วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แมลงศัตรูมะพร้าว

เกี่ยวกับแมลงศัตรูมะพร้าวไปดู web แมลงศัตรูมะพร้าวของกรมวิชาการเกษตรที่ http://at.doa.go.th/coconut
การระบาดของศัตรูมะพร้าวส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตและพื้นที่ปลูก และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าว อีกทั้งภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในแหล่งที่มีมะพร้าวเป็นสัญญลักษณ์ดึงดูดนักท่องเที่ยว แมลงศัตรูะพร้าวที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่ หนอนหัวดำมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว ด้วงแรด และด้วงงวง ในเว็บให้ข้อมูลเกี่ยวกับแมลงศัตรู การควบคุม โดยเฉพาะการใช้แตนเบียนควบคุมซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย





1 ความคิดเห็น:

  1. 21 พค ลงมากุยบุรี ระหว่าทางมีฝนตกมาเรื่อย ๆ แต่เข้าพื้นที่ก็ปรากฏว่ามีฝนลงมาบ้าง แต่ชาวบ้านก็บอกตรงกันว่าฝนไม่ตก คือไม่มากพอ แมลงดำหนามก็ยังมีให้เห็น หนอนหัวดำก็ยังมีอยู่และบางแปลงก็มากขึ้น ด้านหนึ่งของตำบลกุยบุรีก็ดูแห้งแล้ง แต่พอใกล้คลองกุยบุรีมะพร้าวก็ดูชุ่มชื้น แปลงที่อยู่ใก้ลตลองส่งน้ำชลประทานก้ยังน้ำแห้ง แปลงนี้ดูโทรมมากจากครั้งแรกที่เห็นแปลงนี้เขียวสวยมาก ตามมาเรื่อย ๆ ก็หนอนหัวดำทำลายมากขึ้นเรื่อย ๆ พวกเราก็พยายามช่วยนำแตนเบียนมาปล่อยในพื้นที่บ้างแต่อาจเป็นเพราะว่าแมลงบ้านเรามีหลายระยะในช่วงเวลาเดียวกัน ต่างจากในบางประเทศที่มีระยะเดียวกัน ทำให้การควบคุมในบ้านเรายาก ต้องการการปล่อยแตนเบียนถี่ขึ้น เช้น 7 วัน ติดต่อกัน 3-5 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าการควบคุมได้ผล การผลิตหรือเลื้ยงแตนเบียนในพื้นที่แลัช่วยกันปล่อยก็เป็นหนมางหนึ่ง ยิ่งหากมีชาวบ้านให้ความสำคัญมารับแตนเบียนไปปล่อยได้บ่อย ๆ ก็จะช่วยได้มาก ในแปลงที่ไม่รุนแรงการควบคุมด้วยการต้ดทางใบและฉีดบีที ดูดหมือนจะให้ผลไม่แตกต่างจากไม่ทำอะไร ชาวบ้านวิจารณ์ว่าไม่เห้นต้องทำเลย เสียเงินงบประมาณเปล่า ๆ แต่ก็มีข้อชวนคิดหบายอย่าง สภาพพื้นที่ที่ไม่มีการระบาด กับสภาพที่มีการระบาด มีความแตกต่าง หาไปยืนอยูในทั้ง 2 พื้นที่จะมีความแตกต่างกันหลาย ๆ อย่าง เช่น รู้สึกร่มรืน เย็น ชื้น มะพร้าวก็งามเขียว

    ตอบลบ