วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551

อิสราเอลเริ่มต้น

กลับจากเดินทางไปฝึกอบรมที่อิสราเอล เมือเทลอาวิฟ พอมีเวลาเขียนถึงสิ่งที่ไปพบเจอมา มีผู้ร่วมรับการฝึกอบรม 29 คน จาก 12 ประเทศ หลากลายวัฒนธรรมมาใช้ชีวิตร่วมกัน การฝึกอบรมกำหนดการจัดแบบสบายสบายเนื่อหาไม่มากเกินไปนัก สัปดาห์แรกเน้นเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก สัปดาห์ที่2 ไปร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ Desertification ที่มหาวิทยาลัย Ben Gurion ทางตอนใต้ของอิสราเอลเป็นเมืองท่ามกลางทะเลทราย สัปดาห์สุดท้ายทริป และการบริหารจัดการเมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ระหว่างการอบรมก้แทรกด้วยการ นำสนอของผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับที่ผู้รับทำในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาทำให้เห้นความแตกต่างระหว่างแต่ละประเทศพอควร และเราคงอยู่ในระดับนี้ต่อไปไม่ได้แล้ว คงต้องเร่งตัวเองอีกนิด

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ราชพฤกษ์ 2551








1-10 ธันวาคม 2551 กระทรวงเกษตรฯจัดงานรวมใจภักดิ์รักพ่อหลวงที่ที่จัดงานพืชสวนโลกที่ผ่านมา วันนี้เปิดเป็นวันที่ 2 แล้วช่วงเช้า ๆ และเย็น ๆ อากาศดีมากแล้วต้นไม้ดอกไม้ก็สวยด้วยสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและไม้หลักที่ปลูกในงานพืชสวนโลกก็สวยงามตั้งตัวได้ดีแล้ว ด้วยเป็นคนที่ชอบต้นไม้แต่การดูแลรักษาต้นไม้ที่นี้น่าจะพิจารณาเรื่องการหมุนเวียนใช้ธาตุอาหารจากเศษซากพืช เพราะหลายบริเวณเราจะเห็นต้นไม้โคนลอยจากผิวดินมาก และมีการทิ้งเศษซากพืชออกไป สวนที่สวยได้จึงได้รับการบำรุงจากทางใบซึ่งใช้ต้นทุนมาก อยากให้เวทีใหญ่ๆ แห่งนี้เป็นที่ขยายผลงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรทั้งเรื่องการบริหารจัดการเศษซากพืช การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การจัดการน้ำและธาตุอาหารพืชฯลฯ




กระทรวงเกษตรนำไอทีมาร่วมแสดงในงานด้วยมีการบรรยายและให้ผู้ฟังร่วมสนุกด้วยการตอบคำถามชิงรางวัลเป็นช่วง ๆ พวกเราที่มาเฝ้าบู้ทก็พลอยสนุกสนานกันด้วยไม่เช่นนั้นก็เงียบเหงา และในบูทนี้มีบริการอินเตอร์เน้นให้ใช้เลยทำให้พวกคนทำงานและผู้เที่ยวชมงานได้ประโยชน์จากบริการนี้







สวนแห่งนี้ได้รับการสร้างอย่างสวยงามและมีคุณค่า ปัจจุบันก็ยังคงคุณค่าอยู่ สามารถใช้เป็นสถานศึกษาเกี่ยวกับพรรณไม้ได้ แต่การดูแลต้องใช้งบประมาณและทรัพยากรจำนวนมาก หน่วยราชการซึ่งดูแลอยู่อาจทำได้ไม่เต็มที่ และคงไม่สะดวกหากเก็บเงินค่าเข้าชมเพื่อนำเงินมาดูแลกิจการภายในสวนฯ ผู้ที่เข้ามาชมงานคงสามารถสัมผัสได้ถึงความกว้างขวางมาก
สถานการณ์การเมืองก็คลี่คลายแล้ว เชิญชวนมาเที่ยวงานกัน

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

climate ต่อ

พบปะกันกับกลุ่มที่จะศึกษา ความเปราะบาง และความสมารถในการปรับตัวของภาคการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งได้รับผลทางการเมืองทำให้งานวิจัยต้องรอต่อไป เนื่องจากเป็นงานวิจัยร่วมกับต่างประเทศ ราชการก็ต้องตรวจสอบ... แต่กลุ่มก็ยังใหม่สำหรับงานนี้ และการศึกษาส่วนหนึ่งเป็นงานวิจัยเชิงสังคมซึ่งจัดว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับนักวิชาการเกษตรซึ่งเรียนรู้มาทางงานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ การเลือกพื้นที่ก็ยังเป็นภาระสำหรับทีมว่าเลือกได้้เหมาะสมหรือไม่ ข้อมูลปัจจุบันยังไม่เพียงพอและกังวลว่าจะไปเลือกเอาพื้นทีีที่มีภาวะแห้งแล้งซ้ำซากและคนปรับตัวได้ดีอยู่แล้ว และอยากได้คนที่เป็นคนพื้นที่มากว่าคนที่อพยบมาจากที่อื่น ...ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมระหว่างรอ โดยกำหนดว่าน่าจะศึกษาส่วนท่่ีเบีย่งแบนจากค่าเฉลี่ยหรือค่ามาตราฐาน เราก็ถือโอกาสพักก่อนลุ้นว่าสนามบินจะเปิดใช้งานเมื่อไร

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

มีกำลังใจ

นักวิจัยของรัฐหรือคนทำงานให้ราชการทำงานอย่างตั้งใจและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ วานนี้ได้มีโอกาศรู้จักตัวตนของประโยคแรกนี้ การเป็นคนเก่งจำเป้นมากต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเห็น พร้อมที่จะแชร์ไม่ใช่มารับอย่างเดียว ทำให้มีกำลังในการทำงานอย่างมาก กลุ่มคนที่ทำงานมีหลายระดับ บางกลุ่มไม่เคยมีโอกาสได้ทำงานกับเกษตรกร สัมผัสความเป็นนักวิจัยในตัวเกษตรกร และการอยากมามีส่วนร่วมในการปรับปรุงวิธีการผลิตของเกษตรกรเอง หรืออาจเรียกได้ว่าไม่ให้โอกาศตนเอง ตอนนี้เราเองก็พยายามให้ข้อมูลอีกมุมหนึ่งของงานวิจัยลักษณะนี้ถึงแม้ว่าตนเองจะมีส่วนร่วมไม่มากนัก แต่เราก็มีโอกาสได้ใช้ความรู้ในส่วนที่ถนัดช่วยทำงาน อาจต้องปรับกระบวนทัศน์ในการทำงานใหม่บ้าง ส่วนจะทำอย่างไร คิดว่าหลายคนมีคำตอบที่มาจากความเชื่อของแต่ละคนที่แตกต่างกัน อยากเขียนถึง อ. ก้อนทองที่ขยันคิดโมเดลต่าง ๆ ในการจัดการไร่นา การวิจัยแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรที่คึกคักขึ้นอีกคร้งในกรมวิชาการเกษตร ทำให้เกิดเกษตรกรคนเก่ง เกาตรกรต้นแบบ และเกษตรกรมืออาชีพ รวมทั้งพี่เลี้ยงเกษตร และพวกเราพยายามผลักดันให้ใช้เครือข่ายนี้อย่างจริงจังในอนาคต และคาดหวังว่าผู้ใหญ่กว่าของพวกเราจะให้การสนับสนุน

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ปาล์มน้ำมันที่อุทัยธานี

30 ตุลาคม 2551 ไปพบลุงช้วน ปลูกปาล์มที่อุทัยธานี หมู่ 7 ต.คอกควาย อ. บ้านไร่ 35 ไร่ และเพื่อนเกษตรกรอื่น ๆ ประมาณ 100 กว่าไร ในปั 2547 ปี 50 เริ่มเก็บผลผลิต ต้นสวยมากขนาดใหญ่ ผลผลิคช่วงนี้ ขาดคอ พันธูนำมาจากสุราษฎร์ธานี ปุก พันธุ์ปาล์ม (ไนจีเรีย) แต่ลักษณะของปาล์มแตกต่างกันมาก สีผลแตกต่างกัน ลุงบอกว่าเขามีใบรับรองพันธุ์ เดิมแปลงนี้ปลูกสับปะรดมาก่อน ปลูกระยะ 9*9 สลับฟันปลา ขนาดต้นใหญ่เติบโตดี ดินร่วนปนทราย ให้ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง 2 กก./ต้น ปลูกโดยอาศัยน้ำฝน เคยพ่นให้ทางกาบใบบ้าง เกษตรกรรู้จักการปลูกจากการศึกษาจาก TV ขายผลผลิต 2 บ/กก. พอใจ มีการปล่อยแมลงช่วยผสมเกษรด้วย
ที่สังเกตุเห็นคือ ผลผลิตช่วงนี้ขาดคอนานดอกตัวผู้ในทลายก่อนหน้า ประมาณ 4-5 ทะลาย แปลงปลูกเป็นที่ราบลาดเอียงเล็กน้อย ผลสีเขียวดูว่าเป็นช่อดอกตัวเมียมากกว่า เกษตรกรมีผู้มารับผลผลิตถึงแปลง หากต้องนำไปขายเองจะไปขายที่อ. หนองเสือ
ปาล์มทอด
ลุงนิตย์ บ้านอยู่ไม่หากจากห้วยขาแข้ง คันทรีโฮม รีสอร์ท นำผลปาล์มมาทอดด้วยน้ำมันใช้แล้วก่อนเก็บและส่งขาย สามารถรักษาผลผลิตไว้ได้นานขึ้น
ยังอยู่ในขั้นพัฒนา

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การเลือกพันธุ์มันสำปะหลังให้เหมาะสมกับพื้นที่

ทีมงานมันมันก็ได้เวลาสรุปงาน พวกเราทำงานกันมาปีหนึงแล้วและได้ข้อสรุปที่น่าพอใจ ส่วนหนึ่งที่สามารถให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกพันธุ์มันสำปะหลังในพื้นที่ที่สนใจ ระหว่างการทำงานก็มีโทรศัพท์เข้ามาขณะที่ทีมงานประชุมกัน ถามเกี่ยวกับจังหวัดนี้ อำเภอนี้ปลูกมันพันธุ์นี้ดีไหม ปลูกต้นฝน หรือปลายฝนดี พอดีช่วงนั้นเราก็สร้างระบบงานค้นหาเสร็จเบื้องต้นก็เลยใช้ตอบคำถามได้ หลังจากนั้นก็ไปทดลอบที่ด่านช้าง สุพรรณบุรี มีผู้สนใจมาก และอยากทราบว่ามีบริการแบบนี้บนเว็บหรือไม่ พวกเราก็เตรียมการพัฒนาระบบให้บริการข้อมูลบนเว็บ และก็สามารถนำเวอร์ชั่นแรกขึ้นเว็บได้ในเดือนสิงหาคม ที http://www.doa.go.th/cassava หรือที่ หน้าแรกของเว็บกรมวิชาการเกษตร-เครือข่ายมันสำปะหลัง

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2551

แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช

ได้มีโอกาสอบรมการใช้ DSSAT ซึ่งเป็นแบบจำลองในการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งก็ได้เรียนรู้พร้อม ๆ กับ การทำงานในเรื่องการจำลองการการผลิตมัน ฯ ข้อมูลจริงจากงานทดลอง ทดสอบในสถานี และทดสอบในไร่เกษตรกร แบบจำลองที่มี จะทำนายผลได้แม่นยำมากแค่ไหน และ บอกทิศทางการพัฒนาการผลิตได้หรือไม่ มันฯ ปีนี้จัดเป็นพืชทอง ราคาดีมาก พลังงานก็ให้ความสนใจ เราจะผลิตพอกับความต้องการของประเทศหรือไม่
ผลผลิตบ้านเราต่ำมาก พืชนี้เคยตกเป็นจำเลยของสังคมหากยังจำได้ เพราะฉะนั้นระบบการผลิตมั้นตั้งแต่อดีตจึงเน้นดึงจากทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ค่อยมีงานที่เน้นการผลิตอย่างยั่งยืน ฟังจากที่เพื่อนักวิชาการในพื้นที่เล่าให้ฟัง ท่อนมันที่แจกจ่าย/ขายให้เกษตรกร จากศูนย์/สถานีท่อนขนาดแขน ประมาณ 2-3 ปีจะเหลือขยาดเท่านี้วก้อย เพราะปลูกมันฯ แล้วตามด้วยมันฯ แล้วก็ตามด้วย มัน ฯ และก็พันธุ์เดิม ๆ แทนที่จะเปลี่ยนพันธุ์บ้าง สลับด้วยพืชอื่นบ้าง ทฤษฏี limiting factor อธิบายได้ดีจริง ๆ เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการใช้ทรัพยากร ภาครัฐควรเป็นตัวอย่างระบบการผลิตแบบยั่งยืน และคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรของคนรุ่นต่อไป
แบบจำลองของพืชจริง ๆ แล้วก็มีที่น่าสนใจหลายตัว แต่อาจเป้นเพราะไม่มีโอกาศได้ทำความรู้จัก ค่าใช้จ่ายสำหรับการได้มาก็มีความสำคัญ และยังต้องการการเรียนรู้เพื่อใช้งาน หลายคนบอกว่ามีข้อจำกัดในการใช้งาน แต่เราจะสร้างเองก็คงไม่สำเร็จ เราก็ต้องเรียนรู้จากสิ่งที่มีอยู่แล้วก่อน