วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อินเดียต่อ

เลิกอบรมแต่ละวันก็ 5 โมงแล้ว ไปเดินดูแปลงเห็นคร้้งแรกคิดว่าเป็นหญ้าตีนกา เดินถึงป้ายบอกเป็นแปลงรวบรวมพันธุกรรมมิลเล็ต ถ่ายรูปมาด้วยสวย ๆ ก็มี กินน้ำจากท่อปะปาเลย ต้องทำใจเวลากิน ทำให้กินน้ำได้น้อยในช่วงนี้ การขับถ่ายดูไม่ค่อยปกติ

เย็นวันพฤหัสมีงานเลี้ยงต้อนรับที่ริมสระน้ำ มีจากกลุ่มอื่นมาร่วมด้วย (เขาคงจัดครั้งเดียวสำหรับทุกกลุ่ม) ชินเทียให้การบ้านอีกแล้ว ทานอาหารโต๊ะเดียวกับเวียดนาม ชินเทียมาพร้อมนาวีน ก็คุยเรื่องงานด้วยว่าแต่ละประเทศจะเตรียมตัวรับกับ CC อย่างไร แล้วแต่ละประเทศมีทิศทางในการพัฒนาเพื่อรับมือกับสิ่งนี้อย่างไร ให้เวียดนามส่งเอกสารทางราชการที่ระบุเกี่ยวกับ scenario ที่จะใช้ในการกำหนดทิศทางการศึกษา ดูเขาคาดหวังกับสิ่งที่ให้มาอบรมมากและถามว่าได้อะไรบ้างแล้วจะนำไปใช้อย่างไร เนื่องจากประเทศอื่น ๆ ที่ร่วมโครงการด้วยไม่ได้มา เวียดนามขอ copy เอกสารและโปรแกรมของเราไปด้วย หากเทียบกันแล้วประเทศไทยดูด้วยไปในเรื่องข้อมูลเชิงนโยบาย การเก็บข้อมูลเสร็จแล้ว และดูเหมือนว่าจะมีครั้งหน้า 2 คนจากแต่ละทีมจะได้ไปอบรม และ 1 คือด้านสังคม ที่บังคลาเทศ
เขาถามเน้นว่าใครคือคนทำข้อมูล รู้สึกผิดที่เราเป็นคนรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์ด้วย รัชดา และเบญจมาศน่าจะเป็นคนทำมากกว่า นาวีนเองก็เข้าใจเช่นนั้น นาวีนเข้าใจผิดว่าเราทำงานกับพี่ประพันธ์ในการรวบรวมข้อมูลมือสอง



วันนี้อบรมวันสุดท้ายเป็นวันขอบคุณ ผู้จัดถามว่าที่พักเป็นอย่างไรบ้างอีกแล้ว เมื่อวาน เพื่อนเวียดนามเพิ่งมาให้ข้อมูลว่าเราน่าจะได้ที่พักที่ดีกว่านี้ แต่เราก็ OK ช่วงนี้ไม่ร้อนการอยู่แบบสมถะนี้ก็ดี คนที่มาศึกษาวิจัยที่นี่ก็พักตึกนี้หลายคน และยังทำให้ได้เพื่อใหม่อีกด้วย ตอนเช้าเอาขนมที่หิ้วไปจากเมืองไทยไปให้พูริมา ก็จะกลับแล้วเลยให้เขาได้รู้จักขนมของบ้านเราบ้าง ไปเขาก็ไม่ยอมเสียเปรียบ คือไม่อยากเป็นผู้รับฝ่ายเดียวเลยให้ขนมปังมา 1 ห่อ และให้เราเขียน email ไว้ให้ ขอบคุณสำหรับความใจดีของคนอินเดีย
วันแรกนับว่าเป็นโอกาสดีที่ได้ออกไปดูบ้านเมืองเขาบ้าง แต่ถ้ามีข้อมูลดีกว่านี้คงได้มีโอกาสไปเที่ยวเมือง hyderabad ด้วย วันสุดท้ายก่อนเดินทางกลับจึงขอออกไปถ่ายรูปที่ถนน เลยรอถ่ายรูปรถออโต้ และรถเมล์ที่เคยขึ้นไปตลาดในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เสร็จแล้วก็กลับมาทีหอพักเตรียมเพ็คของกลับบ้าน แต่มีการเข้าใจผิดกันเล็กน้อยเรื่องเวลาออกไปสนามบิน มีโทรศัพท์จากพนักงานต้อนรับมาตามว่ารถพร้อมแล้วเอาตอน 18.30 น แต่เราก็ยังไม่อยากไป เพราะยังไม่ได้กินข้าว เก็บของยังไม่เรียบร้อย ก็รอไปพร้อมคนเวียดนามสองทุ่มตามกำหนดเดิมที่ตั้งใจไว้ เดินทางไปสนามบินด้วยรถที่เขาจัดให้ วันนี้เป็นรถตู้โคตรเก่าเลยไม่มีแอร์คือใช้งานไม่ได้มากกว่า ถ้าเป็นรถคันก่อนหน้าจะเป็นรถใหม่ 4 ที่นั่งสบาย ๆ วันนี้เดินทางมาด้วยเส้นทางใหม่แต่ก็วนไปทางเดิมเช่นกัน สัปดาห์ที่จะถึงนี้เป็นช่วงของการเฉลิมฉลองของชาวอินเดีย วันนี้ก็เลยเห็นการเฉลิมฉลองเล็ก ๆ มีการประดับแสงไฟและมีชุดคล้ายกระถาง ถาดเทียนขายคล้าย ๆ ช่วงยี่เป้งบ้านเรา ถึงสนามบินประมาณ 3 ทุ่มตามเวลาท้องถิ่น เสียดายเรื่องการแลกเงิน หากมีใครมาอีกต้องแนะนำดี ๆ มิฉะนั้นเงินจะหายไปกับตาเหมือนเรา จะได้ไม่ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนมากเท่าครั้งนี้ แล้วก็เดินค่าเวลาหาของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆที่สนามบินแต่ซื้อเป็นเงินไทยไม่ได้ของกี่ชิ้น กลับไปหลายชายคงบ่นแน่ว่าไม่มีอะไรมาฝากเลย

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เดินทางไปอินเดีย

11 ตุลาคม 2552 มาถึงสนามบินราชิพคานทีเมือง hyderabad ประมาณ 5 ทุ่ม สนามบินขนาดใหญ่มาก ผ่านกระบวนการเข้าเมือง ออกมามองหาคนมารับ กว่าจะถึงที่หมายก็หลังเที่ยงคืน หลังจากเช็คอินเข้าห้องพักก็นอนเลยเพราะง่วงมากแล้ว แต่ก็ไม่หลับเพราะยุงบินรบกวน เลยต้องมาเปิดพัดลมนอน เขารับรองด้วยห้องพักแบบพักคนเดียวไม่มีแอร์ แต่ใช้ห้องน้ำร่วมในกลุ่ม คือ อีก 1 ห้อง มีน้ำอุ่นให้ ผ้าเช้ดตัว สบู่ ทีวี มีสายต่ออินเตอร์เน็ตแต่ก้เข้าใช้ไม่ได้ ต้องรอช่างเทคนิคพรุ่งนี้ ก็คงไม่ได้เจออยู่ดีเพราะเวลาทำงานก็อบรมอยู่ วันนี้ก็ใช้ที่ housing office ไปก่อน ส่งเมล์ไปหาคุณแอเพราะเป็นเมล์มาทักทายอันแรก ช่วงเช้าถามหาโรงอาหารกับพนักงานต้อนรับ รู้ทิศแล้วแต่ก็หาไม่เจอ ไม่เฉลียวเลยว่าเป็นห้อง 204 คืออยู่ชั้น 2 ตั้งเดินผ่านไปรอบหนึ่ง โชคดีที่แรกเงินรูปีมา 50 ยูโร รู้สึกว่ามากไปตอนแลกเงินไม่ได้คิด แถมแลกได้แค่ 3,110 รูปี ทั้งๆ ที่อัตราแลกเปลี่ยนเขียนไว้ว่า 64 ก็ได้ใช้เป็นค่าอาหาร อาหารก็ไม่แพงราคาคล้ายบ้านเราแต่หน้าตาอาหารแตกต่าง กินได้บ้างไม่ได้บ้าง อาหารมีส่วนที่เป็นมังสวิรัสกินได้ เน้นของไม่ปรุงมากเป็นหลักทุกมื้อจะมีแผ่น คล้ายโรตีให้เลือกกิน เช้ากินขนมปัง 2 ชิ้น น้ำส้ม กล้วยหอม 24 รูปี หลังอาหารเช้าว่างไม่รู้จะทำอะไรก็เดินเที่ยวในบริเวณที่ทำการ วันอาทิตย์ปิด จะทำงานในส่วนที่จำเป็น งานวิจัยที่เห็นก็เน้นถั่วหลากชนิด green house จำนวนมากใช้งานและใช้งานอยู่จริง ๆ เขาแบ่งเป็นห้องย่อย ๆสำหรับงานวิจัยมีอุปกรณ์ช่วยในการควบคุมสภาพแวดล้อม

ที่นี่หากเดาจากสภาพแวดล้อม คงสร้างมานานมาก แปลงปลุกพืชไม่ได้ออกไปดูเพราะมีประตูกั้น แต่มีพืชปลูกมาก ศึกษาจากข้อมูลแผนที่ที่อยุในห้องพื้นที่ทดลองก็สภาพแวดล้อมแตกต่างกันเช่น ดินสีแดง ดินสีดำ คนงานหญิงที่นี้แต่งกายด้วยชุดประจำชาติทั้งที่ทำงานในหอพักและในแปลง ไม่กวาดทางมะพร้าวใช้กวาดพื้น
ก่อนอาหารกลางวันออกมานั่งห้องนั่งเล่นพบเพื่อนข้างห้องชื่อ พูริมา เป็นคนอินเดียมาจากรัฐอื่น จำไม่ได้ว่าชื่ออะไรจำยากมาก มาทำงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่นี่กับถั่วมะแฮะ แต่เขาใช้ภาษา คือ ทาลุกู เลยถามเขาว่าขอบคุณพูดอย่างไร “ไท้เนียนวาดาลู” คุยกันด้วยภาษาที่ยากหน่อยเพราะเราออกเสียงไม่ถูกทำให้เขาไม่เข้าใจ แต่เขาพยายามคุยกับเรา ทั้ง ๆที่เขามีงานต้องทำเยอะแยะ ผิดกับเราที่ไม่มีอะไรจะทำ บังเอิญกลางวันได้ทานข้าวด้วยกัน ก็เลยได้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร วิธีการกิน เช่น แผ่นโรตีต้องกินกับแกง หรือโยเกิรต์ มื้อนี้จ่ายไป 26 รูปี กลางวัน และเย็นจึงจะมีข้าวให้กิน ความใจดีของพูริมา ทำให้เราได้มีโอกาสไปเที่ยวตลาดเมืองจันดานากะ มีสถานีรถไฟด้วย พูริมาเวลากลับบ้านก้ใช้บริการที่นี่ ผู้คนคับคั่ง รถบีบแตรเสียงดังตลอดเวลา ไม่คุ้นเคย และได้เผชิญกับขอทานอินเดียครั้งแรก โอ้ยตามติดเลย พูริมาต้องไล่ไป รถมาก เป็นรถเก่า ๆ ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะรถเมล์ ไม่มีระเบียบ ผู้คนมากมาย สกปรกขนาดเจ้าของบ้านอย่างพูริมาออกปาก เพราะที่บ้านของเธอสะอาดเป็นระเบียบ ออโตได้ทดลองนั่งแล้ว 8 รูปี ถูกมากเมื่อเทียบกับบ้านเรา ขากลับกลับรถเมล์ 4 รูปี พูริมาไม่ยอมให้เราออกค่ารถทั้งหมด เธอขอออกในส่วนขากลับ เราไม่ได้ซื้ออะไรเลย แต่ไปสดุดตาชา TATA บ้านเราจะรู้จักในเรื่องรถ นอกจากผลิตรถแล้วยังทำชาอีก ราคาซองเล็ก ๆ 29 รูปี ส่วนเธอได้ปากกาและกาแฟ 3 ซอง กลับถึง icrisat แล้วเธอยังบอกให้ล้างมือกลั้วปากด้วยน้ำร้อน เพื่อป้องกันหวัดหมูที่อินเดียใช้คำว่า swine flu เลยนะไม่เหมือนบ้านเรากลัวไม่มีใครกินหมู เสร็จแล้วก็ไปกินข้าวเย็น ไปเร็วไปหน่อยไม่ค่อยมีอะไรน่ากินเลย
วันเริ่มอบรม เจ้าหน้าที่เขามาทำงานกันสายเหมือนกัน การลงทะเบียนเริ่มต้นที่ 8 โมงเช้า ได้เจอ Naveen และ Rao คนเดิมมาร่วมการอบรมด้วย และแนะนำให้รู้จักกับผู้ร่วมงานของเขาชื่อสกุลเหมือนกัน anather Rao เขาเป็นมิตรดีทักทายและชวนเที่ยวแต่พอรู้ว่าเรากลับวันศุกร์ก็บอกว่าเสียดายโอกาสที่จะทำความรู้จักอินเดีย ซินเทียเป็นคนเปิดการอบรมและแนะนำเรากับวิทยากรเกี่ยวกับเหตุผลในการเชิญมาเข้าร่วมอบรม ดูเขาจะคาดหวังกับเรามากเกินไปในการอบรม และผู้สอนอาจพาไปไม่ถึงก็ได้ ครั้งนี้ได้รับแจกซอฟ์ทแวร์อีกแล้ว เริ่มจาก install DSSAT install R ตามด้วย install package form zip file select file from c:\DSSAT45\tool\glue\install\*.zip ทั้ง 2 ไฟล์การรู้จักสรีรวิทยาของพืชเป็นประโยชน์เช่นเคย ระดับของการจำลอง 3 ระดับแตกต่างกันในเรื่องความต้องการข้อมูลด้วย จำเป็นต้องเข้าใจหลักการนี้ก่อน แบบฝึกหัดแรก sensitivity analysis เริ่มด้วยการใช้ dos แล้วจึงมาแนะนำ tool ที่ทำให้การวิเคราะห์ sensitivity analysis ง่ายขึ้น เป็บ GUI แท้จริง ง่ายกว่าเดิมมากทานข้าวกลางวันที่เป็นไก่ 57 รุปี อาหารที่ไม่ใช่มังสวิรัสแพงมาก แต่จ่ายเงินที่นี่ขาดทุนทุกวันเลย ไม่มีเงินทอนก็ไม่ทอนเอาเลย ขาดทุนมื้อละ 4-6 รูปีทุกมื้อ ดีที่เขาช่วยค่าอาหาร ช่วงบ่ายแนะนำ Weatherman โปรแกรมช่วยเตรียมข้อมูลภูมิอากาศ แยกเป็นไฟล์ตามปีให้ด้วยเลยพร้อมตั้งชื่อตามระบบของ


แปลกที่คนอินเดียไม่ใช้โรงอาหารที่ dining hall ถาม Anupama เธอบอกว่ามี canteen อีกแห่งหนึ่ง หลังอาหารแจ้งผู้จัดการอบรมเรื่องการคืนเงินค่าเครื่องบิน …ให้คนอื่นไปแล้ว Naveen เพิ่งมาถามหา เธอก็ยังเป็น Boss เช่นเคย มากำชับ Anupama เกี่ยวกับการอบรมว่าอย่าลืมเปลี่ยนหน่วยข้อมูลภูมิอากาศด้วยภาษาอังกฤษที่แสนแย่แต่ก็มีคนพยายามคุยกับเราและฟังเราคุยเพราะต้องถามซ้ำบ่อย ๆ แต่ดีที่เขาบอกเลยเวลาไม่เข้าใจที่เราพูด เป็นภาษาอังกฤษที่แย่มาก มื้อเย็นได้ทานข้าวโต๊ะเดียวกับ Rao อีกคน เขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของทีม 3 Rao ก็เลยถามถึงสมาชิกในทีมว่ามีกี่คน ปรากกว่ามี 3 คน นั้นหมายถึงว่าเราได้เจอครบทั้ง 3 คนแล้ว ทีมนี้รับผิดชอบงานต่างจากทีมของ ICRIST โดยเขารับผิดชอบในการพัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลภูมิอากาศ และ พัฒนา model ส่วนทีม ICRIST รับผิดชอบเรื่องงานเชิงสังคมทั้งหมด เขาเน้นว่านักอุตุนิยมวิทยาเกษตรทำงานควบคู่ไปกับนักวิชาการเกษตร บ้านเราไม่ได้ทำงานใกล้ชิดแบบเดียวกับเขา เนื่องจากเราอยู่กันต่างกรมและหาโอกาสในการทำงานร่วมกันยาก ส่วนนี้เราต้องปรับปรุง คนอินเดียก็ใจดีนะ เขาเล่าให้ฟังว่าเพื่อนเขาไปเมืองไทยไม่สามารถซื่ออะไรได้เพราะว่าคนไทยพูดภาอังกฤษไม่ได้ เสียดายขาดรายได้เข้าประเทศเลย
13 ตุลาคม มาทานข้าวเช้าเจอเพื่อนชาวเวียดนาม Tei เพิ่งเจอกันที่กรุงเทพ งวดนี้เขามาอบรมเรื่องข้าวฟ่าง กลับ 18 มากับเพื่อนชาวเวียดนาม 3 คน ที่นี่มาการอบรมมาก บ่อย มีหอพักอำนวยความสะดวก คนอินเดียก็เลือกที่จะพักที่หอแทนการกลับบ้านสะดวกกว่ามากเช้านี้ลงโปรแกรมเพิ่ม dotnet เนื่องจากโปรแกรม gencal, GULE ต้องใช้จึงจะรันได้ วันที่เรียนเรื่องสรีรวิทยาเป็นหลัก และการพัฒนาโมเดล และอธิบายความเป็นมาของโมดูลย่อย ๆ ที่ใช้ในโมเดล ทั้งหมดต้องใช้ผลการศึกษาทดลองสนับสนุนจำนวนมากเพื่อให้เหตุผลว่า crop model อธิบาย phonology ของพืชได้อย่างไร สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ life cycle และ growth stage-ของพืชที่เราสนใจ การตอบสนองต่อแสงเป็นอย่างไร วันนี้เรื่องหลักก็คงเป็นการทำความเข้าใจโมเดล และการปรับแต่งค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของพืช แนะนำเครื่องมือในการคำนวนค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรม คือ gencal และ GULE กลับไปต้องลองกับถั่วเหลืองแล้วรู้สึกว่ามีโอกาสสำเร็จมากขึ้น ต้องทวงข้อมูลจากทีมงานด่วน ได้รับเงินคืนแล้วเป็นเงินดอลลาร์ มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยอื่นมา ดูเขางกๆเงิ่นๆในการหาหลักฐานที่เขาต้องใช้บางอย่าง เช่น วีซ่า พาสปอร์ท เราไม่มีวีซ่าให้เขา เห็นคนอินเดียคนนี้แล้วรู้สึกถึงความอดอยากของประเทศนี้ เขาผอมบางมาก แต่แต่งตัวดีเนื่องจากมีงานที่ดีทำ ทำให้นึกถึงสภาพที่ไปเห็นผู้คนในตลาด ต่างจากผุ้คนที่ทำงานในที่นี้ หรือคนอินเดียที่มาอบรมก็ตาม ที่กล่าวถึงนี้ไม่ได้ยืนยันว่าอินเดียเป็นอย่างนี้ไปหมด พูริมาก็แสดงให้เห็นว่าแตกต่าง เสียดายที่ไม่ได้ทำความรู้จักอินเดียมากกว่านี้