วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ยางพาราภาคเหนืออีกที

ช่วงน้ำท่วมกรุงเทพ ทำให้คนกรุงเทพต้องปรับเปลี่ยนวิถ๊ชีวิตประจำวันใหม่ ปกติมักชอบนั่งทำงานที่ทำงานมีนจนมืดจนค่ำ ต้องหันกลับมาสายบ้าง กลับเร็วขึ้น ต้องหันมานั่งรถเมล์ เพราะรถยนต์ที่เคยขับเอามาใช้ไม่ได้ เกษตรบางเขนวันนี้น้ำแห้งแล้ว มาทำงานได้ปกติ แต่การเดินทางมายังไม่สะดวก รถเมล์ยังวิ่งไม่ได้ทุกสาย หรือไปได้ทางจำกัด สัปดาห์นี้ก็ต้องช่วยตัวเองมากขึ้น เพราะไม่มีรถบริการจากจุดต่าง ๆ เข้ามาแล้ว ยังคงมีบ้างจากประตูกรมส่งเสริมและ ประตู 1 เข้ามาในหน่วยงาน เมื่อวานไปดูรถจักรยานที่จอดไว้ประตูวิภาวดีที่แห้งแล้ว แต่รถจักรยานเต็มไปด้วยคราบมีรอยท่วมมิดรถ ต้องรอทำความสะอาด เป็นปีแรกที่กรมวิชาการเกษตรน้ำท่วม
น้ำท่วมปีนี้ก็เป็นโอกาสดีที่ได้ไปดูสวนยางที่ภาคเหนือ ที่หลายพื้นที่เขากรีดกันหน้าที่ 2 แล้วก็มี ที่ตื่นเต้นมากน่าจะเป็นที่อำเภอภูซาง ยางพารามากมีกันแทบทุกบ้าน แล้มีการกรีดกันมาลายปีแล้ว เห็นเกษตรกรมีความสุข มีผลผลิต ขายได้ราคา แต่ที่ไม่เปิงใจน่าจะเป็นที่ยุงเยอะมาก เนื่องจากสวนยางทำให้เกิดร่มเงาเป็นบริเวณกว้างเป็นที่อยู่อาศัยของยุง เกษตรกรมีประสบการณ์ในการดูแลสวนแตกต่างกัน มีเทคนิดในการเพื่มผลผลิตแตกต่างกันมาก

เกษตรกรใช้นิ้วจุ่มดูเปอร์เซนต์เนื้อยางที่น้อยลง
การไปช่วงนี้ทำให้เห็นว่ายางหน้าหนาวหากกรีดจะหยุดไหลช้า และช่วงนี้เป็นช่วงที่มีเนื้อยางน้อย คือเป็นน้ำมากกว่าเนื้อเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำยางช่วงอื่น ๆ ของปี ช่วงที่เป็นดอยจะมีน้ำน้อยกว่าช่วงที่เป็นที่ลุ่ม ซึ่งก็อธิบายได้ไม่ยากตามความชื้นในดินที่มีในแต่ละพื้นที่ที่ปลูกยาก หากมีมากน้ำยางจะมีน้ำมากกว่าจนกว่าระดับน้ำ-ความชื้นในดินจะลดลง ดังนั้นในช่วงนี้หากเกษตรกรกรสังเกตุเห็นว่าย้พยางเหลว แข็งตัวช้าให้ผสมน้ำยางในสัดส่วนที่มากขึ้นกว่าน้ำเวลาทำยางแผ่น เกษตรกรบางรายให้ข้อสังเกตุว่าหากน้ำอุ่นจะทำให้ยางแข็งตัวเร็วกว่า
มีที่น่าห่วงคือการกรีดและการรักษาหน้ากรีดยาง บางรายทำได้ดี หน้ากรีดสวย หน้าไม่แห้ง ไม่มีรอยกรีดลึก เกษตรกรให้ข้อสังเกตุช่วงนื้เปลือกพัฒนาได้เร็ว

หน้ากรีดที่กรีดได้สวย น้ำยางมากในช่วงนี้แต่เนื้อยางต่ำ
ส่วนที่หน้ากรีดแย่ ๆ ก็มีมาก แถมกรีดยางต้นเล็กอีกต่างหาก เรื่องนี้ห้ามกันยาก การกรีดยางต้นเล้กจะทำให้อายุของต้นยางที่จะสามารถกรีดได้สั้นลง เนื่องการกรีดยางต้นเล็ก เปลือกจะบางมีโอกาสที่จะกริดลึกเลยเปลือกมีมาก น้ำยางก็ได้น้อย เกษตรกรที่ดูเลสวยสวย ๆ นี้ บอกว่าสวนตัวเองจะกรีดยางต้นโตกรีด 1/3 ต้นก็พอ แต่หากต้องกรีดจริง ควรกรีดที่ระดับต่ำลงมาเพราะการเปิดกรีดที่ 150 ซม กับต้นยางเล็กเปลือกจะบาง และอีกประการหนึ่งควรจะป้องกันการชะล้างหน้าดินในแปลงที่มีพื้นที่ลาดเท ควรมีสิ่งปกคุมดิน เช่วนในยาง เศษกิ่งยางที่ล่วงหล่นไม่ควรกวาดออกหรือเผา ควรให้คลุมดินไว้ หากทำได้ให้ไถกลบลงดินบ้างนอกจากจะทำให้ดินอุดมสมบรูณ์แล้วยังช่วยให้การซึมซาบน้ำลงดินดีขึ้นด้วย หรือทำเป็นจุดชลอน้ำไม่ให้ไหลบ่าทันที ให้ไหลลงดินบ้าง

นอกจากไปดูสวนชาวบ้านแล้วยังมีโอกาสไปดูสวนของนักลงทุนอีก (ขอขอบคุณที่เจ้าของอนุญาตให้เข้าชม) เขาปลูกยาง 1 ปี โตมาก ๆ ด้วยให้น้ำจากบ่อที่เลี้ยงหมูอยู่บนบ่อทุกสัปดาห์ ทำให้ยาง 1 ปีต้นสูงมากใหญ่มาก ดูรูปเอาเองเลย

ยางต้นนี้เป็นยาง RRIM 600 อายุปีเศษเทียบกับคนตัวโตๆ เห็นถึงศักยภาพของการเจริญเติบโต แต่ในปีต่อ ๆ ต้องรอดู มีผู้ให้ข้อสังเกตุว่าปีต่อไปน่าจะขยายขนาดของต้น แต่ทรงต้นจะเป็นอย่างไรจะพยายามติดตาม

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พฤศจิกาน้ำท่วมกรุง

ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดน้ำท่วมกรุงเทพได้ยาวนานขนาดนี้ โดยเฉพาะเขตปริมณฑลที่ขังยาวนาน ปริมาณน้ำจำนวนมากเขาเดินทางใช้เวลานาน แต่ก็ด้วยการคากการณ์ที่ผิดพลาดทำให้กรุงเทพและปริมณฑลเป็นฝ่ายตั้งรับน้ำที่เขาเรียกว่าก้อนใหญ่ ปริมาณขนาดใหนไม่สามารถคาดเดาได้ หรือไม่ก็ไม่กล้าประเมิน ช่วงต้นเดือนพ.ย.เดินทางไปทางเหนือกำแพงเพชรน้ำลดลงมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน นำที่มากเหล่านั้นไม่มีใครคิดจะกักเก็บไว้ใช้ ไม่มีหน่วยงานใดคิดจะนำมาใช้ประโยชน์ เพราะว่าปีนี้น่าจะแล้งตามมาติด ๆ น้ำฝนทั้งหมดที่ตกลงมาในบริเวณภาคเหนือในรอบปีที่ผ่านมามากกว่าค่าปกติ จึงทำให้มีปริมาณน้ำที่ไหลลงล่างมีมากน้ำในเขื่อนทางตอนบนจึงมีรายงานว่ารับน้ำไว้เต็มหรือเกือบเต็มความสามารถของเขื่อน ซึ่งต่างจากภาคตะวันตกที่ปริมาณน้ำฝนปีนี้น้อยกว่าปกติ ทำให้เขื่อนทางด้านตะวันตกไม่มีน้ำ
2 เดือนที่น้ำใช้เวลาเดินทางจากทางเหนือลงสู่กรุงเทพ พร้อมทั้งทำความเสียหายกับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และที่อยู่อาศัยจำนวนมาก คงมีคำถามอยู่ในใจผู้คนมากมายว่าหน่วยงานของรัฐทราบข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการจัดการกับน้ำนี้หรือไม่ ผู้รับผิดชอบโดยตรงทราบหรือไม่และได้ใช้ข้อมูลเหล่านั้นมาช่วยในการตัดสินใจหรือไม่
ดอนเมือง เกษตร กลายเป็นที่ลุ่มรับน้ำ ไม่ดอนเหมือนชื่อเลย ช่วงนี้น้ำจะระบายออกได้คือลงทะเล ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม แต่ถ้าคิดต่างไป หลาย ๆ กิจกรรมตั้งใช้น้ำ ถ้าเราช่วยกันนำน้ำ หรือสูบใส่รถบรรทุกน้ำไปใช้ เช่น ทำความสะอาดถนน บ้านเรือน รถน้ำต้นไม้ ซึ่งมองไปหลายที่ก็เริ่มเหี่ยวแห้งแล้ว หรือแม้แต่สูบกลับขึ้นไปทางเหนือบ้าง ก็น่าจจะดีกว่าให้มีทางเลือกอยู่ทางเดียวที่ให้ลงทะเล ช่วงนี้หลายพื้นที่เริ่มน้ำลด เราก็เข้าไปล้างทำความสะอาดด้วยน้ำที่ท่วมนั้นแหละก่อนเป็นระยะจะได้ไม่ต้องออกแรงขัดมากเมื่อน้ำแห้ง ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบภัยทุกคน

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พฤศจิกาอ่วม

น้ำฝนปีนี้มากช่วงปลายปีทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมใหญ่มาก ๆ ที่ที่ไม่เคยมีปัญหาน้ำท่วมมาก่อนก็เกิดน้ำท่วม รุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งคราวนี้คนกรุงเทพและรอบข้างเจอแบบไม่สามารถใช้ชีวิตแบบปกติได้ ต้องอพยบกัน เก็บของขึ้นที่สูง ยอมรับกับมัน บางคนโชคดีมีหลายบ้านจึงสามารถย้ายตัวเองมาอยู่ต่างจังหวัดซึ่งปลอดภัยกว่า และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่ต้องยุติงานหรือกิจกรรมที่ไม่สามารถทำได้ไป จะช่วยลดปัญหาที่หน่วยงานต่าง ๆ ต้องคอยมาช่วยเหลือลงไป
ประมาณการณ์ต่าง ๆ ดูตำกว่าที่เป็นจริงหรือเกิดคาดมากก ภาครัฐจึงไม่ประสบผลสำเร็จในการสกัดกั้น หรือจัดการน้ำจำนวนมหาศาลนี้ได้ น้ำจำนวนมหาศาลนี้มาจากไหน ยังคงต้องการคำตอบ เมืองไทยมีคนเก่งก็มากแต่ไม่สามารถนำความรู้ และข้อมูลต่าง ๆ มาใช้จัดการอย่างได้ผล มีแต่ความล้มเหลวซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ราชการก็หยุดงาน เพราะโดยสภาพทำงานไม่ได้ แต่จริง ๆ แล้วหลายหน่วยงานมีหลายแห่ง น่าจะพิจารณาย้ายที่ทำงานพร้อมอพยบคนได้ด้วย งานที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่นจะได้สามารถดำเนินต่อไปได้ จนปัจจุบันน้ำยังไม่ลด และเคลื่อนที่ไปทำความเสียหายระหว่างเส้นทางไปเรื่อง ๆ เหตุการณ์นี้ถูกจงใจให้ไปทางใดทางหนึ่ง ปกป้องทางหนึ่งด้วยเหตุผลที่สมควรแก่เหตุหรือไม่ ถนนที่แบ่งเขตสร้างความแตกต่างในสังคมมาก ใครที่มีสิทธิพิเศษก็ได้รับการปกป้อง หากเราปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติเราน่าจะพ้นวิกฤตินี้ไปแล้ว
หน่วยงานที่ได้รับน้ำท่วมก็ไม่สามารถเดินทางไปทำงานได้สะดวก ถ้าจะไปจริง ๆ ก็ไปได้ แต่ต้องใช้ความพยายามมาก เวลามาก และก็คงไม่มีสมาธิทำงานด้วย การทำงานณ.ที่ใด ๆ ก็ได้น่าจะนำมาใช้ได้ดีกว่าปล่อยเวลาไปเลย หรือไปทำงานในที่ที่อื่นเพื่อให้ทำงานได้ งานต้องดำเนินต่อไป ถ้ามาเศร้าซึมกับเหตุการณ์นี้ไปหมดก็คงหดหู ไม่ได้งาน เสียโอกาสด้วย
อยากให้ทุกคนยอมรับ สอนให้เด็ก ๆ เห็นความสนุกสนานจากน้ำท่วมบ้างไม่อยากให้เด็กรุ่นนี้ซึมเศร้ากับเหตุการณ์อย่างนี้