วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หัวยบง 80 ไม่ลงหัวในพื้นที่วังชะพลู การเรียนรู้ที่จะปลูกมันให้ยั่งยืน

วังชะพลู ตำบลนี้เป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญ พื้นที่นี้มีหลายพันธุ์ปลูก เกษตรกรเคยกระตือรือล้นที่จะหาพันธุ์มันใหม่ ๆ มาปลูก แต่หลังจากที่มีหน่วยงานเข้ามาทำแปลงพันธุ์ให้เกษตรกรเลือก ช่วงยังไม่เก็บเกี่ยวก็ให้คะแนนใครจะเป็นนางงามในใจแต่ละคน แต่พอเก็บเกี่ยวผลผลิต ความคิดก็เปลี่ยนไป พันธุ์ไม่สำคัญ การดูแลรักษาสำคัญกว่ามาก


มาสำรวจปัญหาห้วยบง 80 ไม่ลงหัวกับนัองๆ พบว่า เป็นกระจายๆ ทั่วแปลง สมมติฐาน สภาพอากาศ(ปลูกช่วงกพ มีค58)เนื่องจากหลายแปลงที่ปลูกในช่วงนี้ก็เจอทั้งที่ให้น้ำและอาศัยน้ำฝน ตำแหน่งของลำที่ใช้เป็นท่อนพันธุ์เนื่องจากเราพบกระจายทั่วไป ส่วนการปักลึกน้ำขังอาจไม่ใช่ปัจจัยหลัก เนื่องจากในพันธุ์อื่นเราไม่พบอาการนี้ คือไม่พบในระยอง 7 หรือน้องแบม และไม่เจออาการไส้เดือนฝอยจึงตัดเรื่องนี้ออกไปได้ สาเหตุชัดเจนยังไม่อาจระบุได้แต่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็หลีกเลี่ยงพันธุ์ห้วยบง 80








การดูแลรักษาดิน ด้วยการเติมอินทรีย์วัตถุที่หาได้ เช่น กากตะกอนโรงแป้ง รายที่หาได้ง่ายก็ใส่มาก เช่น  4 ตัน/ไร่  ปลูกระยอง 11 ระยอง 86-13  และ CMR43-08-89 ด้วยความกังวลเรื่องกากตะกอนมันที่นำมาใส่ เพราะหลังฝนตกจะแสดงอาการขึ้นต้นมาก และบางส่วนขุดเก็บเกี่ยวแล้วพบว่ามีที่รากไม่ลงหัวทั้ง ไที่พันธุ์เป็นมันหัวดก
การไว้หญ้าบ้างหลังอายุ 3-4 เดือนหนือพุ่มคลุมดินแล้วทำกันมากขึ้นช่วยชะลอน้ำลดการชะล้างเห็ยชัดเจน เพราะปีนี้ฝนมัดจะมาแบบดุุๆ และหลายแปลงปีนี้ปลูกปอเทือง ปรับระยะปลูกให้เหมาะสมกับพันธุ์และสภาพพื้นที่ อีกรายหนึ่งก็พอใจกับการปลูกหลายพันธุ์ ลดความเสี่ยง พอใจระยอง 7 ขยายเลือกที่ให้เหมาะระยะให้เหมาะ 80 100 120 140 ซม.ไล่จากบนลงล่างตามความอุดมสมบรูณ์ของดิน แต่เรื่องจัดการหญ้าช่วงปลายฝนต่อแล้ง ก็ยังเสี่ยงว่าถ้ากำจัดแล้วฝนตกหนักอย่างเมื่อฝนตกเดือนที่ผ่านมาการฉีดยากำจัดวัชพืชทำให้ดินชะล้างมาก ใบมันที่ร่วงก็ไหลไปกับน้ำ แม้ว่าน้ำจะเป็นเรื่องจำเป็นแต่เป็นไปได้ยากที่จะให้น้ำในพื้นที่ปลูกมันทั้งหมดเพราะจะเจอปัญหา เช่น ที่เกษตรกรเล่าเรื่องการจัดการตะกอนและการอุดตันของท่อน้ำ ปัญหาน้ำต้นทุนทั้งไม่เพียงพอและคุณภาพน้ำที่ลดลงเมื่อฝนตก สุดท้ายเกษตรกรก็ตัดสินใจได้ถูกทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น