วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

อิสราเอล..เล่าต่อ

MASHAV หรือศูนย์ความร่วมมือระหว่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศอิสราเอล เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ให้ทุนฝึกอบรมเฉพาะค่าใช้จ่ายในประเทศของเขา โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรม 29 คน จาก 13 ประเทศ 5 ทวีป (เช็ค ไนจีเรีย ตุรกี สวาซิแลนด์ เวียดนาม ไทย จีน อินเดีย ไลบีเรีย ชิลี ปาปัวนิวกินี ซามัวร์ และเอธิโอเปีย) ซึ่งทำงานในด้านการเกษตร อุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยา ส่วนใหญ่เป็นคนของภาครัฐ ที่โรงแรม Tal เมืองเทลอาวีฟ การฝึกอบรมประกอบด้วยการบรรยาย โดยวิทยากรจาก Israeli Meteological services และ Israeli Hydrological services การร่วมประชุมทางวิชาการเรื่อง Dryland, deserts & Desertification Conference ระหว่าง 14-17 ธันวาคม 2551 ที่มหาวิทยาลัยเบนกูเรียน วิทยาเขต Sede Boqer campus การนำเสนอของผู้เข้ารับการอบรม(สมัครใจ)และทัศนศึกษา ขอทยอยกล่าวถึงนะ
Climate Change and Desertification Process Climate Change ที่กล่าวถึงไม่ได้การเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง แต่จะศึกษาโอกาศเกิดเพื่อที่จะได้เตรียมการรับมือ Climate Change ใช้เอกสารของ IPCC (2007) เป็นหลักในการทำความเข้าใจ
การเกษตรของอิสราเอลปัจจุบันไม่ได้ให้ความสนใจที่ผลผลิตสูงแต่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการใช้น้ำหรือผลผลิตต่อหน่วยของน้ำที่ใช้ด้วย และเก็บค่าน้ำเพื่อการเกษตร น้ำใช้ของอิสราเอลมาจาก 4 แหล่งหลัก คือ
  1. ทะเลสาบ Galilee ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดแห่งเดียวอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ สามารถส่งน้ำเข้าสู่ระบบชลประทานแบบท่อสู่ภาคเกษตรของประเทศ
  2. น้ำเสีย
  3. น้ำใต้ดิน
  4. น้ำทะเล
การชลประทานระบบท่อ ทำให้ลดปัญการสูญเสียน้ำเนื่องจากการระเหย 65% ของน้ำทั้งหมด ถูกใช้เพื่อการเกษตร พืชที่ปลูกโดยรอบทะเลสาบ Galilee กล้วยหอมและเป็นพืชที่ต้องการใช้น้ำมาก แต่รัฐบาลก็ให้ความสำคัญในการจัดสรรน้ำให้ แม้ว่าน้ำจะเป็นปัญหาสำคัญที่สุดของประเทศนี้ และแทบไม่น่าเชื่อที่อิสราเอลสามารถปลูกมันฝรั่งส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้ และเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงสำหรับการเกษตรของอิสราเอล เกษตรกรลงทุนให้น้ำแบบสปริงเกอร์แก่มันฝรั่งได้

การดัดแปรสภาพอากาศโดย Cloud Seeding และกระบวนการเกิดฝนในเขต Semi-Arid Regions เนื่องจากการประเมินความคุ้มค่าในการได้น้ำมานั้นวิธีการนี้ต้นทุนต่ำสุดและได้น้ำปริมาณมาก ซึ่งขั้นแรกต้องมีความเข้าใจกระบวนการเกิดฝน เมฆประกอบไปด้วยละอองน้ำขนาดเล็กกว่า 0.02 มม.ซึ่งจะไม่สามารถตกเป็นฝนได้ ต้องมีขนาดมากกว่า 2 มม.จึงจะเกิดเม็ดฝน ประเทศอิสราเอลได้ทำการศึกษาวิจัยการทำฝนเทียมมาตั้งแต่ 1961 และสามารถนำมาใช้งานได้จริงสามารถเพิ่มปริมาณน้ำฝนได้ 10% - 20% หนือคิดเป็นน้ำ 60 ล้านลบ.ม. มีค่าใช้จ่าย 0.02$ ในปี 2008 ถูกกว่าการการใช้น้ำทะเล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 0.54$ และยังมีส่วนร่วมในโครงการวิจัยฝนเทียมของประเทศอื่น ๆ รวมทั้งไทยด้วย การทำให้เกิดฝนในเขตนี้แตกต่างจากบ้านเรา ที่ใช้ ซิลเวอร์ไอโอไดน์(silver iodide)

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 มกราคม 2552 เวลา 16:33

    ขอบคุณค่ะ สำหรับบทความดี ๆ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ2 เมษายน 2553 เวลา 11:57

    ^^
    มีข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายทางการเกษตรของอิสราเอล
    อยากจะได้ไปประกอบการศึกษานะครับ
    ช่วยบอกทีครับ
    จะเป็นพระคุณอย่างสูงเลยครับ
    ass_so2@msn.com

    ตอบลบ