วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ฝนตกเดือนธันวาคม

ฝนตกเดือนธันวาคม เมื่อวันจันทร์ที่ 13 ฝนตกหนักตอนเช้ามืด วันนั้นหลายคนไปทำงานสาย นับว่าแปลกมากอากาศที่เปลี่ยนไป แต่ก็ไม่แค่นี้วันที่ 16 ก็ตกซ้ำอีกตอนเย็น

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังยังวนเวียนอยู่...ยังไม่วางใจ

ให้โอ๋ไปสำรวจเพลี้ยที่ระยอง เนื่องจากการสำรวจเดือนก่อนพบเพลี้ยแป้งสีชมพูขนาดที่ทำให้ยอดหงิก จากแปลงรวบรวมพันธุ์อายุมันประมาณ 2 เดือน พบวัชพืชมาก ต้นมีการเจริญเติบโตดีพบอาการแตกเป็นพุ่มแจ้บ้างเป็นบางต้น จากการสุ่มตัวอย่าง 50 ต้น พบอาการยอดหงิก 1 ต้น ในพันธุ์ระยอง 60 ซึ่งในยอดหงิกพบว่ามีเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู พบทั้งในระยะถุงไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ส่วนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังอื่น ๆ ไม่พบว่ามีการระบาด โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งสีเขียวซึ่งมีปริมาณลดลงอย่างมากจากครั้งที่สำรวจเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2553 และพบแมลงศัตรูอื่น ๆ ของมันสำปะหลัง เช่น แมลงหวี่ขาวแต่พบในปริมาณน้อย นอกจากนี้ยังพบแตนเบียนเพลี้ยแป้งสีชมพูตัวเมีย 1 ตัว



แปลงทดสอบของอ.สุเทพ ต้นมันสำปะหลังไม่สม่ำเสมอกัน วัชพืชมาก และพบลักษณะอาการยอดหงิกหลายต้น ซึ่งในยอดหงิกพบเพลี้ยแป้งสีชมพู พบทั้งในระยะถุงไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยเป็นจำนวนมาก โดยต้นที่แสดงอาการยอดหงิกนั้นจะพบเพลี้ยแป้งสีชมพูเข้าทำลายทุกยอดจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ทราบว่าไม่มีการปล่อยแตนเบียนเพลี้ยแป้งสีชมพูแล้ว ส่วนที่พบแตนเบียนเป็นแตนเบียนที่ปล่อยในครั้งก่อน ๆ ซึ่งจะพบในแปลงเฉลี่ยประมาณ 1 – 7 ตัว มีข้อสังเกตุเกี่ยวกับแปลงที่พบเพลี้ยแปลงนี้ และการไม่พบในแปลงอื่นๆ ประกอบกับการตรวจสอบกับปริมาณน้ำฝนจากสมมติฐานเดิมน่าจะต้องมีประเด็นอื่น เพิ่มเติมเช่น การดื้อยา กลไกลภายในของพืชเอง

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

กันยายนเดือนที่มีแสนเม็ดฝน

จากต้นปีที่ผ่านมาพวกเราต้องผ่านช่วงแห้งแล้งที่ยาวนาน แต่ก็ไม่กี่เดือนโดยเฉพาะเดือนกันยายนนี้ฝนมามากเหลือเกิน บางพื้นที่ก็เป็นผลดีบางที่ก็ดูโหดร้าย พืชก็ฉ่ำน้ำ เกษตรกรรู้ว่าช่วงที่ดินเปียกอย่างนี้ก็จะไม่ไปเหยียบย่ำไร่ เพราะจะไม่ดีต่อต้นพืช
มาถึงช่วงนี้ได้มีโอกาสดีที่ได้พบปะเกษตรกรที่ทำมันสำปะหลังจำนวนมาก ในเวลาอันสั้นๆ ด้วยการไปอบรมในโครงการกระจายพันธุ์ดีและท่อนพันธุ์มันสะอาด ซึ่งไปมา 2 แห่งแล้ว ยังคงเหลืออีก 2 แห่ง แต่ เราเหลืออีกครั้งเดียว เนื่องจากการใช้งบประมาณปลายปี ที่ทำให้การเดินทางไกลๆ มีปัญหา และโชคดีมากที่มีพี่ ๆ ที่เก่ง ๆ สามารถบรรยายได้ดี หรือดีกว่า และมีประสบการณ์ในการบรรยายกับเกษตรกรมากกว่า การอบรมเกษตรกรนับว่าค่อนข้างยาก ไม่มั่นใจว่าเกษตรกรฟังรู้เรื่อง เข้าใจ หรือคัดค้านอย่างไรบ้าง ผ่านมา 2 ครั้งก็พยายามพูดคุยกับผู้ฟังบ้างเมื่อมีโอกาศ เกษตรกรส่วนใหญ่กลัวไมค์ ก็เหมือนกับเรานั้นแหละเวลาไปเข้ารับอบรม ชอบคุยในกลุ่มของตนมากกว่า เกษตรกรรุ่นใหม่เดี่ยวนี้กระตือรือร้นมาก สนใจพัฒนาเทคนิคการผลิตของตน และยังมีน้ำใจแบ่งปันกับเพื่อเกษตรกรด้วยกัน แต่บางเทคนิดก็เฉพาะพื้นที่มาก อย่างกับการเตรียมดินก็มีเทคนิคที่จะเตรียมดินอย่างไรให้มันสำปะหลังเติบโตดี ไม่เตรียมดินขณะดินแห้ง หรือแฉะเกินไป ดินจะสามารถเก็บความชื้นในช่วงแรก และโครงสร้างของดินจะดีทำให้การเติบโตในช่วงแรกดี

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ระบบเกษตรแห่งชาคิ หาดใหญ่

เป็นครั้งแรกที่มาร่วมงานระบบเกษตรแห่งชาติ ที่จริงแล้วก็อยากมาร่วมตั้งแต่ปีที่แล้วที่อุบล แต่ติดงานอะไร จำไม่ได้จึงไม่ได้ไป ปีนี้ก็ไม่ได้เตรียมตัวเลยไม่ได้ส่งเรื่องเข้าร่วมนำเสนอ จึงทำโปสเตอร์มาแลดง 2 เรื่ิองเกี่ยวข้องกับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และดัชนี้ชี้วัดความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีคนสนใจและอยากแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วย ก็ถือว่าเป็นโอกาศดีที่ให้คนที่ทำงานด้านที่แตกต่างกันและอยากเติมเต็มส่วนที่ขาด หรือต้องการให้ก้าวหน้าไปอีก เป็นข้อดีการจัดประชุมระดับชาติ งานนี้เราก็ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้เต็ม ๆ และยังเห็นว่ามีกลุ่มคนที่อยากแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้อยู่พอควร อาจารย์ท่านหนึ่งที่สงขลาบอกว่ายางพาราทางภาคใต้ปีนี้ได้รับผลกระทบมาก เพราะปีนี้แล้งยาว ฝนมาก็หนัก เราน่าจะนำมาพยากรณ์ผลผลิตได้ ไม้ผลก็เช่นกันเราจะได้แลกเปลี่ยนกับหน่วยงานภายนอกที่เต็มใจ
การประชุมวันที่ 2 มีการสรุปทิศทางการพัฒนางานด้านระบบเกษตรและจะผลักดันให้เกิดผลกระทบในวงกว้างได้อย่างไร ในมุมองของตัวเองก็เห็นพัฒนาการทั้งโครงสร้างขององค์กรอย่างกรมวิชาการเกษตร สถาบันการศึกษา งานวิจัยที่นำเสนอเปลี่ยนไปตามเวลา ช่วงนี้เรียกได้ว่าฟุ้งกระจายมาก แนวทางในการคิดเชิงระบบในงานวิจัยของกรมวิชาเกษตรมีน้อย ปัญหาหลัก ๆ น่าจะอยู่ที่การส่งผ่านความรู้ในการวิจัยทางด้านนี้ ขาดการจัดการความรู้ ระบบการเสนองานวิจัยยังยึดติดกับระบบงานทดสอบในพื้นที่มากกว่าการศึกษาเชิงระบบ ยังไม่มีรูปแบบการทำงานวิจัยกับเกษตรกรที่เป็นที่ยอมรับ คงต้องพยายามผลักดันต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เกาะล้าน

ได้มาเยี่ยมเยือนเกาะล้านอีกครั้งมาครั้งนี้ไม่กี่ชั่วโมง ก็ทำให้ต้องกลับมานั่งเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเกาะล้าน หลายคนรู้จักเกาะล้านในแง่มุมต่าง ๆ หากไม่ได้เป็นนักท่องเที่ยว มาเล่นน้ำ พักผ่อน การมาที่นี่น่าจะเป็นสิ่งที่ดึงดุดเกี่ยวกับการพัฒนาและใช้งานพลังงานทางเลือก จำได้ว่าก่อนมาครั้งก่อนก็ได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับฟาร์มกังหันลมขนาดใหญ่ที่เกาะล้านนี้ ออกรายการทางทีวีหลายครั้งน่าสนใจมาก ในฐานะคนนอกที่ไม่รู้จักความเป็นมา ก็สนใจอยากรู้จักเขาบ้าง แต่พอมาถึงถามหาก็กลับได้รับคำตอบที่ผิดคาด ใช้งานไม่ได้จริง ไม่ได้ถูกบำรุงรักษาให้ใช้งานได้ ทั้งสภาพของตัวกังหันและแบตเตอร์รีที่ใช้เก็บกักไฟ คนพื้นเพเกาะช้างยังรู้สึกเสียดายงบประมาณที่ใช้ก่อสร้างแต่กลับนำมาใช้งานไม่คุ้มค่า และตอนนี้ก็เห็นกำลังก่อสร้างอาคารรูปร่างคล้ายปลากระเบน ติดตั้งแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ ดูเหมือนว่ากิจการในเกาะทำเพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม แต่น่าจะมีความขัดแย้งระหว่าชุมชนและผู้บริการเมืองพัทยา ว่าการดำเนินการเช่นนั้นดำเนินการไปเพื่อความอยู่รอดของเกาะช้างจริงหรือ
อยากให้การบริหารราชการท้องถิ่นทำไปโดยชุมชนมีส่วนร่วมและคำนึงสิ่งแวดล้อม ไม่อยากให้งบประมาณของทางราชการได้รับการพูดถึงจากชาวบ้านว่ามีการผลประโยชน์แอบแฝง

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อสังเกตเกี่ยวกับภูมิอากาศ

เดือนมิถุนายน เข้าฤดูฝนแล้ว แต่สภาพอากาศยังร้อนมากๆ หากไปยืนอยู่กลางแจ้งจะรับรู้ได้ถึงพลังงานรังสีดวงอาทิตย์ที่รุนแรงมาก เผาเหมือนจะให้ใหม้กันไปเลย พืชจะปรับตัวอย่างไร สภาพอากศในช่วงที่ผ่านมาทำให้พืชแสดงออกหลายอย่าง เช่น ตายไปเลย มะม่วง มะพร้าว มะกรูด ชมพู่ ดาหลา ที่เคยปลูกอยู่ที่บ้านตายหลังจากอยู่กันมาหลายปี พืชใบมีขนาดเล็กลง ไม่แผ่ขยายเต็มที่สังเกตได้จากเงาะ ลองกอง ลดจำนวนพื้นที่ใบลง พืชออกดอกและสุกแก่เร็วขึ้น ช่วงการสุกแก่สั้นลง การระบาดของแมลงศัตรูพืชมากขึ้น เนื่องจากโดยธรรมชาติแมลงศัตรูในธรรมชาจิจะควบคุมกันเอง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทำให้แมลงศัตรูธรรมชาติบางชนิดลดลงทำให้แมลงศัตรูพืชขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและเกิดการระบาดขึ้นได้ เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายกฏการควบคุมโดยธรรมชาติให้เกษตรกรเข้าใจ เหมือนกับที่ประสบอยู่การมีแมลงชนิดหนึ่งมากไป เช่น แมลงช้างปีกใส ซึ่งโดยตัวมันเองแล้วจจัดเป็นแมลงที่มีประโยชน์ แต่อาจเป็นอุปสรรคในการเพาะขยายพันธุ์แตนเบียนซึ่งต้องการเพลี้ยแป้งเป็นอาหารเช่นกัน

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อากาศปีนี้

จำได้ว่าช่วงเช็งเม็งของทุกปี ต้นเมษายน จะหามะม่วงเขียวเสวยอร่อย ๆ กินยากมากเพราะถ้าเป็นมะม่วงตามฤดูกาลแล้วจะเพิ่งเรื่มแก่ ต้องเลือกหน่อยไม่เช่นนั้นจะเจอเปรีย้ว มะม่องกินสุกก็ต้องเจอเก็บอ่อนมาบ่ม แต่ปีนี้เช็งเม็ง กลับหามะม่วงไม่ได้เพราะสุกแก่เกือบหมดสวนแล้ว โดยเฉพาะของพี่บัวลอยหมดสวนแล้ว ฉนั้นจึงชี้ให้เห็นว่าปี 2552-2553 อากาศเปลี่ยนแปลงมาก อากาศร้อนขี้นทำให้พืชสุกแก่เเร็วขึ้น พืชอื่น ๆ ก็คงทำนองเดียวกัน เพียงแต่ไม่ได้มีการบันทึก จดจำไว้แน่นอนเท่านั้น ปี 2553 ฤดูฝนมาช้า ฝนแรกตกช้ามาก ปลูกพืชไม่ได้ มันสำปะหลังชัดเจน ปกติประมาณมีนาคม ก็ปลูกได้แต่ปีนี้พฤษภาคมยังไม่ได้ปลูก ศัตรูธรรมชาติก็มาก รุนแรง เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในข้าว เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เพลี้ยแป้งสีชมพูก็เป็นชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีประวัดิการระบาดในประเทศมาก่อน หนอนหัวดำในมะพร้าวก็เช่นกัน
การเกษตรบ้านเราอาจต้องถึงเวลาลดขนาพื้นที่ลงแล้วละ

วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

ฝนหรือการให้น้ำช่วยได้

ทำงานกับแปลงมันสำปะหลังที่มีเพลี้ยแป้งมาจนสังเกตได้ว่าฝนในปริมาณที่เพียงพอช่วยได้ แต่ตอนนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเท่าใดแน่ ปริมาณ หรือความยายยายของฝนที่ช่วย เขาสามารถควบคุมได้ดีกว่าการใช้สารเคมีหรือแตนเบียนอีก ข้อมูลยังต้องการการยืนยันด้วยข้อมูลจากแหล่งปลูกอื่น แต่ก็อยากให้ข้อมูลแก่เกษตรกรทั้งทางตรงและทางออกจากผู้ที่ได้อ่านบันทึกนี้ เพราะเกษตรกรจำนวนมากใช้สารเคมีจนไม่รู้ว่าจะใช้อะไร เจ้าของร้านยารวยแย่ แถมบางร้านแนะนำผิดทำให้เกษตรกรเสียเงินเกินจำเป็น และใช้สารชนิดเดียวกันผสมกันด้วยความที่มีชื่อการค้าต่างกัน นั่นหมายถึงการใช้ยา 2 เท่า และเร่งให้มีการดื้อยาเร็วขึ้นโดยไม่รู้ตัว
จึงอยากแนะนำให้ใช้น้ำเปล่าฉีดพ่นในบริเวณที่มีเพลี้ยแป้ง คงต้องฉีดใต้พุ่มใบเพื่อให้น้ำเข้าถึงที่อยุ่ของเพลี้ยแป้ง ซึ่งพอดีกับบทความของดร.โอภาสที่แนะนำให้เปลี่ยนการปลูกมันโดยอาศัยน้ำฝนมาให้น้ำช่วย ซึ่งนอกนากจะช่วยควบคุมเพลี้ยแป้งได้ยังทำให้ผลผลิตมันเพิ่มขึ้น
การเลื่อนเวลาปลูกมาปลูกในช่วยที่เริ่มมีฝนประมาณต้นพฤษภาคมจะช่วยได้ ฝนช่วยควบคุมเพลี้ยแป้งได้แน่นอนแต่ท่อนพันธุ์ต้องแช่สารเคมีก่อนปลูกจะช่วยควบคุมเพลี้ยแป้งในช่วงแรกหากไม่มั่นใจว่าท่อนพันธุ์ปลอดภัยจากเพลี้ยแป้งหรือไม่

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

ปล่อยแตนเบียนเพลี้ยแป้งสีชมพู

วันนี้มีพิธีปล่อยแตนเบียนสำหรับเพลี้ยแป้งสีชมพูที่ทำลายมันสำปะหลังที่มูลนิธิมันสำปะหลัง ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา การปล่อยแตนเบียนในสภาพธรรมชาตินี้เป็นครั้งที่ 2 หลังจากการปล่อยครั้งแรกที่ศวร.ระยองเมื่อธันวาคม52 ซึ่งครั้งนั้นการปล่อยปรสบความสำเร็จอย่างมากเนื่องจากแตนเบียนสามารถอยู่และขยายพันธุ์ได้ในสภาพธรรมชาติ การปล่อยวันนี้เป็นการรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพูในมันสำปะหลัง มีเกษตรกรจากต.ห้วยบง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาร่วมงานจำนวนมาก มูลนิธิมันสำปะหลังจะเป็นแหล่งหนึ่งที่จะผลิตแตนเบียนเพลี้ยแป้งสีชมพู ได้ชมกิจกรรมมการเลื้ยงแตนเบียนที่นี่ คนทำงานราชการก็รู้สึกอิจฉามีอุปกรณ์พร้อม แมลงก็พร้อม ที่นี่ลงทุนสร้างโรงเรื่อนสำหรับเลี้ยงแมลงศัตรูธรรมชาติโดยเฉพาะ อุปกรณ์ใหม่ และเพียงพอ การจัดงานนอกจามีพิธีเปิดแล้วยังมีการบรรยายและพาชมสถานีให้ความรู้ 4 สถานี ได้แก่
1.การผสมสารเคมีในการฉีดพ่นอย่างถูกวิธี เน้นว่า ควรผสมสารในน้ำเพียงเล็กน้อยก่อนผสมน้ำจนได้ครบจำนวนจะทำให้สารเคมีละลายหรือผสมเข้ากันได้ดี ส่ม่ำเสมอ และการผสมกับ white oil สามารถลดอัตราการใช้สารเคมีลงครึ่งหนึ่งได้
2. การแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก ควรตัดเป็นท่อนขนาดสำหรับปลูกแลเวแช่ 5-15 นาที
3. การรู้จักแมลงศัตรูธรมชาติ รวมทั้งการเลี้ยงแตนเบียนสำหรับเพลี้ยแป้งสีชมพูที่ทำลายมันสำปะหลังด้วย
4. การตรวจนับแมลงเน้นเพลี้ยแป้งสีชมพู เพื่อการควบคุม เช่น พื้นที่ 10 ไร่ สุ่มตรวจดู 50 ต้น คือนับ 1 ต้น ทุก ๆ10 ต้น ถ้าพบแม่แต่ตัวเดียวก็ต้องจัดการ