วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กล้วยๆ

ประมาณช่วง 20-30 พย 56 กล้วยน้ำว้าออกสู่ตลาดจำนวนมากและสวยๆทั้งนี้น คงเป็นผลพวงมาจากฝนที่ดีมากในช่วงปลายฝนของปีนี้ อยสกย้อนเวลานับไปดูว่าฝนตกยังไงจึงทำให้ผลผลิตกล้วยปีนี้ดี

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กล้าต้นใหญ่พันธุ์ปาล์มสุราษฎร์ธานี

เดินทางไปอิสานเที่ยวนี้ แปลกใจมากหลายอย่างฝนตกมาก จนบางเส้นทางต้องปิดเ้ส้นทางการจราจร หาเทียบกับปีก่อนช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ปีที่แล้วหลายที่ตื่นเต้นกับการจะมีปาล์มเข้ามาปลูกในภาคอิสานมีหน่วยงานหลายแห่ง ผลิตพันธุ์ปาล์มดูเหมือนช่วงนั้นจะได้รับการบอกเล่าว่ามีคนจองจนต้องเลือกจำกัดโควต้า แต่มาวันที่กลับมีกล้าค้างอยู่จำนวนมาก  เป็นกล้าต้นใหญ่พันธุ์ปาล์มสุราษฎร์ธานี 1 สุราษฎร์ธานี 2 และ สุราษฎร์ธานี 7 เป็นต้นคุณภาพดีและพันธุ์แท้แน่นอน หากผู้ใดสนใจต้องการปลูกปาล์มติดต่อขอชื้อได้ที่ ศวพ.กาฬสินธุ์ ราคาต้นละ 55 บาท หรืออีกหลายหน่วยงานในกรมวิชาการเกษตร

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เปลี่ยนที่อยู่เว็บเครือข่ายมันสำปะหลัง www.doa.go.th/cassava

เนื่องจากรม เปลี่ยน isp รายใหม่ทำให้ต้องเปลั้ยแปลงหมายเลข ip ของเครื่องทั้งหมด ฉะนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอีกกรณีที่ต้องเปลี่ยน isp รายใหม่ในปีต่อๆ ไป จึงขอเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของเว็บเครือข่ายมันสำปะหลัง ย้ายไปอยู่ที่ at.doa.go.th/cassava แต่ก็สามารถเข้าจาก www.doa.go.th/cassava ได้ เช่นเดิม
ในช่วงนี้ได้เพิ่มระบบแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินในมันสำปะหลัง สามารเข้าทดลองใช้ได้จาก banner "การใช้ปุ๋ยมันสำปะหลัง" หรือ http://at.doa.go.th/cassfer

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หนองบุญมาก-ขอนแก่น

แวะดูแปลงมันสำปะหลังที่หนองบุญมาก มีหลายพันธุ์ให้ดูที่นี่ดินเป็นกรวดสีแดง พื้นที่นี้มีปัญหาดินดานด้วยจึงทดลองไถเบิกดินดานในปีนี้ พร้อมๆ กับทดลอง/ทดสอบอีกหลายเรื่ิอง เช่น การปรับปรุงบำรุงดินที่นี้อยู่ใกล้โรงงานจึงหากากมันได้ง่าย นำมาใส่รองพื้นก่อนปลูก ส่วนหนึ่งเสริมด้วยขี้ไก่
การควบคุมวัชพืช แปลงนี้มีเถาเลื้อยมาก เป็นเถาตดหมูตดหมา จึงใช้ไตรโคเพอร์ฉีดควบคุมก่อนการเตรียมแปลง โดยฉีดทิ้งไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนไถเพื่อให้สารดูดซึมลงลึกถึงส่วนที่อยู่ใต้ดิน หากทิ้งเวลาไม่เพียงพอก็จะควบคุมไม่ได้ผล เมื่ิอเห็นว่าตายดีแล้วจึงทำการไถเตรียมดิน
ในแปลงที่มีปัญหาปลวก ทำการแก้ไขโดยการควบคุมในช่วงแรกด้วยการแช่ด้วยอิมิดาโคบิด 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร แทนการแช่ด้วยไทอมิโทรแซมที่สามารถควบคุมเพลี้ยแป้งได้แต่ไม่ช่วยเรื่ิองปลวก
ส่วนปัญหาเรื่ิองวัชพืชกับการปลูกช่วงต้นฝนจำเป็นต้องควบคุม และเลือกยาคุมหญ้าให้เหมาะสมกับชนิดของวัชพืช คือต้องสำรวจก่อนว่าวัชพืชที่มีปัญหาในแปลงส่วนใหญ่คืออะไร เป็นใบแคบหรือใบกว้าง หรือกก และถ้ารู้ชนิดด้วยจะเป็นประโยชน์มากในการเลือกใช้ยาควบคุมวัชพืชได้ถูกต้อง

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

มะพร้าวที่สมุยสิงหาคม56

มะพร้าวสมุยรอบนี้เปลี่ยนไปที่ชัดเจนคือ มะพร้าวเขียวขึ้น หากเราเดินทางเข้าเกาะทางเรือ อบ่างน้อยใบใหม่ ๆ สัก 3-4 ใบ ก็เขียวขึ้น ใบไม่แดง ไม่ขาว แถบแม่น้ำการทำลายของหนอยหัวดำลดลง จะมีที่น่าห่วงก็อยู่แถว ๆ หลังวัดภูเขาทอง แต่เนื่องจากแปลงมะพร้าวไม่ได้เป็นแปลงใหญ่ต่อเนื่องกัน การทำงานด้วยคนจึงทำยาก แม่น้ำได้รับการชึ้เป้าเป็นพื้นที่แรก ๆที่ต้องให้ความสนใจ ทั้ง โกนีโอซัส ทั้งบราคอนก็ลงพื้นที่นี้เป็นหลัก แต่ก็ยังมีหลงเหลือ เป็นหย่อมๆ ที่บ่อผุด ชี้เป้าให้ปล่อยตั้งแต่ 2 เดือนก่อน ก็ยังอยู่ในขั้นทรง ๆ ยังไม่ดีขึ้นชัดเจน หน้มแมืองและมะเร็ตเคยชี้เป้าไปเมื่อง 2 เดือนก่อนเช่นกัน -185- คราวนี้เข้าพื้นที่จริง ก็เห็นสภาพแปลงจริง ๆ เพิ่งเข้าใหม่ ๆ ที่ตำบลหน้าเมืองจากชายทะเลเข้ามาในพื้นที่ เป็นแนวแถวนี้เป็นของคนอื่น ๆ ไม่ใช่ชาวบ้านในพ้นที่ เป็นอุปสรรค พี้นที่นี้จึงเลือกเป็นพื้นที่ทำงานอีกงานหนึ่งหวังให้สามารถลดความเสียหายได้เร็ว จากที่มีคนในชุมชนสนใจที่จะประสานความร่วมมือในส่วนที่พวกเราจะเข้าไปทำงานให้ ที่มะเร็วแถวโรงเรียนบ้านหน้าค่ายและบริเวณใกล้เคียง -195- เป็นมานานจนเห็นว่าใบเป็นสีขาวแล้ว อยู่ในชุมชน สภาพที่ดินที่เกาะสมุยนี้ เข้าของที่ดินไม่ได้ดูแลเองเสียส่วนใหญ่ หากมีผู้ดูแลที่สนใจ ใส่ใจปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชคงไม่นาก หรือสามารถแก้ปัญหาได้ไม่เนิ่นนาน
จากที่เข้าพื้นที่เกาะสมุยเป็นเวลาหลายครั้ง ครั้งนี้ก็ 5 ครั้งแล้ว มองว่าสมุยมีสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน อย่างน้อย 3-4 สภาพทำให้มีการแพร่ระบาดของแมลงศัตรูพืชได้แตกต่างกัน และต่างช่วงเวลากัน จึงนำอุปกรณ์ตรวจบันทึกไปติดตั้งที่แม่น้ำ และหน้าเมือง

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แมลงศัตรูมะพร้าว

เกี่ยวกับแมลงศัตรูมะพร้าวไปดู web แมลงศัตรูมะพร้าวของกรมวิชาการเกษตรที่ http://at.doa.go.th/coconut
การระบาดของศัตรูมะพร้าวส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตและพื้นที่ปลูก และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าว อีกทั้งภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในแหล่งที่มีมะพร้าวเป็นสัญญลักษณ์ดึงดูดนักท่องเที่ยว แมลงศัตรูะพร้าวที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่ หนอนหัวดำมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว ด้วงแรด และด้วงงวง ในเว็บให้ข้อมูลเกี่ยวกับแมลงศัตรู การควบคุม โดยเฉพาะการใช้แตนเบียนควบคุมซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย





วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สมุยปลายเมษายน

มาสมุย 30 เมย 56 มาทางหน้าทอน ภาพแรกที่เห็นสมุยคือเห็นสมุยเขียวขึ้น มะพร้าวสวยขึ้นใบใหม่ที่ออกสีเขียวไม่หงอกแล้ว น้องที่อารักขานำแตนเบียนไปไว้ที่เกษตรอำเภอ ทีมเราก็นำส่วนหนึ่งไปช่วยปล่อยด้วย เพราะพวกเราน่าจะเข้าถึงพื้นที่ได้มากกว่า และทั่วเกาะกว่า แล้วพวกเราก็ไปสำรวจแมลงมะพร้าวอยู่แถวบ่อผุด อากาศร้อนมาก ก็สำรวจกันจนมองไม่เห็นจะกลับมาทางหน้าเมืองก็เหฌนว่าทางแม่น้ำ อ่างทองมีร่องรอยฝนตก วันต่อมาได้พบกับทีมที่สำรวจอยู่แถวนั้ก็บอกว่าฝนตกหนัก แสดงให้เห็นชัดเจนว่าฝนตกไม่ทั่วเกาะแต่ตรงไหนก่อน บริเวณไหนหลัง  มากน้อย คงอยากให้คนเกาะสมุยช่วย
วันที่ 1 พค.ได้พบกับเจ้าถิ่นวงใหญ่ มีประธานชุมชนหมู่ 1 เกษตร ที่ปรึกษา เป็นคนรักชุมชน และสมุย ทราบเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าเทศบาลเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่สมุยนี้เอง ขอบเขตครอบคลุมทั้งเกาะ ดูเหมือนเกษตรอำเภอ และเทศบาลยังทำงานเข้าขากันไม่ดีนัก เกาะนี้ต่างจากที่อื่นๆที่ไม่มีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน แต่จะมีประานชุมชน และกรรมการมาทำหน้าที่แทน ซึ่งผู้ทำหน้าที่แทนเหล่านี้ไม่มีค่าตอบแทนเหมือนผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน เป็นงานอาสาสมัคร
ดีใจที่คนสมุยที่รักท้องถิ่นยังมีอยู่อย่างน้อยก็ในกลุ่มที่ได้นั่งพูดคุยกัน ความไม่เข้าใจ ไม่ประชาสัมพันธ์ทำให้ชาวบ้านไม่รู้ ชาวบ้านยินดีเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นส่วนช่วยในการแก้ปัญหาในชุมชน โดยเฉพาะมะพร้าวที่เกาะสมุย พวกเราก็สนใจว่าจะใช้ช่องทางนี้เป็นช่องทางในการสื่อสาร การส่งต่อความรู้ การกระจายแตนเบียนให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย

มะม่วงที่เกาะสมุย ลูกเล็ก กินสุกได้กลื่นหอมคล้ายกระร่อน เขาเต่าอีกชนิดหนึ่ง ผลไม่พื้นเมืองเพิ่งออกดอก เรียกกันว่าขี้กวาง ไว้เป็นลูกแล้วจะมาดูใหม่

2 พค ข้ามเขามาทางซอยแม่น้ำ 1 ซึ่งครั้งก่อน ๆ ชาวบ้านบอกว่าทางไม่ดี เลยไม่ได้ไป เรียกว่าดูรถเป็นหลักก่อน ครั้งนี้รถดีเลยขึ้นช้ามเขาที่อยู่กลางเกาะสมุยไป ออกที่ละไม บรรยากาศดีเหมือนอยู่ป่า หล้วเพียงว่าผืนป่าเหล่านี้ยังคงอยู่ ขาขั้นเป็นสวนมะพร้าวผืนใหญ่ มีพวกเราไปวางกับดักด้วงแรดด้วย และเห็นว่าตืดดีมาก ทางลงก็เป้นสวนผลไม่ เช่น ทุเรียน มังคุด ลางสาด รวมทั้งมะพร้าวด้วย และไม่ลิมที่จะปล่อยแตนเบียน

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

ฝนเริ่มตกแล้ว

วันจันทร์น้องๆ บอกว่าออกเดินทางจากกรุงเทพมาผ่านปากช่องฝนตกหนัก แต่มาถึงขอนแก่น เลยร้อนมากฝนก็ไม่ตก สัญญานเริ่มฤดูปลูกเริ่มแล้วกระมัง มาเลยวันที่ 24 เมย เย็นนั้นฝนตกมากจากเหนือสุดมาถึงภูกระดึง แต่ที่ตกมาก ๆ น่าจะถึงเมือง แต่เอราวัณไม่ตกเท่าที่ควรดินยังไม่เปียก(โทรไปถามวิษณุ)

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

ไม้ผลหลายชนิดไม่ออกดอก

ฟังข่าวปีนี้ลิ้นจึ่ที่มะขามเฒ่า นครพนมไม่ออกดอก ก็ทำนองเดียวกับทางอัมพวา หากสังเกตุปีนี้มะม่วงก็น้อย ต้นสำเนียงพืชท้องถิ่นไม่ออกดอกติดผล

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง

วันเสาร์ที่ 6 เมษายน 56 ที่สุพรรณร้อนมาก ตอนกลางวันเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงมาเกาะที่มุ้งลวด ประตู หน้าต่างบ้านมากเป็นพิเศษ เกิดอะไรขึ้น วันอื่น ๆ ก็ไม่เห็นมาเกาะเลย

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ระหว่างนั่งเฟอร์รี่กลับจากสมุย

สภาพแวดล้อมกับการระบาดของแมลงน่าสนใจ เกาะสมุยมีมะพร้าวเป็นพืชที่ดึงดูด มาครั้งนี้มาสำรวจติดตามหลังจากมีอะไรลงไปในพื้นที่บ้างแล้ว ก่อนหน้านี้มีการส่งแตนเบียนมาปล่อย สักประมาณ 1 เดือนแล้ว เป็นที่สังเกตว่าที่ต.แม่น้ำ ที่มีปัญหาหนอนหัวดำมาก มาครั้งนี้บางส่วนลดน้อยลง ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากฝน และอาจเพราะแตนเบียนด้วย?? ที่น่าสนใจคือสมดุลธรรมชาติ โดยปกติแมลงที่ระบาดมักไม่ใช่แมลงท้องถิ่น พอมาเจอสภาพที่เหมาะสมจึงเกิดการระบาด เมื่อเวลาผ่านไป อาจมีศัตรูธรรมชาติมาควบคุมและเพิ่มประชากร แต่อาจต้องใช้เวลา หากมีแมลงมีแมลงที่สามารถจะควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักจัดการ/นักวิชาการก็จะนำมาใช้ แมลงในท้องถ่นก็เช่น หนอนหน้าแมว เป็นหนอนร่านชนิดหนึ่ง (Darna furva) ที่สำคัญในปาล์มม้ำมัน ซึ่งระบาดรุนแรงคั้งแต่ชุมพรถึงสงขลาประมาณหมื่นกว่าไร่ จากปรากฏการณ์เอนิโญ นานประมาฌครึ่งปี แล้วก็หายไป ฝนตกมากน่าจะมีส่วนช่วยลดประชากรลง บีทีน่าสนใจในสภาพที่ฝนดีน่าจะตรวจสอบดูว่าบีทีมีอยูในหนอนที่ตายไหม การวิเคราะห์ข้อมูลน่าจะต้องการการเกษตรข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้น เช้น อุณหภูมิ ความชื้นที่ยอดมะพร้าว

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

หนอนหัวดำมะพร้าว

เพิ่งได้ทำความรู้จักหนอนหัวดำมะพร้าวไม่นานมานี้ ประมาณปลายปีที่แล้วที่กุยบุรี แม้จะทำงานทางด้านการเกษตรแต่ก็เหมือนคนนอกวงการไม่ทราบสถานการณ์หรือทราบแต่ก็ไม่ตระหนักถึงความรุนแรง ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หากจำได้ประมาณ ปี 2547 บ้านเราก็เจอปัญหาแมลงทำลายมะพร้าวที่รุนแรงมาครั้งหนึ่ง คือ แมลงดำหนาม ทำลายมะพร้าวทั้งในระยะหนอนและตัวเต็มวัยกัดกินผิวใบอ่อนมะพร้าว (ยอดกลมที่ยังไม่คลี่เต็มที่) ทำให้มีอาการใบไหม้สีน้ำตาลหากมีการระบาดมากจะเห็นต้นมะพร้าวที่ถูกทำลายมีใบขาวโพน หรือ เรียกว่าโรค "หัวหงอก"
ความเสียหายจะรุนแรงยิ่งขึ้นในสภาพพื้นที่แห้งแล้งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดแพร่ไปในบริเวณกว้างสันนิษฐานว่ามาจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ทำให้เอื้อต่อการเคลื่อนย้ายและการเพิ่มปริมาณประชากรอย่างรวดเร็วในแหล่งที่มีอาหารบริบูรณ์และปราศจากศัตรูธรรมชาติคอยควบคุม การควบคุมครั้งนั้นใช้การควบคุมโดยชีววิธี โดยนำเข้าแตนเบียนแมลงดำหนามมาจากเวียดนาม ช่วงนั้นไม่ได้มีโอกาสเห็นพื้นที่จริง แต่จากที่ได้รับการบอกเล่ามาก็รุนแรงมาก แต่แตนเบียนควบคุมได้ผลในเวลาต่อมา
หนอนหัวดำ ผู้รุกรานรอบใหม่น่าจะมาที่ไกลมาเจอที่เหมาะสม เลยแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำความเสียหายรุนแรงจนทำให้มะพร้าวยืนต้นตายได้ ที่รุนแรงมากก็ที่ทับสะแก กุยบุรี การควบคุมก็ทำได้ยากเพราะเขาจะสร้างอุโมงมาห่อหุ้มไว้ ตอนนี้ยังไม่มีการควบคุมที่ได้ผล รอแตนเบียนชนิดที่มีประสิทธิภาพอยู่
พื้นที่สมุยกลับพบเหตุการณ์ที่แปลกมาก คือก่อนที่พวกเราจะเข้าไปทำงานก็คาดการณ์ว่าแมลงดำหนามคงระบาดรุนแรงมาก เพราะก่อนหน้านี้เราเข้าทำงานที่กุยบุรีที่นั่น หนอนหัวดำระบาด  ภาพที่เป็นประสบการณ์ก็บอกว่าคงเป็นหนอนหัวดำ แต่หลังจากสำรวจอย่างจริงจังแล้วพบว่าที่เกาะสมุยมีแมลงศัตรู 4 ชนิดระบาด รุนแรงแตกต่างกัน
แมลงดำหนามที่เงียบหายไปหลายปี แต่พอปี 2555 พบระบาดอีกครั้งที่เกาะสมุยแต่รุนแรงน้อยกว่าครั้งก่อน ตามคำบอกเล่าของคนที่เห็นทั้ง 2 เหตุการณ์ กลายเป็นแมลงที่พบทั่วไปทั้งเกาะ พบแทบทุกพื้นที่แต่ไม่รุนแรงยกเว้นทางดานตะวันออก และด้านใต้ของเกาะ หนอนหัวดำพบรุนแรงทางตอนเหนือของเกาะ ด้วงแรดพบทั่วไปแต่เขาไม่ได้ทำให้มะพร้าวตาย แต่เขาจะเปิดช่องทางให้ด้วงงวงเข้าทำลายซ้ำจนยอดหักและยืนต้นตายในที่สุด ซึ่งมะพร้าวที่โดนด้วงงวงทำลายจะพบมากหน้าเมือง มะเร็ด และบ่อผุด ซึ่งมีขยะอินทรีย์มาก เช่น มาจากชุมชน ปางช้าง บ่อนควาย ต้องใช้หลายวิธีร่วมกันในการควบคุม และคนในเกาะสมุยคงต้องช่วยกัน หน่วยงานของเราได้ส่งแตนเบียนเข้าไปในพื้นที่เป็นระยะและอยากให้กระจายในพื้นที่ที่เป็นปัญหา ไม่อยากให้ไปทิ้งกองอยู่ที่เกษตรอำเภอ หรือเทศบาล หากทุกท่านได้รู้ว่ากว่าพวกเราจะเลี้ยวแตนเบียนออกมาได้ต้องใช้ความพยายามมากขนาดไหน ต้องดูแลอย่างดี ประคบประหงม แต่ผู้รับไม่ทราบว่ากว่าจะเป็นแตนเบียน 1 ตัวต้องใช้ทรัพยากรมากขนาดไหน พวกเราเสียใจที่ได้รับคำบอกกล่าวว่าถูกทิ้งกอง  หรือปล่อยให้มดมากินอะไรทำนองนี้ การปล่อยรอบใหม่จึงอยากช่วยประชาสัมพันธ์ให้รู้ทั่วกัน เพื่อให้การควบคุมได้ผล