วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มันสำปะหลังกำแพงเพชร

มันกำแพงเพชรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้ามปีกัน โดยปลูกพค. และเก็บเกี่ยวประมาณพยถึงธคปีถัดไป ปกติเกษตรกรจะได้ผลผลิตเพิ่มจากการไว้ข้ามปี 3-4 ตัน แต่ปีนี้บางรายที่ได้รับผลกระทบจากเพลี้ยแป้งปีที่ผ่านมาแล้วไม่เก็บมาเก็บปีนี้ ปรากฏว่าผลผลิตลดลงจากที่เคยหลายตัน ได้ราว 3 ตัน ก็มี แต่บางรายที่ไม่มีปัญหาก็ได้ผลผลิตดี 8 ตัน เกษตรกรพยายามไม่ให้มีนเกิน 18เดือน เพราะแป้งจะลดลง และเป็นเส้นแข็ง ลามมันหลายแห่งก็ปลูกมันเอง นิยมทำมันเส้นใหญ่เพราะขายง่ายกว่านำไปขายกับบ.อาหารสัตว์ การรับซื้อที่ลานมันไม่มีการวัดแป้ง ต่างจากโรงแป้งที่วัด และไม่ชอบมันระยอง 72 เพราะว่าแป้งต่ำจรึงหรือไม่ก็ทำให้เกษตรกรไม่อยากปลูก ตลาดเป็นคนกำหนดพันธุ์ ลานหลายแห่งนำพันุ์ใหม่ ๆมากระจายให้เกษตรกร
เจอเกษตรกรชื่อครรชิดปลูกพยที่แล้วให้น้ำตอนปลุกและ4 เดือน เจอเพลี้ยแป้งทั้งๆที่แปลงอื่นข้างๆไม่เจอ และไม่ได้ดูแลเพราะไปอยู่วัดโบถ ปีที่แล้วแปลงนี้ได้ 5 ตัน ที่ 4 ไร่
ออกมาจากแปลงเลยไปหน่อยเป็นแปลงมันปีนี้พันธุ์ระยอง5 ดูแรก ๆ ไม่น่าจะมีอะไรแต่เจอเพลี้ยแทบทุกต้น ตรวจสอบ 50 ต้น เจอเกือบทุกตั้น แต่ไม่ค่อยพบตัวสีชมพู
เกษตรกรที่ขาณุ สายวสันต์ มณฑาทิพย์ CMR35-22-196 และแสงเทียน ปัทมาลัย ระยอง 9 เป็นแปลงที่แยกจากส่วนใหญ่ ปีก่อนระยอง 9 ได้ 4 ตัน ระยอง 7 ไร่
การหาคำตอบเกี่ยวกับวันปลูกคงพิจารณาจากผลผลิตอย่างเดียวไม่ได้ ช่วงนี้สำรวจข้อมูลอยู่กำแพงเพชรได้ข้อสรุปเกี่ยวกับวันปลูกที่นี้ขึ้นอยู่กับฝน ที่นี่แปลกมากนิยมไว้มันมากกว่าปี มักเก็บที่ 18 เดือน ได้ผลผลิต 10 ตัน พันธุ์มหัศจรรย์ที่นี่คือ น้องแบม ได้ผลผลิต 10 ตัน แน่นอน ต้นไม่สวยแต่หัวดีเกษตรกรชอบ ผิดกับระยอง 9 ที่ต้นใหญ่ไม่กี่ต้นก็แบกกันหนัก ซึ่งก็เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร
ลุงอุบล พาไปดูแปลงนายบุญเชิด ปลูก 196 แปลงนี้จากที่ไม่ได้ผลผลิตเท่าไร มาเป็นแปลงที่ดีได้โดยการปรับปรุงดินใช้ขี้เถ้า กากน้ำตาล และน้ำมามิ
พบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพันธุ์ 166 หรือที่เกษตรกรเรียกกันว่าน้องแบม ต้นไม่สวยแต่ผลผลิตดี มันที่นี่ต้นใหญ่มาก แต่ผลผลิตน้อยกว่าที่ศักยภาพของพันธุ์ไปถึง และยังปลูกยาวนานถึง 18 เดือน ด้วย เป็นวิธีการที่เกษตรกรปรับตัวเพื่อให่มีท่อนพันธุ์ไว้ปลูกในปีต่อไป เกษตรกรที่นี้เห็นความสำคัญของอินทรีย์วัตถุมาก

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ตามไปดูเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังกับคณะของ CIAT

เริ่มต้นที่พืชไร่ระยองมีพี่ๆจากอารักขา-พี่อัมพร จากพืชไร่-พี่แดง รังสี วิสุทธิ์ ส่วนเรารอสมทบอยู่ที่ระยอง พี่อัจฉรา พี่สมลักษณ์บรรยายด้วยภาพของเหตุการณ์ที่พบเพลี้ยแป้งในแปลงสาธิตพันธุ์ของศูนย์ภาพเดือนมกราคม 51 ในพันธู์ระยอง 90 กุมภาพันธ์ อายุ 4 เดือน ยอดมันสำปะหลังถูกทำลายเห้นได้ชัดจากยอดที่หงิก แระยอง 9ปลงต่ไป แปลงทดสอบพันธุ์ระยอง 5 มีนาคม 2008 มีเพลี้ยแป้งขาวเต่มยอด - เพลี้ยแป้งสีเขียวมาใหม่ อีกแปลงระยอง 9 มีนาคม 2009 เพลี้ยแป้งสีชมพูการสำรวจการระบาดในแปลงเกษตรกรปีนี้จะประสบปัญหาในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ช่วงเวลาแต่ละปีแตกต่างกัน เรามาช่วงนี้ ปีมันฟื้นตัวสังเกตุจากภายนอกยาก นี้มีฝนเดือนพฤศจิกายนด้วย
ความแตกต่างมีแต่ทางวิทยาศาสตร์ไม่มีความแตกต่างเปิดใจให้กว้าง แลกเปลี่ยนกับผู้อื่นจะเรียนรู้และพัฒนาตนเองและความรู้ได้
ได้รู้จักอาการของโรคที่เราไม่ค่อยได้สังเกต เช่น อาการเหลืองเนื่องจากใส้เดือนฝอย และรากเน่า โรคใบไหม้เนื่องจากแบคทีเรีย และทำให้ใบเหลืองแตกยอดเป้นพุ่ม

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อินเดียต่อ

เลิกอบรมแต่ละวันก็ 5 โมงแล้ว ไปเดินดูแปลงเห็นคร้้งแรกคิดว่าเป็นหญ้าตีนกา เดินถึงป้ายบอกเป็นแปลงรวบรวมพันธุกรรมมิลเล็ต ถ่ายรูปมาด้วยสวย ๆ ก็มี กินน้ำจากท่อปะปาเลย ต้องทำใจเวลากิน ทำให้กินน้ำได้น้อยในช่วงนี้ การขับถ่ายดูไม่ค่อยปกติ

เย็นวันพฤหัสมีงานเลี้ยงต้อนรับที่ริมสระน้ำ มีจากกลุ่มอื่นมาร่วมด้วย (เขาคงจัดครั้งเดียวสำหรับทุกกลุ่ม) ชินเทียให้การบ้านอีกแล้ว ทานอาหารโต๊ะเดียวกับเวียดนาม ชินเทียมาพร้อมนาวีน ก็คุยเรื่องงานด้วยว่าแต่ละประเทศจะเตรียมตัวรับกับ CC อย่างไร แล้วแต่ละประเทศมีทิศทางในการพัฒนาเพื่อรับมือกับสิ่งนี้อย่างไร ให้เวียดนามส่งเอกสารทางราชการที่ระบุเกี่ยวกับ scenario ที่จะใช้ในการกำหนดทิศทางการศึกษา ดูเขาคาดหวังกับสิ่งที่ให้มาอบรมมากและถามว่าได้อะไรบ้างแล้วจะนำไปใช้อย่างไร เนื่องจากประเทศอื่น ๆ ที่ร่วมโครงการด้วยไม่ได้มา เวียดนามขอ copy เอกสารและโปรแกรมของเราไปด้วย หากเทียบกันแล้วประเทศไทยดูด้วยไปในเรื่องข้อมูลเชิงนโยบาย การเก็บข้อมูลเสร็จแล้ว และดูเหมือนว่าจะมีครั้งหน้า 2 คนจากแต่ละทีมจะได้ไปอบรม และ 1 คือด้านสังคม ที่บังคลาเทศ
เขาถามเน้นว่าใครคือคนทำข้อมูล รู้สึกผิดที่เราเป็นคนรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์ด้วย รัชดา และเบญจมาศน่าจะเป็นคนทำมากกว่า นาวีนเองก็เข้าใจเช่นนั้น นาวีนเข้าใจผิดว่าเราทำงานกับพี่ประพันธ์ในการรวบรวมข้อมูลมือสอง



วันนี้อบรมวันสุดท้ายเป็นวันขอบคุณ ผู้จัดถามว่าที่พักเป็นอย่างไรบ้างอีกแล้ว เมื่อวาน เพื่อนเวียดนามเพิ่งมาให้ข้อมูลว่าเราน่าจะได้ที่พักที่ดีกว่านี้ แต่เราก็ OK ช่วงนี้ไม่ร้อนการอยู่แบบสมถะนี้ก็ดี คนที่มาศึกษาวิจัยที่นี่ก็พักตึกนี้หลายคน และยังทำให้ได้เพื่อใหม่อีกด้วย ตอนเช้าเอาขนมที่หิ้วไปจากเมืองไทยไปให้พูริมา ก็จะกลับแล้วเลยให้เขาได้รู้จักขนมของบ้านเราบ้าง ไปเขาก็ไม่ยอมเสียเปรียบ คือไม่อยากเป็นผู้รับฝ่ายเดียวเลยให้ขนมปังมา 1 ห่อ และให้เราเขียน email ไว้ให้ ขอบคุณสำหรับความใจดีของคนอินเดีย
วันแรกนับว่าเป็นโอกาสดีที่ได้ออกไปดูบ้านเมืองเขาบ้าง แต่ถ้ามีข้อมูลดีกว่านี้คงได้มีโอกาสไปเที่ยวเมือง hyderabad ด้วย วันสุดท้ายก่อนเดินทางกลับจึงขอออกไปถ่ายรูปที่ถนน เลยรอถ่ายรูปรถออโต้ และรถเมล์ที่เคยขึ้นไปตลาดในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เสร็จแล้วก็กลับมาทีหอพักเตรียมเพ็คของกลับบ้าน แต่มีการเข้าใจผิดกันเล็กน้อยเรื่องเวลาออกไปสนามบิน มีโทรศัพท์จากพนักงานต้อนรับมาตามว่ารถพร้อมแล้วเอาตอน 18.30 น แต่เราก็ยังไม่อยากไป เพราะยังไม่ได้กินข้าว เก็บของยังไม่เรียบร้อย ก็รอไปพร้อมคนเวียดนามสองทุ่มตามกำหนดเดิมที่ตั้งใจไว้ เดินทางไปสนามบินด้วยรถที่เขาจัดให้ วันนี้เป็นรถตู้โคตรเก่าเลยไม่มีแอร์คือใช้งานไม่ได้มากกว่า ถ้าเป็นรถคันก่อนหน้าจะเป็นรถใหม่ 4 ที่นั่งสบาย ๆ วันนี้เดินทางมาด้วยเส้นทางใหม่แต่ก็วนไปทางเดิมเช่นกัน สัปดาห์ที่จะถึงนี้เป็นช่วงของการเฉลิมฉลองของชาวอินเดีย วันนี้ก็เลยเห็นการเฉลิมฉลองเล็ก ๆ มีการประดับแสงไฟและมีชุดคล้ายกระถาง ถาดเทียนขายคล้าย ๆ ช่วงยี่เป้งบ้านเรา ถึงสนามบินประมาณ 3 ทุ่มตามเวลาท้องถิ่น เสียดายเรื่องการแลกเงิน หากมีใครมาอีกต้องแนะนำดี ๆ มิฉะนั้นเงินจะหายไปกับตาเหมือนเรา จะได้ไม่ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนมากเท่าครั้งนี้ แล้วก็เดินค่าเวลาหาของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆที่สนามบินแต่ซื้อเป็นเงินไทยไม่ได้ของกี่ชิ้น กลับไปหลายชายคงบ่นแน่ว่าไม่มีอะไรมาฝากเลย

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เดินทางไปอินเดีย

11 ตุลาคม 2552 มาถึงสนามบินราชิพคานทีเมือง hyderabad ประมาณ 5 ทุ่ม สนามบินขนาดใหญ่มาก ผ่านกระบวนการเข้าเมือง ออกมามองหาคนมารับ กว่าจะถึงที่หมายก็หลังเที่ยงคืน หลังจากเช็คอินเข้าห้องพักก็นอนเลยเพราะง่วงมากแล้ว แต่ก็ไม่หลับเพราะยุงบินรบกวน เลยต้องมาเปิดพัดลมนอน เขารับรองด้วยห้องพักแบบพักคนเดียวไม่มีแอร์ แต่ใช้ห้องน้ำร่วมในกลุ่ม คือ อีก 1 ห้อง มีน้ำอุ่นให้ ผ้าเช้ดตัว สบู่ ทีวี มีสายต่ออินเตอร์เน็ตแต่ก้เข้าใช้ไม่ได้ ต้องรอช่างเทคนิคพรุ่งนี้ ก็คงไม่ได้เจออยู่ดีเพราะเวลาทำงานก็อบรมอยู่ วันนี้ก็ใช้ที่ housing office ไปก่อน ส่งเมล์ไปหาคุณแอเพราะเป็นเมล์มาทักทายอันแรก ช่วงเช้าถามหาโรงอาหารกับพนักงานต้อนรับ รู้ทิศแล้วแต่ก็หาไม่เจอ ไม่เฉลียวเลยว่าเป็นห้อง 204 คืออยู่ชั้น 2 ตั้งเดินผ่านไปรอบหนึ่ง โชคดีที่แรกเงินรูปีมา 50 ยูโร รู้สึกว่ามากไปตอนแลกเงินไม่ได้คิด แถมแลกได้แค่ 3,110 รูปี ทั้งๆ ที่อัตราแลกเปลี่ยนเขียนไว้ว่า 64 ก็ได้ใช้เป็นค่าอาหาร อาหารก็ไม่แพงราคาคล้ายบ้านเราแต่หน้าตาอาหารแตกต่าง กินได้บ้างไม่ได้บ้าง อาหารมีส่วนที่เป็นมังสวิรัสกินได้ เน้นของไม่ปรุงมากเป็นหลักทุกมื้อจะมีแผ่น คล้ายโรตีให้เลือกกิน เช้ากินขนมปัง 2 ชิ้น น้ำส้ม กล้วยหอม 24 รูปี หลังอาหารเช้าว่างไม่รู้จะทำอะไรก็เดินเที่ยวในบริเวณที่ทำการ วันอาทิตย์ปิด จะทำงานในส่วนที่จำเป็น งานวิจัยที่เห็นก็เน้นถั่วหลากชนิด green house จำนวนมากใช้งานและใช้งานอยู่จริง ๆ เขาแบ่งเป็นห้องย่อย ๆสำหรับงานวิจัยมีอุปกรณ์ช่วยในการควบคุมสภาพแวดล้อม

ที่นี่หากเดาจากสภาพแวดล้อม คงสร้างมานานมาก แปลงปลุกพืชไม่ได้ออกไปดูเพราะมีประตูกั้น แต่มีพืชปลูกมาก ศึกษาจากข้อมูลแผนที่ที่อยุในห้องพื้นที่ทดลองก็สภาพแวดล้อมแตกต่างกันเช่น ดินสีแดง ดินสีดำ คนงานหญิงที่นี้แต่งกายด้วยชุดประจำชาติทั้งที่ทำงานในหอพักและในแปลง ไม่กวาดทางมะพร้าวใช้กวาดพื้น
ก่อนอาหารกลางวันออกมานั่งห้องนั่งเล่นพบเพื่อนข้างห้องชื่อ พูริมา เป็นคนอินเดียมาจากรัฐอื่น จำไม่ได้ว่าชื่ออะไรจำยากมาก มาทำงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่นี่กับถั่วมะแฮะ แต่เขาใช้ภาษา คือ ทาลุกู เลยถามเขาว่าขอบคุณพูดอย่างไร “ไท้เนียนวาดาลู” คุยกันด้วยภาษาที่ยากหน่อยเพราะเราออกเสียงไม่ถูกทำให้เขาไม่เข้าใจ แต่เขาพยายามคุยกับเรา ทั้ง ๆที่เขามีงานต้องทำเยอะแยะ ผิดกับเราที่ไม่มีอะไรจะทำ บังเอิญกลางวันได้ทานข้าวด้วยกัน ก็เลยได้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร วิธีการกิน เช่น แผ่นโรตีต้องกินกับแกง หรือโยเกิรต์ มื้อนี้จ่ายไป 26 รูปี กลางวัน และเย็นจึงจะมีข้าวให้กิน ความใจดีของพูริมา ทำให้เราได้มีโอกาสไปเที่ยวตลาดเมืองจันดานากะ มีสถานีรถไฟด้วย พูริมาเวลากลับบ้านก้ใช้บริการที่นี่ ผู้คนคับคั่ง รถบีบแตรเสียงดังตลอดเวลา ไม่คุ้นเคย และได้เผชิญกับขอทานอินเดียครั้งแรก โอ้ยตามติดเลย พูริมาต้องไล่ไป รถมาก เป็นรถเก่า ๆ ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะรถเมล์ ไม่มีระเบียบ ผู้คนมากมาย สกปรกขนาดเจ้าของบ้านอย่างพูริมาออกปาก เพราะที่บ้านของเธอสะอาดเป็นระเบียบ ออโตได้ทดลองนั่งแล้ว 8 รูปี ถูกมากเมื่อเทียบกับบ้านเรา ขากลับกลับรถเมล์ 4 รูปี พูริมาไม่ยอมให้เราออกค่ารถทั้งหมด เธอขอออกในส่วนขากลับ เราไม่ได้ซื้ออะไรเลย แต่ไปสดุดตาชา TATA บ้านเราจะรู้จักในเรื่องรถ นอกจากผลิตรถแล้วยังทำชาอีก ราคาซองเล็ก ๆ 29 รูปี ส่วนเธอได้ปากกาและกาแฟ 3 ซอง กลับถึง icrisat แล้วเธอยังบอกให้ล้างมือกลั้วปากด้วยน้ำร้อน เพื่อป้องกันหวัดหมูที่อินเดียใช้คำว่า swine flu เลยนะไม่เหมือนบ้านเรากลัวไม่มีใครกินหมู เสร็จแล้วก็ไปกินข้าวเย็น ไปเร็วไปหน่อยไม่ค่อยมีอะไรน่ากินเลย
วันเริ่มอบรม เจ้าหน้าที่เขามาทำงานกันสายเหมือนกัน การลงทะเบียนเริ่มต้นที่ 8 โมงเช้า ได้เจอ Naveen และ Rao คนเดิมมาร่วมการอบรมด้วย และแนะนำให้รู้จักกับผู้ร่วมงานของเขาชื่อสกุลเหมือนกัน anather Rao เขาเป็นมิตรดีทักทายและชวนเที่ยวแต่พอรู้ว่าเรากลับวันศุกร์ก็บอกว่าเสียดายโอกาสที่จะทำความรู้จักอินเดีย ซินเทียเป็นคนเปิดการอบรมและแนะนำเรากับวิทยากรเกี่ยวกับเหตุผลในการเชิญมาเข้าร่วมอบรม ดูเขาจะคาดหวังกับเรามากเกินไปในการอบรม และผู้สอนอาจพาไปไม่ถึงก็ได้ ครั้งนี้ได้รับแจกซอฟ์ทแวร์อีกแล้ว เริ่มจาก install DSSAT install R ตามด้วย install package form zip file select file from c:\DSSAT45\tool\glue\install\*.zip ทั้ง 2 ไฟล์การรู้จักสรีรวิทยาของพืชเป็นประโยชน์เช่นเคย ระดับของการจำลอง 3 ระดับแตกต่างกันในเรื่องความต้องการข้อมูลด้วย จำเป็นต้องเข้าใจหลักการนี้ก่อน แบบฝึกหัดแรก sensitivity analysis เริ่มด้วยการใช้ dos แล้วจึงมาแนะนำ tool ที่ทำให้การวิเคราะห์ sensitivity analysis ง่ายขึ้น เป็บ GUI แท้จริง ง่ายกว่าเดิมมากทานข้าวกลางวันที่เป็นไก่ 57 รุปี อาหารที่ไม่ใช่มังสวิรัสแพงมาก แต่จ่ายเงินที่นี่ขาดทุนทุกวันเลย ไม่มีเงินทอนก็ไม่ทอนเอาเลย ขาดทุนมื้อละ 4-6 รูปีทุกมื้อ ดีที่เขาช่วยค่าอาหาร ช่วงบ่ายแนะนำ Weatherman โปรแกรมช่วยเตรียมข้อมูลภูมิอากาศ แยกเป็นไฟล์ตามปีให้ด้วยเลยพร้อมตั้งชื่อตามระบบของ


แปลกที่คนอินเดียไม่ใช้โรงอาหารที่ dining hall ถาม Anupama เธอบอกว่ามี canteen อีกแห่งหนึ่ง หลังอาหารแจ้งผู้จัดการอบรมเรื่องการคืนเงินค่าเครื่องบิน …ให้คนอื่นไปแล้ว Naveen เพิ่งมาถามหา เธอก็ยังเป็น Boss เช่นเคย มากำชับ Anupama เกี่ยวกับการอบรมว่าอย่าลืมเปลี่ยนหน่วยข้อมูลภูมิอากาศด้วยภาษาอังกฤษที่แสนแย่แต่ก็มีคนพยายามคุยกับเราและฟังเราคุยเพราะต้องถามซ้ำบ่อย ๆ แต่ดีที่เขาบอกเลยเวลาไม่เข้าใจที่เราพูด เป็นภาษาอังกฤษที่แย่มาก มื้อเย็นได้ทานข้าวโต๊ะเดียวกับ Rao อีกคน เขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของทีม 3 Rao ก็เลยถามถึงสมาชิกในทีมว่ามีกี่คน ปรากกว่ามี 3 คน นั้นหมายถึงว่าเราได้เจอครบทั้ง 3 คนแล้ว ทีมนี้รับผิดชอบงานต่างจากทีมของ ICRIST โดยเขารับผิดชอบในการพัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลภูมิอากาศ และ พัฒนา model ส่วนทีม ICRIST รับผิดชอบเรื่องงานเชิงสังคมทั้งหมด เขาเน้นว่านักอุตุนิยมวิทยาเกษตรทำงานควบคู่ไปกับนักวิชาการเกษตร บ้านเราไม่ได้ทำงานใกล้ชิดแบบเดียวกับเขา เนื่องจากเราอยู่กันต่างกรมและหาโอกาสในการทำงานร่วมกันยาก ส่วนนี้เราต้องปรับปรุง คนอินเดียก็ใจดีนะ เขาเล่าให้ฟังว่าเพื่อนเขาไปเมืองไทยไม่สามารถซื่ออะไรได้เพราะว่าคนไทยพูดภาอังกฤษไม่ได้ เสียดายขาดรายได้เข้าประเทศเลย
13 ตุลาคม มาทานข้าวเช้าเจอเพื่อนชาวเวียดนาม Tei เพิ่งเจอกันที่กรุงเทพ งวดนี้เขามาอบรมเรื่องข้าวฟ่าง กลับ 18 มากับเพื่อนชาวเวียดนาม 3 คน ที่นี่มาการอบรมมาก บ่อย มีหอพักอำนวยความสะดวก คนอินเดียก็เลือกที่จะพักที่หอแทนการกลับบ้านสะดวกกว่ามากเช้านี้ลงโปรแกรมเพิ่ม dotnet เนื่องจากโปรแกรม gencal, GULE ต้องใช้จึงจะรันได้ วันที่เรียนเรื่องสรีรวิทยาเป็นหลัก และการพัฒนาโมเดล และอธิบายความเป็นมาของโมดูลย่อย ๆ ที่ใช้ในโมเดล ทั้งหมดต้องใช้ผลการศึกษาทดลองสนับสนุนจำนวนมากเพื่อให้เหตุผลว่า crop model อธิบาย phonology ของพืชได้อย่างไร สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ life cycle และ growth stage-ของพืชที่เราสนใจ การตอบสนองต่อแสงเป็นอย่างไร วันนี้เรื่องหลักก็คงเป็นการทำความเข้าใจโมเดล และการปรับแต่งค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของพืช แนะนำเครื่องมือในการคำนวนค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรม คือ gencal และ GULE กลับไปต้องลองกับถั่วเหลืองแล้วรู้สึกว่ามีโอกาสสำเร็จมากขึ้น ต้องทวงข้อมูลจากทีมงานด่วน ได้รับเงินคืนแล้วเป็นเงินดอลลาร์ มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยอื่นมา ดูเขางกๆเงิ่นๆในการหาหลักฐานที่เขาต้องใช้บางอย่าง เช่น วีซ่า พาสปอร์ท เราไม่มีวีซ่าให้เขา เห็นคนอินเดียคนนี้แล้วรู้สึกถึงความอดอยากของประเทศนี้ เขาผอมบางมาก แต่แต่งตัวดีเนื่องจากมีงานที่ดีทำ ทำให้นึกถึงสภาพที่ไปเห็นผู้คนในตลาด ต่างจากผุ้คนที่ทำงานในที่นี้ หรือคนอินเดียที่มาอบรมก็ตาม ที่กล่าวถึงนี้ไม่ได้ยืนยันว่าอินเดียเป็นอย่างนี้ไปหมด พูริมาก็แสดงให้เห็นว่าแตกต่าง เสียดายที่ไม่ได้ทำความรู้จักอินเดียมากกว่านี้

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

โคราชเพลี้ยแป้งที่ยังไม่หมด

ไปเยี่ยมในศวพ. นครราชสีมาแปลงมันมีทั้งเพลี้ยแป้ง และแมลงหวี่ขาว บางแปลงเขาก็เป็นงานทดลองดูความทดทานของพันธุ์ แต่เป็นที่น่าสงสัยว่าการระบาดของเพลี้ยแป้ง คนอย่างพวกเราน่าจะมีส่วนในการแพร่กระจายพันธุ์อย่างยิ่ง เพราะเราลองมุดไปในแปลงมัน หรือเดินผ่านออกมาจะเห็นขาว ๆ ติดตามเสื้อผ้า จึงน่าจะมีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดจากการทำงานวิจัย เช่น อย่าข้ามเขตกัน ใครอยู่จังหวัดไหนก็สำรวจเฉพาะจังหวัดนั้น ๆ เขตที่มีการระบาดมาก ควรใช้คณะวิจัยคนละชุดกับที่มีการระบาดน้อย ต้นมีนแถวโคราชดูมีการทำลายที่รุนแรง เกษตรกรมช้สารเคมีพ่นกันมากพอควร "ใช้อะไรก็ไม่หาย มาหยุดเอาช่วงที่ฝนตกหนัก" เกษตรกรบอกกล่าวมา แต่พวกเราก็คิดว่ามีผลจากกาใช้สารเคมีมาก่อนทำไห้เพลี้ยอ่อนแอและตายง่ายเมื่อเจอฝนติดต่อกัน แต่อย่าวางใจต้นที่กำลังมีใบสวยงามเพลี่ยแป้งตัวเล็ก ๆ กำลังเติบโต รวมทั้งท่อนพันธุ์ที่เกษตรกรทิ่งไว้ในแปลงก็สะสมไปด้วยเพลี้ยแป้ง บางพื้นที่เกษตรกรปลูกข้าวโพดแทน ซึ่งสามารถช่วยตัดวงจรการระบาดได้แต่ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด แต่อยากให้มีความร่วมมือในการกำจัดให้สิ้นซากมากกว่าต่างคนต่างทำเช่นปัจจุบัน

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ขยายเครือข่ายเกษตรกรต้นแบบมันสำปะหลัง

ได้มีโอกาสร่วมงานเสวนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังเฉพาะพื้นที่ ผ่านเกษตรกรต้นแบบ: นายสม ทะนาสินธิ์ วันที่ 26 สิงหาคม 2552 ที่แปลงมันสำปะหลัง มีเกษตรกรมาร่วมงานประมาณ 100 คน มาจากเครือข่ายของลุงสมเอง และจากมหาสารคามอีกจำนวนหนึ่ง งานนี้เกษตรกรเป็นผู้จัดงานเอง ทั้งนัดเพื่อน ๆ ในเครือข่าย หาเต้นท์ เก้าอี้ ขุดหัวมันในแปลงบางส่วนไว้ก่อน และแจ้งข่าวแก่เกษตรกรที่อยุ่มหาสารคามซึ่งปีที่แล้วก็มาดูไปแล้วครั้งหนึ่ง เกษตรกรในเครือข่ายของลุงสมปีที่ผ่านมาก็นำเทคนิควิธีการของลุงสมไปใช้ บางรายก็ทำได้ดีผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ก็มีบางรายที่ทำได้ไม่ดีแต่ก็บอกกับผู้มาร่วมงานว่าปีนี้จะขอแก้ตัวใหม่


ปีนี้ได้ผลผลิต 15 ตัน/ไร่ เปอร์เซ็นต์แป้ง 28.7%

หน่วยงานราชการมาสนับสนุนให้สามารถจัดงานได้ราบรื่น นำอาหารมาเลี้ยง ส่วนนิทรรศการ และเชิญผู้ใหญ่มาเป็นสักขีพยานในการเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งนี้ ซึ่งปีนี่เป็นที่น่ายินดีเช่นกันที่เจ้าบ้านอย่างนายอำเภอมาร่วมงานด้วย



ปีนี้เน้นการปฏิบัติให้เห้นจริง มีการสาธิตเทคนิดการปลูก และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เนื่องจากว่าที่มหาสารคามปลุกมันแบบปักตรงไม่ได้ต้องเหยียบให้มิดดินไม่เช่นนั้นจะโดนปลวกกิน ลุงสมแนะวิธีการแก้ปัญหาปลวก และเทคนิคในการปักท่อนพันธุ์ เช่น ระยอง 7 ลงหัวรอบมักจะถอนยากอาจปักท่อนพันธุ์ให้เอียงเล็กน้อย

เกษตรกรที่มาร่วมงาน และรูปหมู่ของเกษตรกรจากมหาสารคาม ปีหน้าเจอกันใหม่




วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

weather station at Chengmai Field crop research center


9 กค 52 ติดตั้งค่าในการตรวจวัดที่ศูนย์สารสนเทศ และทดสอบการสื่อสารระยะไกลด้วย GSM modem เสร็จแล้วก็ให้ผู้ติดตั้งนำไปติดตั้งที่เชียงใหม่ นัดเลือกสถานที่กับ พี่ ๆ ที่ศวร.เชียงใหม่แล้ว ก็ได้ที่กลางนา จากบ้านพี่โตสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เป็นตำแหน่งที่ติดตั้งบนถนนที่มีหญ้าปกคลุม ก็คล้ายสนามหญ้า ปรากฏว่าสามารถติดตั้งได้เลยในวันที่ 12 กค. ช่วงสาย ๆ มีเวลาให้ตรวจสอบ และนัดพี่วันชัยมาตรวจความเรียบร้อยวันที่ 21 อุปกรณ์สนาม กุญแจอยู่ที่พี่โต ศวร.ชม. เอกสารการเชื่อมต่อ 1 แผ่น ส่วนที่เหลือเอากลับศูนย์กรุงเทพ ลอง test อีกครั้งวันที่ 31 ปรากฏว่า โทรแจ้งพี่โตช่วยเปลี่ยนให้ด้วย แต่พี่โตจะเปลี่ยนให้หรือยัง แต่ช่วงนี่ยังไม่ได้ปลูกข้อมูลความชื้นในแปลงยังไม่จำเป็น

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โนนสูง


ได้มีโอกาสไปเยี่ยมศวพ.โนนสูง บังเอิญตรงกับวันที่เขากำลังจัดงานเปิดศูนย์และ field day ได้เห็นก็รู้สึกแปลกใจ มีชื่อถนน"เกษตร" อยูในอำเภอ และก็เป็นเส้นทางเดี่ยวกับที่ผ่านหน้าศูนย์ แสดงว่าเดิมหน่วยงานที่อยู่ตรงนี้ต้องยิ่งใหญ่ไม่ธรรมดา พวกเราคนกรมที่ต่ำกว่า 40-45 อาจไม่ค่อยรู้เรื่องราว เดิมที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยพืชไร่โนนสูง ทำงานวิจัยเกี่ยวกับพืชไร่ เดิมก็ปอเป็นหลัก เพราะมีบ่อแช่ปออยู่ให้เห็นร่องรอย ปี 2478 เริ่มก่อตั้ง พิธีกรบอกว่าอาจารย์หลวงอิงค์ก็เคยมาทำงานอยู่ และบ้านพักของท่านก็ยังอยู่ ผิดกับบ้านพักหลาย ๆ หลังที่ผุพังเหลื่อแต่เสาปูน เพราะไม่มีการใช้งานมานาน เนื่องจากก่อนหน้าที่จะเลิกการใช้งานพื้นที่แห่งนี้มีน้ำท่วมติดต่อกัน 3 ปี กรมวิชาการเกษตรจึงย้ายหน่วยงานไปที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์ แต่การปรับโครงสร้างของกรมรอบใหม่จึงกลับมาขอใช้พื้นที่นี้อีก แต่คงเหลือพื้นที่น้อยลง เนื่องจากเป็นที่ตั้งของหน่วยงานอื่น ๆ ไปแล้ว ใช้เวลา 2 เดือนในการเข้ามาฟื้นฟู ก็ขอเป็นกำลังใจสำหรับรุนบุกเบิกยุคที่ 2

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

data logger

ปลายเดือนพฤษภาคมได้โหลดข้อมูลภูมิอากาศที่เชียงใหม่ ลุ้น ๆ อยู่ว่าแบตตารี่จะหมดหรือเปล่าเพราะว่าใช้ถ่านธรรมดาไม่ได้ใช้ถ่านอัลคาไลค์ ปรากฎว่ายังทำงานอยู่และสามารถโหลดข้อมูลได้ตามที่ตั้งไว้ แต่การติดตั้งมีปัญหากับข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ไม่ได้ตรวจสอบการติดตั้ง sensor น้ำฝน จึงวัดค่าไม่ถูกต้อง จึงติดตั้ง sensor น้ำฝนใหม่ ซึ่งต้องใช้ maintainance instrument ด้วย แล้วทดสอบแบบ realtime งานนี้ต้องรบกวนนายช่างใหญ่วินัย ให้บริการทางโทรศัพท์ คงเหลือแต่ปัญหาการเปลี่ยนถ่าย เพราะว่าน่าจะมีอายุได้อีกไม่นาน ถ่านอัลคาไลค์ 1 ปีใช้ได้สบาย ๆ แต่ไม่เคยลองทดสอบว่าจริงๆ แล้วมีอายุการใช้งานนานเท่าไร

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

ยางพาราภาคเหนือ

แต่งกิ่งสูงเสียดฟ้า บางส่วนค้ำยันเพราะเอน ล้ม

ระหว่างทางไปห้วยฮ่องไคร้เจอแปลงยางพาราแปลงหนึ่งอย่างไม่ตั้งใจ เห็นเขาตัดแต่งกิ่งยางสูงมากกก...จนต้องใช้บันไดช่วยแต่ยังตัดไม่หมดแปลง เห็นแล้ววิญญาณคนยางก็สิง ทนไม่ได้ต้องบอกเพื่อนที่มาด้วยให้หยุดรถคุยกับเจ้าของแปลงหน่อย เพราะถ้าไม่บอกคิดว่าเขาต้องจัดการส่วนที่เหลือแน่นอน หยุดรถเจอได้เดินดูต้นยางและคุยกับเจ้าของก็เป็นจริงดังคาด ยางพาราย่างเข้าปีที่ 4 เกษตรกรปลูกก่อนที่ทางราชการมีโครงการสนับสนุนให้ปลูกยางในภาคเหนือ แม่เลี้ยงวัวอยู่ในสายยางบอกว่าลูกบ่าวจะตัดแต่งกิ่งหม่ทั้งแปลงเพราะว่ายางบางต้นถูกลมพัดล้มซึ่งก็เห็นเป็นบางต้นที่เอนจากลม การค้ำยันและแต่งกิ่งต้นที่เป็นปัญหาจำเป็นต้องทำซึ่งเราก็เห็นด้วย แต่การเหมารวมป้ญหากลัวลมจะทำให้ทั้งแปลงจึงจะแต่งกิ่งทั้งแปลงไม่จำเป็นและอาจเป็นผลเสียต่อต้นยางได้
  • ยางที่ตัดแต่งสูงเกินกว่าช่วงกรีดไม่จำเป็น ปกติเราเริ่มกรีดที่ระดับ 150 ซม. การตัดแต่งกิ่งควรหยุดที่ความสูงระดับมือเอื้อมถึงก็เพียงพอ เมื่อยางใหญ่ยางจะปลิดกิ่งเองได้
  • การตัดแต่งเฉพาะต้นที่มีปัญหาล้ม เอนจำเป็น ช่วงกรีดที่ตั้งตรงช่วยให้การกรีดทำได้สะดวก
  • การตัดแต่งกิ่งสูงเกินไปทำให้ยางเติบโตช้า เนื่องจากพื้นที่ใบที่ใช้ในการปรุงอาหารของพืชลดลง

ผู้เกี่ยวข้องต้องเข้าไปดูแลหน่อยแล้ว เบื้องต้นให้โทรศัพท์พูดคุยกับคนยางแท้ ๆ และให้เบอร์โทรแล้ว แล้วสวนอืนที่ไม่ได้ไปเจอจะเป็นอย่างไร....



แถมด้วยภาพสวย ๆ เกษตรกรปลูกเสาวรสสวยมากเลยถ่ายเก็บไว้

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

เรื่องเล่า

ได้มีโอกาศเจอเพื่อน ๆ พูดคุยไปตามเรื่องไม่รู้ว่ามาถึงเรื่องเกี่ยวกับเมืองนานได้อย่างไร ว่าปีนี้เผาไร่กันมาก พื้นที่ปลูกข้าวโพดปีนี้ยังมาก ตั้งแต่ที่ราบยันบนดอย ซึ่งก่อนหน้าก็บ่นกับเพื่ิอนชาวน่านว่า น่านมีแต่ภูเขาหัวโล้นด้วยว่าเคยนั่งเครื่องบิน และมองเห็นภูมิประเทศในมุมกว้าง หากเมื่อมึโอกาศควรจะมองหาระบบ หรือพืชที่เหมาะสมและสามารถทำรายได้ ลองนำความรู้ ประสบการณ์ในการวิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตรมาใช้และทำให้ได้จริง ๆ อยากเห็น....เมื่อเร็ว ๆนี้ลุดนัดไปเป็นวิทยากรอบรมชาวบ้านในโครงการของจังหวัดได้มีโอกาศเดินทางไปหลายพื้นที่ใน 10 วันที่ไปอบรมพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับกาแฟ ชา พืชทำเงินของพื้นที่ ก็มีคำถามติดอยู่ อยากรู้ว่ามีพื้นที่ที่สามารถพัมนาให้ปลูกพืชเหล่านี้ได้สักเท่าไร.... เพราะว่าปลูกกาแฟให้ไดดีต้องมีป่าหรือไม้บังร่ม ซึ่งจะช่วยให้สามารถปรับสภาพทำการเกษตรที่ถาง และเผา ลดลง... เช่นเดียวกับที่ภาคอิสานที่นำยางพาราไปปลูกยางพาราช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมวิถีการเกษตรของชุมชนได้แน่นอน ยางพาราไม่ชอบไฟ การเผาในพื้นที่ข้างเคียงควรจะลดลง หรืทำได้ต้วยความระมัดระวัง เพราะหากพลังเผลออาจเสียหายต่อต้นยางได้ ยางพาราเป็นพืชที่มีราคา เป็นต้นไม่ที่เจ้าของต้องดูเลรักษา ..... ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่ยางอาจทำความเสียหายคงต้องละไว้ก่อน แต่ต้องมีคนคิดต่อว่าต่อไปจะทำอย่างไร ยางมีอายุที่จำเป้นต้องรื้อและปลูกแทนอยู่ ....ฝากไว้คิดต่อ

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

Smart farming

Smart farming ถึง Precision farming การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรสู่ภาคปฏิบัติใน SAAD Kibbutz ซึ่งมีแปลงผลิตพืชขนาดใหญ่ ผู้เขียนได้มีโอกาสเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น และปฏิบัติได้จริงในคิบบุชแห่งนี้ จริง ๆ ก็เคยเห็นในเว็บอยู่หายครั้งแต่ไม่ได้เข้าไปศึกษาจริง ๆ ในไทยก็มีงานของนักวิจัยในลักษณะนี้เช่น กันและสามารถออกสู่การผลิตจริงในแปลงด้วย หากสืบค้นด้วยคำสำคัญนี้ ที่นี่ได้เห็นการใช้เครื่องจักรกลแทรกเตอร์ Combine harvester ซึ่งติดตั้งเครื่องมือ GPS และมีส่วนควบคุมที่สามารถวัดปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ในแต่ละหน่วยของพื้นที่และเก็บเป็นฐานข้อมูลในรูปแบบของ GIS ซึ่งระดับการให้ผลผลิตนี้จะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการให้ปุ๋ยในฤดูต่อไป ซึ่งเครื่องปลูกที่ติดตั้ง GPS จะเรียกใช้ข้อมูลผลผลิตมากำหนดปริมาณปุ๋ยที่ใส่ในแต่ละตำแหน่งของแปลงปลูกพืชนั้น ๆ รวมทั้งใช้ข้อมูลดาวเทียมประเมินความสมบูรณ์ของพืชในฤดูนั้น ๆ ประกอบการตัดสินใจด้วย...น่าทึ่งจริง ๆ

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

หลักการทางสรีรวิทยาต้องนำมาใช้

วิทยากรจากอิสราเอลใช้หลักการทางสรีรวิทยาในการอธิบายผลกระทบต่อพืช และยึดเป็นพื้นฐานในการผลิตพิช เนื่องจากผลผลิตพืชเกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการสังเคราะห์แสง การปิดของปากใบเป็นกลไกลหนึ่งในการป้องกันตนเองของพืชในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หากพืชปิดปากใบเร็ว ผลผลิตพืชก็จะต่ำ ดังนั้นการพิจารณาชนิดพืชที่ปลูก การศึกษาเกี่ยวกับเวลาในการปิดเปิดปากใบจึงมีความสำคัญ การสังเคราะห์แสงของพืช C3 และC4 ที่มี pathway ต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลกระทบแตกต่างกัน ก็ควรนำมาพิจารณาร่วมด้วย อิสราเอลได้พยายามดัดแปรสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช เช่น การลดการคายระเหยของแปลงปลูกพืช ลดความเร็วลม การลดเวลาในการปิดปากใบพืช โดยการใช้ตาข่าย (screen house) หรือ plastic house สามารถพบเห็นโดยทั่วไปในแหล่งปลูกพืชของประเทศ เช่น การใช้ตาข่ายลดการพรางแสงและการระเหยของน้ำในกล้วยหอม

การจัดการน้ำจำเป็นต้องเข้าใจวัฐจักรของน้ำ การไหลเวียนของอากาศบนโลก การไหลเวียนกระแสน้ำอุ่น/เย็น และระยะห่างจากเส้นศูนย์สูตรหรือ latitude ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อปริมาณน้ำและการไหลเวียนในวัฐจักร การจัดการต้องคำนึงถึงระบบนิเวศน์ที่ดีและความยั่งยืน


การพิจารณาน้ำกับพืชสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับพืชต้องศึกษาทำความเข้าใจด้วย เช่น Soil profile ประกอบด้วยชั้นของ A- O แต่ละชั้นมีอิทธิพลต่อพืช โดยเฉพาะชั้น B ซึ่งมีการสะสมของอนุภาคดินเหนียว น้ำและธาตุอาหารพืชจะเป็นประโยชน์ต่อพืชมากน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของชั้นดินนี้ การขาดน้ำในพืชสามารถศึกษาได้จากดัชนีพืชพรรณ (vegetation index) จากข้อมูลดาวเทียมได้ เพราะพืชดูดชับช่วงคลื่นสีแดงได้ดีเพื่อการสังเคราะห์แสง และจะสะท้อนช่วงคลื่น near infrared ออกสู่ภายนอก หลักการนี้ทำให้การประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียมในการศึกษา water stress ทำได้ การเกษตรของอิสราเอลปัจจุบันไม่ได้ให้ความสนใจที่ผลผลิตสูงแต่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการใช้น้ำหรือผลผลิตต่อหน่วยของน้ำที่ใช้

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552

ยางพาราในจีน

มีโอกาศได้เห้นภาพยางพาราจำนวนมากในสิบสองปันนา ก็นึกเป็นห่วงเกษตรกรผู้ปลูกยางบ้านเราแต่ยังไม่มีเวลาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมถึงศักยภาพการผลิตของประเทศเขา ข้อมูลจากกูเกิลเอร์ทบอกว่าพื้นที่บริเวณนั้นสูงประมาณ 1700-2000 ฟุต ยางพาราเจริญเติบโตดี ต้นโตใหญ่ ผลผลิตน้ำยางยังไม่มีผู้ให้คำตอบได้




ภูเขายางพารา ภาพขวานี้มองผ่านกูเกิล


เมื่อย้อนมาดูบ้านเรา ....คำแนะนำของเราบอกว่า ควรปลูกในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร หากสูงเกินกว่านี้อัตราการเจริญเติบโตของต้นยางจะลดลง... เริ่มมีคำถาม ....เป็นพื้นที่ที่ความลาดชันไม่เกิน 35 องศา ถ้าความลาดชันเกินกว่า 15 องศา จำเป็นต้องทำขั้นบันได ที่จีนปลูกบนภูเขาเป็นลูก ๆๆ ทำขั้นบันได อาจต้องทบทวนความรู้เรื่องยางกันบ้าง หากบ้านเรายังผลผลิตเพื่อหวังการส่งออกยางดิบอย่างเดียวคงน่าเป็นห่วง ... ยากให้มีการนำยางพาราใช้ให้มากขึ้น หรือเพิ่มมุลค่าของผลผลิตยาง

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

แผนที่ง่ายกว่าที่คิด

ห่างการทำแผนที่ไปนานและไม่ค่อยได้อัพเดทตัวเองเกี่ยวกับแผนที่บนเน็ตนานวันนี้เพิ่งมาดูก็พยายามหาหนทางในการนำข้อูลตำแหน่งพิกัดทั้งที่เก็บไว้เป็นฐานข้อมูลและที่ดึงจากเครื่อง GPS ก็อาศัยอาจารย์กลูเกิลอีกแล้ว แต่วันนี้ก็สำเร็จทั้งสามารถขจัดปัญหาการแสดงภาษาไทยที่เคยลองใช้แ ล้วภาษาไทยอ่านไม่รู้เรื่องได้ และยังสามารถแสดงรายการข้อมูลจำนวนหลาย ๆ ฟิลด์ในGE  ได้ ี่น่าสนใจคือ plug in  ของ MapWindow สามารถดาวน์โหลดได้ shapetoEarth  http://shape2earth.com/default.aspx  version free สามารถใ ช้งานได้ 500 feather รายการข้อมูลครบภาษาไทย และยังcapture ภาพที่มีพิกัดจากGE ได้ และอีกหลาย ๆโปรแกรม ได้ลองใช้ GPS trackmaker ก็สามารถแปลงข้อมูลเป็น GE ได้ แต่ภาษาไทยก็แสดงแต่ยังทำได้ 1 ฟิลด์ ยังทำให้แสดงหลาย ๆ ฟิลด์ไม่ได้ ใครทราบบอกด้วย วันนี้ก็กลายเป็นวันที่ได้ศึกษาเพิ่มเติม มัวแต่ใช้ความรู้เก่าจนไม่รู้ว่ามีอะไรใหม่ๆ

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การใช้น้ำของพืช

การใช้น้ำของพืชเรามักเห็น ลักษณะของการศึกษาที่ใช้ Lysimeter ขนาดใหญ่ ต้องขุดเป็นอุโมงลงในดินเพื่อฝังอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้เราสามารถนำน้ำที่ไหลเลยเขตรากพืชมาชั่ง ตวง วัดได้ แต่มาที่อิสราเอลก็ได้เห็นการใช้ Lysimeter อีกหน้าตาหนึ่งใช้ศึกษาการใช้น้ำของพืช เช่น มะกอกโอลีฟ ผักต่างๆ ทั้งขนาดใหญ่ และขนาดย่อมๆ บันทึกข้อมูลด้วยอุปกรณ์บันทุกข้อมูลอัตโนมัติ (data logger) ทั้งที่อยู่กลางแจ้ง และในเรือนปลูกพืชทดลอง



ที่อยู่กลางแจ้งศึกษากับมะกอกน้ำมัน ในเรือนปลูกพืชทดลองชุดนี้หมุนได้รอบเพื่อลดความลำเอียงของแสงแดด



เห็นสายระโยงระยาง และอุปกรณ์ตรวจวัดต่าง ๆ เช่น ปริมาณน้ำที่ให้ ปริมาณน้ำที่ไหลเลยเขตรากพืช การปิด-เปิดปากใบ หลายคนเห็นคงต้องอยากได้
ช่วงเวลาสั้น ๆ เราคงเห็นศักยภาพสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาคงต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

รู้จักอิสราเอล และมาตรการรักษาความปลอดภัย

อิสราเอลตั้งอยู่ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มี 3 เขตภูมิอากาศ เมดิเตอร์เรเนียน (สีเขียวในแผนที่) กึ่งแห้งแล้ง(สีส้ม) และ แห้งแล้ง(สีม่วง)


ร้อนแห้งในฤดูร้อน เย็นปานกลาง และมีฝนตกเล็กน้อยในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย ระหว่าง 8 - 36 องศา ฝนตกประมาณปีละ 64 วัน ปริมาณ 539 มิลลิเมตร มีประชากรประมาณ 6 ล้านคน ร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ทันสมัย แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่า ส่วนประชากรอีกร้อยละ 6 อยู่ในชนบทโดยเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2 ลักษณะคือ คิบบุตซ์ และโมชาฟ ชาวอิสราเอลมีหลายชาติพันธ์ ทั้งชาวยิว และชนอาหรับพื้นเมือง รวมทั้งชาวยิวที่อพยพมาจากยุโรป แอฟริกา เอเชีย และประเทศตะวันออกกลางอื่น ๆ ประชากรส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ อาทิ เทลอาวีฟ เยรูซาเล็ม และไฮฟา ที่เหลือกระจัดกระจายตามพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศชาวอิสราเอล ประชากรร้อยละ 82 นับถือศาสนายูดาย (Judaism) ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม (14 %) คริสต์ (2%) อายุเฉลี่ย 79.46 ปี สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ software เพชรเจียระไน ผลิตภัณฑ์เกษตร เสื้อผ้า สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ วัตถุดิบ อาวุธยุทโธปกรณ์ เชื้อเพลิง เพชร ข้าว สินค้าอุปโภคบริโภค ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศเป็นเรื่องที่รัฐให้ความสำคัญ การเข้า-ออกประเทศจึงมีมาตรการรักษาความปลอดภัยสูง

ประสบการณ์เรื่องการรักษาตวามปลอดภัย
คงต้องเริ่มที่การสมัครต้องมีรายงานการตรวจร่างกาย รายการต่าง ๆ ก็ดูปกติ แต่มีรายการที่ต้องรายงานว่าท้องหรือไม่ด้วย สำหรับผู้หญิงเราเป็นผู้หญิงไปหาที่โรงพยาบาลบอกหมอว่าไม่ท้อง ไม่แต่งงาน แต่หมอท่านไม่ยอมต้องมีการตรวจ ก็เลยต้องเสียเงินเพิ่ม แต่ว่าไปแล้วบ้านเราก็มีหลายอย่างเป็นงานที่ไม่จำเป็นต้องทำ ต้องวิเคราะห์ให้เสียเงิน เสียงบประมาณ แต่ก็ถูกเลือกให้ทำเสียเวลาไป ทำให้ส่วนที่จำเป็นไม่ได้รับการดูแล บ่น...
สถานทูตเจ้าหน้าที่ต้อนรับพวกเราดีมาก จัดหาเอกสารที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวก เพราะว่าต้องแน่ ๆ มาตรการรักษาความปลอดภัย...
มีน้องที่ทำงานอยากไปอิสราเอล ก็ต้งขอวีซ่าในฐานะบุคคลทั่วไป ต้องมีเอกสารยืนยัน หรือการจองโรงแรมจากทางอิสราเอล พาสพอร์ตที่มีการเดินทางมาแล้ว ถ้าไม่เคยเดินทางเลย คงยาก แต่ด้วยความประหยัดอยากไปขอพักกับคณะของเรา ทางสถานฑูตต้องการให้มีการยืนยันจากผู้จัดทางนู้นด้วย ซึ่งได้รับคำตอบกลับมาว่าเป็นไปไม่ได้ น้องคนนั้นก็เลยอดไป ... ไว้โอกาสหน้าเตรียมตัวใหม่
สนามบิน คณะเราเดินทางด้วยสายการบินอิสราเอล ก่อนเดินทางเจ้าหน้าที่สถานฑูตประสานงานกับเจ้าหน้าที่สายการบินเพื่อช่วยดูแลการเดินทางของคณะเรา พวกเราก็รอกันจนครบ พร้อมสำหรับการ check in พวกเราถูกสัมภาษณ์ที่ละคน เกี่ยวกับการเดินทาง การแพ็คกระเป๋าเดินทาง พวกเราทุกคนผ่าน
ถึงที่หมาย สนามบิน Ben gurion กระเป๋าของพวกเราถูกค้น เพราะมีร่องรอยปรากฏว่า กุญแจถูกตัด ซิบชำรุด ยกเว้นกระเป๋าที่ใช้รหัสเปิด ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษากระเป๋าของเราไม่ควรล็อกกระเป๋า ไม่ต้องมาคอยซ่อมกระเป๋าอยู่
การอยู่ในประเทศนี้คณะเรารู้สึกปลอดภัย การเดินทางไปใกล้บริเสณพื้นที่ที่เสี่ยงจะมีการ์ดถือปืนนั่งรถไปด้วย คนอิสราเอลทั้งหญิงชายต้องเป็นทหารผู้หญิง 2 ปี ผู้ชาย 3 ปี แต่ก็น่าชื่นชมที่คนอิสราเอลรักประเทศของเขา ชาตินิยม
ในโรงแรมเราก็เจอการ์ดผู้หญิง









การ์ดผู้หญิงประจำโรงแรมที่พักของเรา ผ่านการเป็นทหารแล้ว มาทำงานเก็บเงินเรียน








ทหารประจำการหน้าตาสวยๆเลยขอถ่ายรูปด้วย

ขากลับที่สนามบิน ไปถึงสนามบินเร็วไปต้องรออยู่นานกว่าจะได้เริ่ม check in เขาพยายามจัดกลุ่มผู้โดยสารเป็นกลุ่มๆ แล้วคำถามที่เคยเจอตอนขามาจากเมืองไทยก็เริ่มขึ้น แต่คราวนี้เป็นภาษาอังกฤษล้วน ๆ ถาม-ตอบกันกลายเป้นว่าพี่วิชิตที่ภาษาอังกฤษดีในกลุ่มถูกถามถึงคนช่วยแปล ว่าไปแล้วสำเนียงที่เขาพูดทำให้พวกเรางงได้ ทุกกระเป๋าผ่านเครื่องสแกน ตรวจกระเป๋า ส่วนที่สงสัยจะได้รับการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พวกเราหลายคนซื้อน้ำผึ้งกันมา ก็ต้องชี้แจงแหล่งที่มา หรือขอให้เปิดกระเป๋า ตรวจสอบสารบางอย่าง แต่ขั้นตอนนี้ เราผ่านฉลุย แต่มีกลุ่มที่มาด้วยกันจากชาติอื่นโดนตรวจละเอียด เชิญไปสัมภาษณ์เพิ่มเติม คนไทยในสายตาคนอิสราเอลดีมาก ประเทศไทยก็เป็นที่ไผ่ฝันของคนอิสราเอล หลายคนมาเยือนแล้วแม้กระทั่งนักศึกษา การ์ดที่ไปทัศนศึกษากับเราก็เคยมาเมืองไทยแล้ว ผิดกับคนไทยที่กว่าจะได้ไปต่างประเทศก็แก่แล้ว

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

อิสราเอล..เล่าต่อ

MASHAV หรือศูนย์ความร่วมมือระหว่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศอิสราเอล เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้ทุนฝึกอบรมเฉพาะค่าใช้จ่ายในประเทศของเขา โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรม 29 คน จาก 13 ประเทศ 5 ทวีป (เช็ค ไนจีเรีย ตุรกี สวาซิแลนด์ เวียดนาม ไทย จีน อินเดีย ไลบีเรีย ชิลี ปาปัวนิวกินี ซามัวร์ และเอธิโอเปีย) ซึ่งทำงานในด้านการเกษตร อุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยา ส่วนใหญ่เป็นคนของภาครัฐ ที่โรงแรม Tal เมืองเทลอาวีฟ การฝึกอบรมประกอบด้วยการบรรยาย โดยวิทยากรจาก Israeli Meteological services และ Israeli Hydrological services การร่วมประชุมทางวิชาการเรื่อง Dryland, deserts & Desertification Conference ระหว่าง 14-17 ธันวาคม 2551 ที่มหาวิทยาลัยเบนกูเรียน วิทยาเขต Sede Boqer campus การนำเสนอของผู้เข้ารับการอบรม(สมัครใจ)และทัศนศึกษา ขอทยอยกล่าวถึงนะ
Climate Change and Desertification Process Climate Change ที่กล่าวถึงไม่ได้การเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง แต่จะศึกษาโอกาศเกิดเพื่อที่จะได้เตรียมการรับมือ Climate Change ใช้เอกสารของ IPCC (2007) เป็นหลักในการทำความเข้าใจ
การเกษตรของอิสราเอลปัจจุบันไม่ได้ให้ความสนใจที่ผลผลิตสูงแต่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการใช้น้ำหรือผลผลิตต่อหน่วยของน้ำที่ใช้ด้วย และเก็บค่าน้ำเพื่อการเกษตร น้ำใช้ของอิสราเอลมาจาก 4 แหล่งหลัก คือ
  1. ทะเลสาบ Galilee ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดแห่งเดียวอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ สามารถส่งน้ำเข้าสู่ระบบชลประทานแบบท่อสู่ภาคเกษตรของประเทศ
  2. น้ำเสีย
  3. น้ำใต้ดิน
  4. น้ำทะเล
การชลประทานระบบท่อ ทำให้ลดปัญการสูญเสียน้ำเนื่องจากการระเหย 65% ของน้ำทั้งหมด ถูกใช้เพื่อการเกษตร พืชที่ปลูกโดยรอบทะเลสาบ Galilee กล้วยหอมและเป็นพืชที่ต้องการใช้น้ำมาก แต่รัฐบาลก็ให้ความสำคัญในการจัดสรรน้ำให้ แม้ว่าน้ำจะเป็นปัญหาสำคัญที่สุดของประเทศนี้ และแทบไม่น่าเชื่อที่อิสราเอลสามารถปลูกมันฝรั่งส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้ และเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงสำหรับการเกษตรของอิสราเอล เกษตรกรลงทุนให้น้ำแบบสปริงเกอร์แก่มันฝรั่งได้

การดัดแปรสภาพอากาศโดย Cloud Seeding และกระบวนการเกิดฝนในเขต Semi-Arid Regions เนื่องจากการประเมินความคุ้มค่าในการได้น้ำมานั้นวิธีการนี้ต้นทุนต่ำสุดและได้น้ำปริมาณมาก ซึ่งขั้นแรกต้องมีความเข้าใจกระบวนการเกิดฝน เมฆประกอบไปด้วยละอองน้ำขนาดเล็กกว่า 0.02 มม.ซึ่งจะไม่สามารถตกเป็นฝนได้ ต้องมีขนาดมากกว่า 2 มม.จึงจะเกิดเม็ดฝน ประเทศอิสราเอลได้ทำการศึกษาวิจัยการทำฝนเทียมมาตั้งแต่ 1961 และสามารถนำมาใช้งานได้จริงสามารถเพิ่มปริมาณน้ำฝนได้ 10% - 20% หนือคิดเป็นน้ำ 60 ล้านลบ.ม. มีค่าใช้จ่าย 0.02$ ในปี 2008 ถูกกว่าการการใช้น้ำทะเล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 0.54$ และยังมีส่วนร่วมในโครงการวิจัยฝนเทียมของประเทศอื่น ๆ รวมทั้งไทยด้วย การทำให้เกิดฝนในเขตนี้แตกต่างจากบ้านเรา ที่ใช้ ซิลเวอร์ไอโอไดน์(silver iodide)