วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2551

แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช

ได้มีโอกาสอบรมการใช้ DSSAT ซึ่งเป็นแบบจำลองในการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งก็ได้เรียนรู้พร้อม ๆ กับ การทำงานในเรื่องการจำลองการการผลิตมัน ฯ ข้อมูลจริงจากงานทดลอง ทดสอบในสถานี และทดสอบในไร่เกษตรกร แบบจำลองที่มี จะทำนายผลได้แม่นยำมากแค่ไหน และ บอกทิศทางการพัฒนาการผลิตได้หรือไม่ มันฯ ปีนี้จัดเป็นพืชทอง ราคาดีมาก พลังงานก็ให้ความสนใจ เราจะผลิตพอกับความต้องการของประเทศหรือไม่
ผลผลิตบ้านเราต่ำมาก พืชนี้เคยตกเป็นจำเลยของสังคมหากยังจำได้ เพราะฉะนั้นระบบการผลิตมั้นตั้งแต่อดีตจึงเน้นดึงจากทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ค่อยมีงานที่เน้นการผลิตอย่างยั่งยืน ฟังจากที่เพื่อนักวิชาการในพื้นที่เล่าให้ฟัง ท่อนมันที่แจกจ่าย/ขายให้เกษตรกร จากศูนย์/สถานีท่อนขนาดแขน ประมาณ 2-3 ปีจะเหลือขยาดเท่านี้วก้อย เพราะปลูกมันฯ แล้วตามด้วยมันฯ แล้วก็ตามด้วย มัน ฯ และก็พันธุ์เดิม ๆ แทนที่จะเปลี่ยนพันธุ์บ้าง สลับด้วยพืชอื่นบ้าง ทฤษฏี limiting factor อธิบายได้ดีจริง ๆ เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการใช้ทรัพยากร ภาครัฐควรเป็นตัวอย่างระบบการผลิตแบบยั่งยืน และคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรของคนรุ่นต่อไป
แบบจำลองของพืชจริง ๆ แล้วก็มีที่น่าสนใจหลายตัว แต่อาจเป้นเพราะไม่มีโอกาศได้ทำความรู้จัก ค่าใช้จ่ายสำหรับการได้มาก็มีความสำคัญ และยังต้องการการเรียนรู้เพื่อใช้งาน หลายคนบอกว่ามีข้อจำกัดในการใช้งาน แต่เราจะสร้างเองก็คงไม่สำเร็จ เราก็ต้องเรียนรู้จากสิ่งที่มีอยู่แล้วก่อน