการเกษตร คำนี้แทบไม่อยากเชื่อว่าจะมีได้ และกลายเป็นช่วงทางให้มีผู้หาผลประโยชน์ได้ ก่อนหน้าเราเคยเจอปัญหาเกี่ยวกับเพลี่ยแป้งมันสำปะหลังผนวกกับปีนั้นแล้งมากทำให้มันสำปะหลังผลผลิตไม่เพียงพอที่จะเข้าโรงงาน หลายพื้นที่ก็ใช้โอกาสนี้ในการสั่งซื้อสารเคมีจำนวนมหาสาร โดยไม่คำนึงถึงว่าสารเคมีนั้นจะมีการนำไปใช้อย่างถูกต้องหรือไม่ คำแนะนำให้นำไปแช่ท่อนพันธุ์ แต่ปรากฏว่ามีการนำไปใช้ในการฉีดพ่น และการฉีดพ่นนี้หากใช้ติดต่อกันก็จะทำให้เกิดการดื้อยาเช่นที่เคยเกิดขึ้นในข้าว เพลี้ยกระโดยสีน้ำตาลทนทางต่อยาฆ่าแมลงทุกชนิด
ยังโชคดีที่เพลี้ยแป้งมีแตนเบียนที่เก่งมาช่วยควบคุม
วันนี่เราคงเจอกับปัญหามะพร้าวราคาถูก ลูกละ 1-3 บาท  แมลงศัตรูมาก ต้นทุนเพิ่มแต่ราคากลับสวนทาง เกิดอะไรขึ้นกับพืชผลการเกษตรบ้านเรา
ตัวการน่าจะมาจากการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกวิธี ต้องการผลเร็วแต่ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ทำให้บางพื้นที่มีการใช้สารเคมีเจาะเข้าทางลำต้น สารอะไรก็ไม่รู้ ผลตกค้างมีแน่นอน เพราะสินค้าพวกน้ำกระทิถูกตีกลับ จากประเทศที่เขาให้ความสำคัญกับอาหารที่ประชาชนเขาใช้บริโภค ผลผลิตที่มีอยู่ในบ้านจึงถูกปฏิเสธ-แบบเหมารวม ซึ่งก็ไม่ยุติธรรม ทำให้มีการนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศมาทดแทนความต้องการ ทำให้มะพร้าวบ้านเราราคาถูกลง

บีทีปลอม
บีทีเป็นชีวภัณฑ์ที่หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ให้คำแนะนำว่าสามารถฉีดพ่นในมะพร้าวที่มีการระบาดของหนอนหัวดำได้  ชีวภัณฑ์บีทีมี 2 ชนิดคือ Bacillus thuringiensis kurstaki และ B. thuringiensis aizawai
ใช้ในอัตรา ๘๐ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร พ่นต้นละ ๕-๑๐ ลิตร  จำนวน ๓ ครั้ง ห่างกัน ๗-๑๐ วัน หลังการตัดทางใบที่ถูกทำลายแล้ว และเนื่องจากเป็นสารชีวภัณฑ์บีที การฉีดพ่นให้ได้ผลดีต้องฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือเย็นเท่านั้น ถ้าฉีดพ่นช่วงแดดแรงก็จะทำให้บีทีตาย ประสิทธิภาพการควบคุมลดลง และที่สำคัญบีทีที่มีในท้องตลาดต้องดูที่มีใบอนุญาตถูกต้อง สามารุถนำเลขที่ไปตรวจสอบกับสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตรได้ และอายุต้องไม่เกิน 6 เดือนเพื่อให้แน่ใจว่ามีปริมาณบีทีตามที่กำหนด   ช่วงเดือนที่แล้วไปประจวบมา เกษตรกรบอกว่า อบต. หรือเทศบาลหลายพื้นที่ก็ดำเนินการตัดทางใบและฉีดพ่นบีทีกันแล้ว เราก็ได้แต่หวังว่าจะเป็นบีทีที่ไม่ปลอม ช่วงนั้นดูเหมือนการระบาดของหนอนหัวดำบางพื้นที่ก็รุนแรงขึ้น บางพื้นที่ก็ควบคุมได้ดีขึ้น แต่แมลงดำหนามระบาดรุนแรงลดลง   เจอเกษตรกรรายหนึ่งมีภาพลบกับหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์จากความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยมาสำรวจความเสียหาย-ถ่ายภาพ-แล้วนำข้อมูลไปเขียนของบประมาณ -แล้วแปลงที่ระบาดก็ไม่ได้กลับมาทำอะไร หรือทำให้เกิดการระบาดมากขึ้น เพราะว่าใช้วิธีการไม่ถูก ดูเหมือนรายนี้จะปิดประตูรวมทั้งออกแรงต้านด้วย เขาไปพึ่งพาน้ำหมักสมุนไพร-การบำรุงรักษาต้นให้แข็งแรง ซึ่งเรื่องหลังเห็นด้วยเพราะเท่าที่เห็นแปลงมะพร้าวที่กุยบุรี แปลงที่เกษตรกรให้การดูแล ให้น้ำบ้าง หรือมีพืชปลูกหลากหลายจะไม่ค่อยโดยทำลาย แปลงที่ดินชื้นๆ ถูกทำลายน้อยกว่า แต่จะทำอย่างไรกับพื้นที่ทีฝนทิ้งช่วงไปนานๆ   สารเคมีก็ถูกนำมาใช้อีกแล้วกับมะพร้าวด้วยคนภาครัฐ 2-3 วันก่อนก็ได้ทราบว่ามีการแนะนำวิธีการใหม่อีก แต่ก็ล่อแหลมต่อการนำไปใช้แต่ยังโชคดีที่ราคาแพง การเจาะลำต้นใส่สารเคมีถูกหยิบนำมาถกเถียงกันอีกแล้ว สารฆ่าแมลง emamectin benzoate ซึ่งใช้ในการเจาะลำต้นมะพร้าว ถึงแม้ในท้องตลาดจะมีหลายยี่ห้อ แต่ก็ไม่แน่ใจต่อผลตกค้างที่จะมีเนื้อมะพร้าว สารปนเปรื้อนอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค มีคำถามทำไมเกิดขึ้นมากมาย




แมลงศัตรูมะพร้าว

ปลายปีนี้มาเริ่มงานกับมะพร้าว จากปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูมะพร้าวที่ดูเหมือนว่ายังแก้ไม่ถูกที่สักที ก่อนหน้านี้หลายปีมะพร้าวเคยได้รับผลกระทบรุนแรงจากการระบาดของแมลงดำหนาม พื้นที่ที่มีผลกระทบตอนนั้นมีทั้งภาคใต้ ตะวันออก และภาคกลางแมลงนี้ทำลายใบยอดอ่อนมะพร้าว ทำให้มะพร้าวแสดงอาการที่เรียกว่าหัวหงอก คือใบใหม่ ๆจะถูกทำลายก่อน และเมื่อใบแก่ใบเหล่านั้นก็จะแห้ง
แมลงศัตรูธรรมชาติเป็นพระเอกการควบคุมได้ผลดี ช่วงนั้นไม่ได้สัมผัส ไม่ได้ไปทำงานด้วยได้แต่มองดูห่าง ๆ แต่ปีที่แล้วจนถึงปีนี้ก็ได้ทราบข้อมูลจากเพื่อนๆ พี่ๆ ว่ามีแมลงศัตรูชนิดใหม่มาอีกแล้ว  เรียกว่าหนอนหัวดำ รุนแรงกว่าแมลงดำหนามเพราะหากรุนแรงก็ทำให้ยืนต้นตายได้
หนอนหัวดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Opisina arenosella Walker มีผู้รายงานว่าพบการระบาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน 2551 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ปทุมธานี นนทบุรี นครสวรรค์ และศรีสะเกษ และเมื่อสำรวจเพิ่มเติมจนถึงเดือนกรกฎาคม 2553 พบว่าแมลงชนิดนี้ระบาดเพิ่มขึ้นอีก 2 จังหวัด คือ นครราชสีมา และอุทัยธานี และมีแนวโน้มระบาดเพิ่มขึ้น แมลงชนิดนี้ลงทำลายในพืชอาศัยหลายชนิด เช่น มะพร้าว ตาลโตนด กล้วย กะพ้อ และปาล์มประดับอื่น ๆ อีกหลายชนิด
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ลำตัวแบน ยาวประมาณ 1.0-1.2 เซนติเมตร ปีกมีเกล็ดสีเทาเงินปกคลุม ปลายปีกมีสีเทาเข้ม กลางวันมักเกาะนิ่ง หลบซ่อนอยู่ใต้ใบมะพร้าว หรือในที่ร่ม โดยที่สำตัวติดกับผิวพื้นที่ใบที่เกาะ แม่ผีเสื้อวางไข่ในใบพืชที่เป็นรัง หรืออุโมงค์ที่ตัวหนอนสร้างไว้ ระยะหนอนที่ยาวนาน 32-48 วัน ทำให้การทำลายรุนแรง ใบแก่หรือเนื้อเยื่อพืชที่มีสีเขียวจะถูกกัดกินผิวใบจนเหลือแต่ก้านใบ

การป้องกันกำจัดยังมีเพียง การตัดใบที่มีหนอนลงทำลาย นำไปเผาทิ้ง  และพ่นด้วยชีวภัณฑ์ Bacillus thuringiensis kurstaki  และ B. thuringiensis aizawai รวมทั้งการใช้แตนเบียนปล่วยเพื่อช่วยควบคุม
แตนเบียนที่บ้านเรามีอยู่ยังไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเท่าที่ควร การนำเข้าแตนเบียนจากต่างประเทศก็เป็นสิ่งจำเป็นแต่คงต้องรอการศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ และการพิจารณาจากเกี่ยวกับการกักกันพืช เพื่อให้อนุญาตนำมาใช้ในแปลงจริงได้

ผู้เขียนเองก็รออยู่เหมือนกัน ลุ้นว่าเมื่อไร และประสิทธิภาพเขาจะคุมการรอคอยไหม

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

มะพร้าวที่กุยบุรี

ได้มีโอการเดินทางลงมาทำงานทางใต้หลังจากห่างหายไปหลายปี จากปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำในมะพร้าว กุยบุรีไม่ใช่พื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงอยู่ในขณะนี้ ทับสะแกซึ่งเป๋นแหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญกฏ็มีพื้นที่ทีมีการระบาดรุนแรง ความรุนแรงถูกผสมโรงด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ช่วง 2-3 ปีมานี้ การตกของฝนในเขตนี้น้อยลง และตกในปริมาณน้อย ทำให้สภาพของต้ แต่นมะพร้าวไม่สมบรูณ์พอที่ต่อสู้กับศัตรูที่มาเข้าทำลายได้ สำหรับการระบาดจริง ๆ คงยังไม่ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุในแน่ ตามสไตล์นักวิชาการถ้าไม่มีหลักฐาน-ข้อมุลยืนยันก็ยากที่จะสรุป แต่การแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญอยู่คงรอไม่ได้ ก่อนหน้านี้พวกเราเดยได้รับรู้เรื่องราวการระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง ทำให้ผลผลิตตกต่ำมาก ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงงาน ทำให้หลายๆภาคส่วนร่วมมือกันแก้ปัญหา การสนับสนุนอย่างจริงจังของโรงงานมันสำปะหลังในเขตโคราชเป็นตัวอย่างที่ดีในการเข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาเพราะเอกชนเหล่านั้นไม่ได้แสดงหาผลกำไรอย่างเดี่ยวแต่ให้การดูแลเกษตรกรผู้ปลุกมันสำปะหลังด้วย เข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข้อมุล การจัดงานวันเกษตรกร การจัดทำแปลงดัวอย่าง-ต้นแบบการแก้ปัญหา การเพาะเลี่ยงแตนเบียนเพื่อมาควบคุม การปล่อยในแปลง ปัจจุบันก็ยังดูแลกันอยู่ แต่การรวมตัวจะมีพลังมากขึ้น
กุยบุรีเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ แต่มีพื้นที่ปลูกติดต่อกันเป็นผืนใหญ่ แหล่งใหญ่อยู่ชายทะเลในตำบลกุยเหนือ และบริเวณคลองกุยบุรีซึ่งบริเวณคลองนี้จะเป้นมะพร้าวอายุมากกว่า 60 ปี ระบุไม่ได้ว่าอายุเท่าไรแน่ สภาพพื้นที่อดีตน่าจะอุดมสมบูรณ์มากเพราะเป็นที่รับธาตุอาหารจากพื้นที่ที่ที่สุงกว่า และมาพร้อมกับน้ำไหลบ่าที่มีเสมอๆในอดีต แตปัจจุบันแล้ง เมฆเต็มฟ้าแต่ไม่ตก หรือตกก็ผ้าไม่เปียก เป็นอย่างนี้มาหลายเดือน 2-3 ปีแล้ว ต้นมะพร้าวที่เห็นจึงดูไม่สมบรูณ์
หนอนหัวดำที่นี่ เกษตรอำเภอกุยบุรีน่าจะเป้นหน่วยงานสำตัญในการเผยแพร่ความรู้ การจัดการควบคุมแมลงศัตรูมะพร้าว  การเพาะเลี้ยงแตนเบียน วันนี้เข้าพื้นที่ก็มีหลายหน่วยงานเข้ามาช่วยดำเนินการเพิ่มขึ้นอีก การตัดทางใบเผาขยายวงกว้างขึ้น ถึงแม้ว่าจะช้าไปบ้างหรือไม่ถั่วถึง
เกษตรกรปลูกมะพร้าวมักไม่ดุแลอะไรมาก ไม่มีการใส่ปุ๋ย ให้น้ำเกษตรกรยังไม่รูจักศัตรูมะพร้าวจึงเป้นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การระบาดของศํตรูมะพร้าวยังคงอยู่ และการเข้าพื้นที่ทำให้ทราบข้อท็จจริงที่น่าจะมาช่วยวิเคราะห์หาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมได้

วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

การเผาไร่

ปลายเดือนที่แล้วเดินทางไปเก็บข้อมูลเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง ต้องแปลกใจมากที่ในศูนย์ฯของหน่วยงานจุดไฟเผาแปลงมันสำปะหลัง ควันไฟพุ่งดำน่ากลัวมาก คล้ายกับการเผายาง เดินสำรวจดูปรากกว่ามีคนงานดูอยู่ ไตร่ถามก็ได้ความว่า จุดไฟเพื่อจะได้เก็บเกี่ยวง่ายเพราะหญ้ารก ...


ต้นมันสำปะหลังทั้งที่สามารถใช้เป็นท่อนพันธุ์ได้ก็ถูกไฟลวก แปลงข้างเคียงก็โดนเปลวไฟเผา

มีคำถามมากมายที่คนของราชการควรตอบให้ได้และยื่งเป็นหน่วยงานที่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีทางการเกษตร กลับมาเผาไร่เสียเองน่าจะไม่ถูกต้อง และหากถามว่ามีวิธีการแก้ปัญหานั้น ๆ ไหม คำตอบก็น่าจะมีมากมายแต่เหตุใดจึงเลือก และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกลับอนุญาตให้คนงานทำเช่นนั้นอีก มันสำปะหลัง หรือซากพืชใด ๆ ก็ตามเป็นที่สะสมอาหารมีธาตุอาหารพืชอยู่จำนวนมาก แต่ละฤดูปลูกเราจะเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปจากแปลงหากไม่เติมอะไรไปในดินบ้างก็จะทำให้ปลุกพืชรุ่นหลัง ๆ ผลผลิตลดลง แต่เกษตรกรบางท้องที่รู้จักที่จะบำรุงดิน นำปู๋ยคอกมาใส่นำขี้เถาจากโรงงานมาใส่ และไถกลบเศาซากมันสำปะหลังลงดินตากไว้ พอฝนลงก็ไถเตรียมปลูกได้แล้ว นอกจากจะสามารถรักษาระดับผลผลิตแล้วยังประหยัดเงินต่าปุ๋ยเคมีลงได้ จนบางรายไม่ต้องให้ปุ๋ยเคมีเลย

กลับมาก็ถามเพื่อน ๆ ที่อยู่ศูนย์เกี่ยวกับเรื่องการเผาไร่ ก็มีความเห็นว่าไม่ควรเผา ตัวอย่างหน่วยงานเขาจะเก็บเกี่ยวอ้อย คนรับจ้างตัดรายหนึ่งจะเผาก่อน - ก็ไม่เอา และก็สามารถหารายอื่นที่ไม่ต้องเผาไร่ก่อนเก็บเกี่ยวได้ ...ไม่เช่นนั้นจะเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรได้อย่างไร จะแนะนำเกษตรกรได้อย่างไรหากหน่วยงานของรัฐเผาเสียเอง

ข้าว-อ้อย-การเผาปัจจุบันกลายเป็นวัฒนธรรมไปแล้วหรือ เราต้องการหาคนเก่งมาช่วยหน่อย จะมีเครื่องมือช่วยย่อยก่อนไถกลบ หรือเครื่องก็บเกี่ยวคุณภาพดีราคาประหยัด หรือส่งเสริมให้คนมารับจ้างตัดด้วยการไม่เผา และต้องมีรางวัลเช่นการไรคาที่ดีกว่าผลผลิตที่ผ่านการเผา เป็นต้น ระบบตลาดน่าจะช่วยได้มากหากโรงงานร่วมด้วยในการกำหนดราคาและให้ราคมที่เป็นความแตกต่างในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม

กลับบ้านพอดีวันหนึ่งเจอชาวบ้านชอบเผาขยะวันนั้นก็เผาอีก แต่คราวนี้รามจนควบคุมไม่ได้ ต้องพึ่งบริการรถดับเพลิง ชาวบ้านคนอื่นเขาก็เดือนร้อน ขยะตามบ้านเรือนก็มีรถเก็บขยะให้ หากมีที่มากพอก็ควรทำเป็นปุ๋ยหมักก็จะดี จึงอยากขอให้งดการเผาทุกชนิดทั้งในไร่นา และบ้านเรือน

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

ร้อนเดือนมีนาคม

ร้อนมากยังกับเมษา ไม่ได้กลับบ้านหลายอาทิตย์ต้นไม่ตายอีกแล้ว ปีนี้ดาหลาตายหมด ทุกปีก็สามารถฝ่าช่วงฤดูร้อนได้ ปีนี้ยังไม่ทันเข้าฤดูร้อนก็ไปเสียแล้ว มะม่วงปีนี้ติดผลดี ดก ทั้งที่บ้านและจากที่สังเกตุดูเวลาเดินทาง ปีนี้น่าจะได้กินมะม่วงดี อร่อย
นกพิราบปีสองปีนี้มารบกวนที่บ้านจังเลยถ่ายมูลสกปรกมาก ขนาดนำตระแกรงปิดระหว่างหลังคากับกันสาด อุด แล้วก็ยังไม่รอดพ้น เขายังมาอาศัยอยู่ นกพิราบทำให้ผลผลิตเสียหายมากโดยเฉพาะโดยเฉพาะลานตากข้าว ถ้าเป็นแล้วว่าเขารุมกินอย่างไง น่าเสียดาย แยกไฟแดงนครสวรรค์ จะมีฝูงนกคอยจ้องรถบรรุทุกข้าว ถ้ารถคันไหนแวะเวียนมาก็จะถูกลุมกินเห็นด้วยตาแล้วจะตกใจ น้ำหนักข้าวคงหากไปหลายกิโล แถมเขายังเป็นที่น่ารังเกียจนำโรคมาสู่คนได้อีก

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

มหกรรรมพืชสวนเฉลิมพระเกียรติ์ 2011

อีกครั้งที่เชียงใหม่ได้โอกาสจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก บนพื้นที่เดิมจากการจัดครั้งก่อน แต่มีบางส่วนเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ต้นไม้ที่ปลูกลงดินครั้งนี้จะสวยกว่าครั้งก่อนเพราะมีเวลาปรับตัวและเจริญเติบโตในบ้านใหม่ที่ใหม่ โครงสร้างเดิมถูกนำมาใช้เกือบทั้งหมด มีประเทศใหม่ๆ องค์กรในประเทศใหม่ ๆ เข้ามาร่วมจัดงาน สำหรับคนทำยางที่ประทับใจก็น่าจะเป็นสวนยางซึ่งจัดได้กว้างใหญ่ ครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่การปลูก การกรีด และการทำเป็นผลิตภัณฑ์ เหมาะสำหรับคนที่กำลังคิดจะทำยาง ปลูกยางอยู่ และยังอยากหาความรู้เพิ่มเติม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมหรือได้ฝึกของจริงด้วย หน่วยงานยางโดยเฉพาะของสถาบันวิจัยยางมากันเต็มที่มาพูดคุยกับคนยางจริง ๆ ได้เลย สามารถมาหลบแดดในส่วนแสดงของยางได้ เด็กๆก็ชอบที่จะไปทำงานฝีมือ

เด็กๆ กำลังหัดทำงานฝีมือจากใบยางพารา




เลยหาเวลาไปดูสวนยางที่เวียงแหงเป็นยางเริ่มเปิดกรีดแล้ว เจ้าของสวนทำระบบให้น้ำไว้ด้วย สวนนี้ยางยังไม่ได้ขนาดตามมาตราฐานของสถาบันวิจัยยางที่จะเปิดกรีดได้ต้องมีเส้นรอบวงเกิน 50 ซม.ที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 150 เมตร และเป็นที่สังเกตว่าต้นยางในแปลงจะโน้มลง อาจจะด้วยเหตุผลที่มีลมแรงหรือเหตุอื่นใดก็ตาม ยางพาราดูจะเป็นความหวังไหม่ของเกษตรกรทางภาคเหนือไปแล้ว ข้อเสียของการกรีดยางไม่ได้ขนาด คือ มีดกรีดจะกินเปลือก เนื่องจากยางเล็กเปลือกบาง โอกาสที่จะกรีดลึกถึงเนื้อไม้จึงมีมาก ทำให้เปลือกที่ผ่านการกรีดแล้วเจริญเติบโตมาทดแทนมีผิวเปลือกไม่เรียบหรือหายไปเป็นช่วง ๆ กรีดยาก และสิ้นเปลืองเปลือกเร็ว

มีบูทหนึ่งที่น่าสนใจและคณะผู้แสดงตั้งใจมาก คือ ของทรัพยากรน้ำบาดาล เจ้าหน้าที่ยินดีให้คำอธิบายทุกขั้นตอนที่แสดงเกี่ยวกับการพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้งาน ถ้ามีเวลาลองเยี่ยมเยียนกัน