วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มันสำปะหลังกำแพงเพชร

มันกำแพงเพชรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้ามปีกัน โดยปลูกพค. และเก็บเกี่ยวประมาณพยถึงธคปีถัดไป ปกติเกษตรกรจะได้ผลผลิตเพิ่มจากการไว้ข้ามปี 3-4 ตัน แต่ปีนี้บางรายที่ได้รับผลกระทบจากเพลี้ยแป้งปีที่ผ่านมาแล้วไม่เก็บมาเก็บปีนี้ ปรากฏว่าผลผลิตลดลงจากที่เคยหลายตัน ได้ราว 3 ตัน ก็มี แต่บางรายที่ไม่มีปัญหาก็ได้ผลผลิตดี 8 ตัน เกษตรกรพยายามไม่ให้มีนเกิน 18เดือน เพราะแป้งจะลดลง และเป็นเส้นแข็ง ลามมันหลายแห่งก็ปลูกมันเอง นิยมทำมันเส้นใหญ่เพราะขายง่ายกว่านำไปขายกับบ.อาหารสัตว์ การรับซื้อที่ลานมันไม่มีการวัดแป้ง ต่างจากโรงแป้งที่วัด และไม่ชอบมันระยอง 72 เพราะว่าแป้งต่ำจรึงหรือไม่ก็ทำให้เกษตรกรไม่อยากปลูก ตลาดเป็นคนกำหนดพันธุ์ ลานหลายแห่งนำพันุ์ใหม่ ๆมากระจายให้เกษตรกร
เจอเกษตรกรชื่อครรชิดปลูกพยที่แล้วให้น้ำตอนปลุกและ4 เดือน เจอเพลี้ยแป้งทั้งๆที่แปลงอื่นข้างๆไม่เจอ และไม่ได้ดูแลเพราะไปอยู่วัดโบถ ปีที่แล้วแปลงนี้ได้ 5 ตัน ที่ 4 ไร่
ออกมาจากแปลงเลยไปหน่อยเป็นแปลงมันปีนี้พันธุ์ระยอง5 ดูแรก ๆ ไม่น่าจะมีอะไรแต่เจอเพลี้ยแทบทุกต้น ตรวจสอบ 50 ต้น เจอเกือบทุกตั้น แต่ไม่ค่อยพบตัวสีชมพู
เกษตรกรที่ขาณุ สายวสันต์ มณฑาทิพย์ CMR35-22-196 และแสงเทียน ปัทมาลัย ระยอง 9 เป็นแปลงที่แยกจากส่วนใหญ่ ปีก่อนระยอง 9 ได้ 4 ตัน ระยอง 7 ไร่
การหาคำตอบเกี่ยวกับวันปลูกคงพิจารณาจากผลผลิตอย่างเดียวไม่ได้ ช่วงนี้สำรวจข้อมูลอยู่กำแพงเพชรได้ข้อสรุปเกี่ยวกับวันปลูกที่นี้ขึ้นอยู่กับฝน ที่นี่แปลกมากนิยมไว้มันมากกว่าปี มักเก็บที่ 18 เดือน ได้ผลผลิต 10 ตัน พันธุ์มหัศจรรย์ที่นี่คือ น้องแบม ได้ผลผลิต 10 ตัน แน่นอน ต้นไม่สวยแต่หัวดีเกษตรกรชอบ ผิดกับระยอง 9 ที่ต้นใหญ่ไม่กี่ต้นก็แบกกันหนัก ซึ่งก็เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร
ลุงอุบล พาไปดูแปลงนายบุญเชิด ปลูก 196 แปลงนี้จากที่ไม่ได้ผลผลิตเท่าไร มาเป็นแปลงที่ดีได้โดยการปรับปรุงดินใช้ขี้เถ้า กากน้ำตาล และน้ำมามิ
พบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพันธุ์ 166 หรือที่เกษตรกรเรียกกันว่าน้องแบม ต้นไม่สวยแต่ผลผลิตดี มันที่นี่ต้นใหญ่มาก แต่ผลผลิตน้อยกว่าที่ศักยภาพของพันธุ์ไปถึง และยังปลูกยาวนานถึง 18 เดือน ด้วย เป็นวิธีการที่เกษตรกรปรับตัวเพื่อให่มีท่อนพันธุ์ไว้ปลูกในปีต่อไป เกษตรกรที่นี้เห็นความสำคัญของอินทรีย์วัตถุมาก