วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ภัยพิบัติจากปัญหาการเกษตร

ภัยพิบัติจากปัญหาการเกษตร คำนี้แทบไม่อยากเชื่อว่าจะมีได้ และกลายเป็นช่วงทางให้มีผู้หาผลประโยชน์ได้ ก่อนหน้าเราเคยเจอปัญหาเกี่ยวกับเพลี่ยแป้งมันสำปะหลังผนวกกับปีนั้นแล้งมากทำให้มันสำปะหลังผลผลิตไม่เพียงพอที่จะเข้าโรงงาน หลายพื้นที่ก็ใช้โอกาสนี้ในการสั่งซื้อสารเคมีจำนวนมหาสาร โดยไม่คำนึงถึงว่าสารเคมีนั้นจะมีการนำไปใช้อย่างถูกต้องหรือไม่ คำแนะนำให้นำไปแช่ท่อนพันธุ์ แต่ปรากฏว่ามีการนำไปใช้ในการฉีดพ่น และการฉีดพ่นนี้หากใช้ติดต่อกันก็จะทำให้เกิดการดื้อยาเช่นที่เคยเกิดขึ้นในข้าว เพลี้ยกระโดยสีน้ำตาลทนทางต่อยาฆ่าแมลงทุกชนิด
ยังโชคดีที่เพลี้ยแป้งมีแตนเบียนที่เก่งมาช่วยควบคุม
วันนี่เราคงเจอกับปัญหามะพร้าวราคาถูก ลูกละ 1-3 บาท  แมลงศัตรูมาก ต้นทุนเพิ่มแต่ราคากลับสวนทาง เกิดอะไรขึ้นกับพืชผลการเกษตรบ้านเรา
ตัวการน่าจะมาจากการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกวิธี ต้องการผลเร็วแต่ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ทำให้บางพื้นที่มีการใช้สารเคมีเจาะเข้าทางลำต้น สารอะไรก็ไม่รู้ ผลตกค้างมีแน่นอน เพราะสินค้าพวกน้ำกระทิถูกตีกลับ จากประเทศที่เขาให้ความสำคัญกับอาหารที่ประชาชนเขาใช้บริโภค ผลผลิตที่มีอยู่ในบ้านจึงถูกปฏิเสธ-แบบเหมารวม ซึ่งก็ไม่ยุติธรรม ทำให้มีการนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศมาทดแทนความต้องการ ทำให้มะพร้าวบ้านเราราคาถูกลง

บีทีปลอม
บีทีเป็นชีวภัณฑ์ที่หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ให้คำแนะนำว่าสามารถฉีดพ่นในมะพร้าวที่มีการระบาดของหนอนหัวดำได้  ชีวภัณฑ์บีทีมี 2 ชนิดคือ Bacillus thuringiensis kurstaki และ B. thuringiensis aizawai
ใช้ในอัตรา ๘๐ กรัม/น้ำ ๒๐ ลิตร พ่นต้นละ ๕-๑๐ ลิตร  จำนวน ๓ ครั้ง ห่างกัน ๗-๑๐ วัน หลังการตัดทางใบที่ถูกทำลายแล้ว และเนื่องจากเป็นสารชีวภัณฑ์บีที การฉีดพ่นให้ได้ผลดีต้องฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือเย็นเท่านั้น ถ้าฉีดพ่นช่วงแดดแรงก็จะทำให้บีทีตาย ประสิทธิภาพการควบคุมลดลง และที่สำคัญบีทีที่มีในท้องตลาดต้องดูที่มีใบอนุญาตถูกต้อง สามารุถนำเลขที่ไปตรวจสอบกับสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตรได้ และอายุต้องไม่เกิน 6 เดือนเพื่อให้แน่ใจว่ามีปริมาณบีทีตามที่กำหนด   ช่วงเดือนที่แล้วไปประจวบมา เกษตรกรบอกว่า อบต. หรือเทศบาลหลายพื้นที่ก็ดำเนินการตัดทางใบและฉีดพ่นบีทีกันแล้ว เราก็ได้แต่หวังว่าจะเป็นบีทีที่ไม่ปลอม ช่วงนั้นดูเหมือนการระบาดของหนอนหัวดำบางพื้นที่ก็รุนแรงขึ้น บางพื้นที่ก็ควบคุมได้ดีขึ้น แต่แมลงดำหนามระบาดรุนแรงลดลง   เจอเกษตรกรรายหนึ่งมีภาพลบกับหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์จากความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยมาสำรวจความเสียหาย-ถ่ายภาพ-แล้วนำข้อมูลไปเขียนของบประมาณ -แล้วแปลงที่ระบาดก็ไม่ได้กลับมาทำอะไร หรือทำให้เกิดการระบาดมากขึ้น เพราะว่าใช้วิธีการไม่ถูก ดูเหมือนรายนี้จะปิดประตูรวมทั้งออกแรงต้านด้วย เขาไปพึ่งพาน้ำหมักสมุนไพร-การบำรุงรักษาต้นให้แข็งแรง ซึ่งเรื่องหลังเห็นด้วยเพราะเท่าที่เห็นแปลงมะพร้าวที่กุยบุรี แปลงที่เกษตรกรให้การดูแล ให้น้ำบ้าง หรือมีพืชปลูกหลากหลายจะไม่ค่อยโดยทำลาย แปลงที่ดินชื้นๆ ถูกทำลายน้อยกว่า แต่จะทำอย่างไรกับพื้นที่ทีฝนทิ้งช่วงไปนานๆ   สารเคมีก็ถูกนำมาใช้อีกแล้วกับมะพร้าวด้วยคนภาครัฐ 2-3 วันก่อนก็ได้ทราบว่ามีการแนะนำวิธีการใหม่อีก แต่ก็ล่อแหลมต่อการนำไปใช้แต่ยังโชคดีที่ราคาแพง การเจาะลำต้นใส่สารเคมีถูกหยิบนำมาถกเถียงกันอีกแล้ว สารฆ่าแมลง emamectin benzoate ซึ่งใช้ในการเจาะลำต้นมะพร้าว ถึงแม้ในท้องตลาดจะมีหลายยี่ห้อ แต่ก็ไม่แน่ใจต่อผลตกค้างที่จะมีเนื้อมะพร้าว สารปนเปรื้อนอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค มีคำถามทำไมเกิดขึ้นมากมาย




แมลงศัตรูมะพร้าว

ปลายปีนี้มาเริ่มงานกับมะพร้าว จากปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูมะพร้าวที่ดูเหมือนว่ายังแก้ไม่ถูกที่สักที ก่อนหน้านี้หลายปีมะพร้าวเคยได้รับผลกระทบรุนแรงจากการระบาดของแมลงดำหนาม พื้นที่ที่มีผลกระทบตอนนั้นมีทั้งภาคใต้ ตะวันออก และภาคกลางแมลงนี้ทำลายใบยอดอ่อนมะพร้าว ทำให้มะพร้าวแสดงอาการที่เรียกว่าหัวหงอก คือใบใหม่ ๆจะถูกทำลายก่อน และเมื่อใบแก่ใบเหล่านั้นก็จะแห้ง
แมลงศัตรูธรรมชาติเป็นพระเอกการควบคุมได้ผลดี ช่วงนั้นไม่ได้สัมผัส ไม่ได้ไปทำงานด้วยได้แต่มองดูห่าง ๆ แต่ปีที่แล้วจนถึงปีนี้ก็ได้ทราบข้อมูลจากเพื่อนๆ พี่ๆ ว่ามีแมลงศัตรูชนิดใหม่มาอีกแล้ว  เรียกว่าหนอนหัวดำ รุนแรงกว่าแมลงดำหนามเพราะหากรุนแรงก็ทำให้ยืนต้นตายได้
หนอนหัวดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Opisina arenosella Walker มีผู้รายงานว่าพบการระบาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน 2551 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ปทุมธานี นนทบุรี นครสวรรค์ และศรีสะเกษ และเมื่อสำรวจเพิ่มเติมจนถึงเดือนกรกฎาคม 2553 พบว่าแมลงชนิดนี้ระบาดเพิ่มขึ้นอีก 2 จังหวัด คือ นครราชสีมา และอุทัยธานี และมีแนวโน้มระบาดเพิ่มขึ้น แมลงชนิดนี้ลงทำลายในพืชอาศัยหลายชนิด เช่น มะพร้าว ตาลโตนด กล้วย กะพ้อ และปาล์มประดับอื่น ๆ อีกหลายชนิด
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ลำตัวแบน ยาวประมาณ 1.0-1.2 เซนติเมตร ปีกมีเกล็ดสีเทาเงินปกคลุม ปลายปีกมีสีเทาเข้ม กลางวันมักเกาะนิ่ง หลบซ่อนอยู่ใต้ใบมะพร้าว หรือในที่ร่ม โดยที่สำตัวติดกับผิวพื้นที่ใบที่เกาะ แม่ผีเสื้อวางไข่ในใบพืชที่เป็นรัง หรืออุโมงค์ที่ตัวหนอนสร้างไว้ ระยะหนอนที่ยาวนาน 32-48 วัน ทำให้การทำลายรุนแรง ใบแก่หรือเนื้อเยื่อพืชที่มีสีเขียวจะถูกกัดกินผิวใบจนเหลือแต่ก้านใบ

การป้องกันกำจัดยังมีเพียง การตัดใบที่มีหนอนลงทำลาย นำไปเผาทิ้ง  และพ่นด้วยชีวภัณฑ์ Bacillus thuringiensis kurstaki  และ B. thuringiensis aizawai รวมทั้งการใช้แตนเบียนปล่วยเพื่อช่วยควบคุม
แตนเบียนที่บ้านเรามีอยู่ยังไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเท่าที่ควร การนำเข้าแตนเบียนจากต่างประเทศก็เป็นสิ่งจำเป็นแต่คงต้องรอการศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ และการพิจารณาจากเกี่ยวกับการกักกันพืช เพื่อให้อนุญาตนำมาใช้ในแปลงจริงได้

ผู้เขียนเองก็รออยู่เหมือนกัน ลุ้นว่าเมื่อไร และประสิทธิภาพเขาจะคุมการรอคอยไหม