วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังยังวนเวียนอยู่...ยังไม่วางใจ

ให้โอ๋ไปสำรวจเพลี้ยที่ระยอง เนื่องจากการสำรวจเดือนก่อนพบเพลี้ยแป้งสีชมพูขนาดที่ทำให้ยอดหงิก จากแปลงรวบรวมพันธุ์อายุมันประมาณ 2 เดือน พบวัชพืชมาก ต้นมีการเจริญเติบโตดีพบอาการแตกเป็นพุ่มแจ้บ้างเป็นบางต้น จากการสุ่มตัวอย่าง 50 ต้น พบอาการยอดหงิก 1 ต้น ในพันธุ์ระยอง 60 ซึ่งในยอดหงิกพบว่ามีเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู พบทั้งในระยะถุงไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ส่วนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังอื่น ๆ ไม่พบว่ามีการระบาด โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งสีเขียวซึ่งมีปริมาณลดลงอย่างมากจากครั้งที่สำรวจเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2553 และพบแมลงศัตรูอื่น ๆ ของมันสำปะหลัง เช่น แมลงหวี่ขาวแต่พบในปริมาณน้อย นอกจากนี้ยังพบแตนเบียนเพลี้ยแป้งสีชมพูตัวเมีย 1 ตัว



แปลงทดสอบของอ.สุเทพ ต้นมันสำปะหลังไม่สม่ำเสมอกัน วัชพืชมาก และพบลักษณะอาการยอดหงิกหลายต้น ซึ่งในยอดหงิกพบเพลี้ยแป้งสีชมพู พบทั้งในระยะถุงไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยเป็นจำนวนมาก โดยต้นที่แสดงอาการยอดหงิกนั้นจะพบเพลี้ยแป้งสีชมพูเข้าทำลายทุกยอดจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ทราบว่าไม่มีการปล่อยแตนเบียนเพลี้ยแป้งสีชมพูแล้ว ส่วนที่พบแตนเบียนเป็นแตนเบียนที่ปล่อยในครั้งก่อน ๆ ซึ่งจะพบในแปลงเฉลี่ยประมาณ 1 – 7 ตัว มีข้อสังเกตุเกี่ยวกับแปลงที่พบเพลี้ยแปลงนี้ และการไม่พบในแปลงอื่นๆ ประกอบกับการตรวจสอบกับปริมาณน้ำฝนจากสมมติฐานเดิมน่าจะต้องมีประเด็นอื่น เพิ่มเติมเช่น การดื้อยา กลไกลภายในของพืชเอง