วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อสังเกตเกี่ยวกับภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง

ในช่วงปีที่ผ่านมาและปีนี้เราคงสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆของพืชที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ ปี 2552/33 แห้งแล้งรุนแรงจนมันสำปะหลังที่เคยปลูกไม่ต้องดูแลมากมาเพิ่มค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดแมลง เพื่อจัดการกับเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีขมพู แต่ความแห้งแล้งก็ยาวนานกระทบฤดูฝนปี 53 ทำให้ช่วงต้นฝนไม่มีน้ำพอสำหรับการปลูกพืช มันสำปะหลังก็เห็นได้ชัดเจนว่าถ้าเกษตรกรตั้งใจจะปลูกต้นฝนก็ไม่ได้ปลูก ปลูกแล้วก็ต้องปลูกอีกเพราะว่าไม่งอก พอปลายฝนก็ตกกระหน่ำ แต่ก็ดีได้ประโยชน์เกี่ยวกับการควบคุมเพลี้ยแป้ง จนกระทั้งบัดนี้ยังไม่มีรายงานเสียหายเกี่ยวกับเพลี้ยแป้งสีชมพู
พืชอื่น ๆ ก็อยากให้คนที่ทำงานลองมาช่วยกันบันทึกเรื่องราวที่ท่านสังเกตุได้ โดยเขียนในส่วนแสดงความคิดเห็น เช่น ปี 53 เรายังไม่ได้กินมะม่วงเลยก็หมดแล้ว ปีนี้มะม่วงที่ออกก่อนก็ออกไปแล้วแต่ส่วนที่เป็นดอกชุดใหญ่ยังไม่ออก ข้อสังเกตุนี้จะได้จากสุพรรณบุรี กำแพงเพชรเป็นหลัก

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

วันหยุดปีใหม่ปีกระต่าย

ได้หยุดยาว ๆ และหยุดทำงานจริงๆ พักผ่อนหลังจากตรากตรำทรมานร่างกายมาหลายเพลา กลับบ้านสุพรรณ ปีนี้จัดว่าหนาวมาก ทำให้ไม่อยากไปที่ที่หนาวเลยเพราะว่าจะเป็นการทรมานร่างกาย ที่บ้านมะปรางเริม่ออกดอก และดอกบาน มะม่วงที่ดิดผลขนาดนิ้วมือเริ่มมีให้เห็นปีนี้มะม่วงออกก่อนฤดูมาก ส่วนฤดุของเขาจริง ๆ ไม่แน่ใจว่าจะถึงเมื่อไร จำได้ว่าฝนตกมาห่าใหญ่ช่วงธันวาคม ก็เป็นฝนชะช่อมะม่วงไปด้วย อาจเป้นสาเหตุหนึ่งที่ทำให่มะม่วงที่บ้านติดมากกว่าทุกปี เพลี้ยจั๊กจั้นมะม่วงก็ยังไม่หมดยังคงหลบอยุ่ตามพุ่มใบมะม่วง ขนุุนเริ่มแก่เก็บได้
ก่อนปีใหม่ไปพื้นที่แถวกำแพงเพชร มันสำปะหลังอีกตามเคย ปีนี้หลายไร่ยังไม่เก็บผลผลิต เนื่องจากรอราคาให้เป้นที่พอใจ หากจะให้ประเมินผลผลิต ปีนี้ไม่เสียหายเหมือนปีที่แล้วที่โดยเพลี้ยแป้งทำลาย การปล่อยแตนเบียนควบคุมได้ผล ประกอบกับสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยช่วยได้มาก การอดทนจนผ่านช่วงแล้งที่ยาวนานในต้นปีเป็นช่วงที่ต้องผ่านแรงกดดันมาก
ปัญหาที่น่าจะเป้นข้อสรุปได้ชัดเจนคือ
1. การรู้จักแมลงศัตรู เกษตรกรจำนวนมากแยกไม่ออกว่าแมลงที่เป็นคืออะไร อะไรก็เหมารวมไปหมดทำให้ไม่รู้สถานการณืทีีเป็นจริง หรือมีการใช้สารเคมีป้องกันเนื่องจากใข้ประสบการณืในอดีตมาตัดสินใจ ทั้ง ๆ ที่ปีนี้เพลี้ยแป้งสีชมพูน้อยมาก
2. ควรให้เกษตรกรได้รู้จักศัตรูธรรมชาติ หลายแปลงที่พบในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงหลังฝนแมลงศัตรูธรรมชาติมาก ที่มีบทบาทมากในช่วงที่ผ่านมาคือ แตนเบียนท้องถิ่น เขามีลักษณะที่ชัดเจนคือ มีสีเหลือง เคลื่อนที่เร็ว เบียนเพลี้ยแป้งสีเขียว และยังพบแตนเบียนเพลี้ยแป้งสีชมพูอยู่ ที่ยอดมาเลยคือเขาสามารถผ่านช่วงที่มีอาหารน้อยมาก และฝนที่ตกหนักมาได้
3. การใช้สารเคมีที่ฟุ่มเฟีอย เกษตรกรคิดว่าการใช้สารเคมีเป้นทางออกที่ดีที่สุด แต่จริงๆ แล้วทำให้การควบคุมโดยธรรมชาติถูกทำลาย หลังฝนตกหนักสัก 1 สัปดาห์ หากไปดูแปลงที่เดิมเราเคยเห็นมีเพลี้ยอยู่ใต้ใบเต็มไปหมด จะมีลักษณะเป็นซากดำ ๆ แห้ง ๆ มีเกษตรกรรายหนึ่งบอกว่าเขาเพิ่งฉีดยาก่อนฝนตก 1 วัน และรู้สึกดีใจว่าการควบคุมได้ผล หากพิจารณาโดยชัดเจนแล้วการฉีดพ่นครั้งนั้นไม่ได้ผลหรือมีผลทำกับไม่ได้ทำอะไรเลย
"ต้องใจแข็ง" การปลูกมันสำปะหลังในปีพศ.นี้ไม่ต้องกังวลคอยฉีดยา การชุบท่อนพันธุ์ยังจำเป็น การใช้ยาฆ่าแมลงระหว่างปลูกไม่มีความจำเ ป็น ปล่อยให้แมลงศัตรูธรรมชาติควบคุมกันเอง เราจะได้ไม่ต้องเจอบทเรียนราคาแพงที่ยาฆ่าแมลงอะไรก็เอาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวไม่อยู่