วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ทีมมันพัฒนาการที่เยี่ยมมาก

ประชุมทีมงานมันที่ขอนแก่น แต่ละเขตนำเสนองานในส่วนของตนเอง สวพ 2 โดดเด่นมากพัฒนาได้ไกลกว่ากลุ่มสวพอื่น ๆ คือสามารถจำลองได้ตาม SMU ที่กำหนด และนำกลับมาแสดงผลในแผนที่ได้ ให้คำแนะนำได้ ศปบ เลยก็มีกรณีศึกษาที่ดี หลากลายทั้งช่วงปลูก อายุเก็บเกี่ยว แต่ศึกษาเฉพาะที่จังหวัดเลยที่เดียว จังหวัดอื่น ๆ ยังไม่ได้นำมาเสนอ แต่เป็น case ที่สวพ 2 อยากนำไปพัฒนาต่อ เขต 5 สามารถรันแบบจำลองได้ สอนเพื่อน ๆ ได้ แต่การนำกลับมาแสดงในแผนที่ยังสับสนอยู่ เขต 4,6 ยังไม่มีเวลาลงมือทำจริงจังจึงยังรันโมเดลไม่ได้ ในกลุ่มมองเห็นปัญหานี้ จึงเสนอการจับคู่เรียนรู้เพื่อดึงกลุ่มที่ช้า ไม่ทันให้ทันกลุ่มให้ได้ การเขียนคู่มือเป็นวิธีการหนึ่งแต่ปัญหาที่เจอก็คือ อาจเขียนไม่เข้าใจสถานการณ์ที่ผู้ใช้ต้องการแก้ไข เพราะการเขียนคู่มือต้องเขียนเป็นกลาง ๆ ไว้ ไม่ได้ระบุว่าใช้กับกรณีใดเป็นการเฉพาะ แต่เขียนไว้ช่วยจำเพราะไม่มีใครจำอะไรได้ทั้งหมด และอีกหน่อยซอพท์แวร์ก็เปลี่ยนไป พอไดเมีโอกาศเรียนรู้ของใหม่ ๆ ของเก่าก็ลืม คู่มือการใช้งานจำเป็น

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ข้อมูลดาวเทียมกับงานด้านการเกษตร

การวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียม ทดลองนำมาใช้ในส้มเขียวหวานเพื่อตรวจสอบระดับความเสื่อมโทรมของสวนส้ม โดยศึกษาจากค่าการสะท้อนพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีแหล่งกำเนิดจากแสงอาทิตย์ ใช้ข้อมูลดาวเทียม spot5 การจำแนกมีทิศทางที่ดี ความสามารถในการจำแนกระดับของตัวอย่างสวนที่เสื่อมโทรมแต่ละระดับอยูในระดับ high แต่จะจำแนกได้ พื้นที่ส้มที่ให้ผลผลิตแล้วต้องจำแนกออกมาก่อน
บทสรุปจากการทำงาน
การจำแนกอาการเสื่อมโทรมของสวนส้มในพื้นที่อำเภอฝาง เป็นอาการที่แสดงออกให้เห็นได้ด้วยการสังเกตทางใบ เรือนยอด ซึ่งมีได้หลายสาเหตุ อาจเกิดจากโรคกรีนนิ่ง รากเน่าโคนเน่า ทริสเทซ่า รวมทั้งการขาดธาตุอาหาร ข้อมูลดาวเทียมที่สามารถนำมาใช้งานได้เป็นภาพที่ได้จากการถ่ายภาพในเดือนมกราคม 2006, 2007 และมีนาคม 2007 ส่วนภาพในช่วงปลายฤดูฝนมีเมฆมากไม่สามารถนำมาใช้งานได้ ดังนั้นการจำแนกอาการเสื่อมโทรมในสวนส้ม จึงใช้ข้อมูลดาวเทียมช่วงเดือนมีนาคม เพื่อหลีกเลี่ยงการแปลผลผิดพลาดเนื่องจาก สีของผลส้มในฤดูเก็บเกี่ยว การสะท้อนพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของสวนส้มที่มีความสมบรูณ์แตกต่างกัน 5 ระดับ นั้นมีความแตกต่างกันในทุกแบนด์ (อินฟราเรดใกล้ แดง เขียวและ อินฟราเรดคลื่นสั้น) รวมทั้งดัชนีพืชพรรณ NDVI (NIR-G)/(NIR+R) ที่แสดงความแตกต่างของปริมาณชีวมวลและกิจกรรมของพืช green NDVI (NIR-G)/(NIR+R)ที่สัมพันธ์กับความเข้มข้นของคลอโรฟิล แต่ความสัมพันธ์ไม่ได้เป็นเส้นตรง
ความความถูกต้องของการจำแนกระดับความเสื่อมโทรมเมื่อตรวจสอบกับข้อมูลจริงในภาคสนามจำนวน 75 ตัวอย่าง พบว่า ระดับที่จำแนกได้สูงกว่าหรือเสื่อมโทรมกว่าความเป็นจริง 1 ระดับ และสวนที่เสื่อมโทรมมาก(ระดับ 5) มีเนื้อที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากลักษณะของสวนที่มีความอุดมสมบรูณ์ในระดับนี้ ต้นส้มมีทรงพุ่มขนาดเล็ก มีอาการกิ่งแห้งจากยอด ทำให้เห็นพื้นดิน หรือพื้นที่ว่างมากขึ้น การจำแนกสวนที่เสื่อมโทรมมากจึงปะปนกันสวนส้มที่มีอายุน้อย หรือเริ่มปลูกได้ ซึ่งหากพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้ว อาการเสื่อมโทรมของส้มนี้มักเกิดในส้มที่ให้ผลผลิตแล้ว หากสามารถแยกพื้นที่ปลูกส้มใหม่หรือส้มเล็กได้แต่ต้นแล้ว ความถูกต้องในการจำแนกน่าจะสูงขึ้น
พื้นที่ปลูกส้มในเขตอำเภอฝางและอำเภอใกล้เคียงจัดเป็นพื้นที่ปลูกส้มผืนใหญ่ของประเทศ มีความสม่ำเสมอพอควร เนื่องจากเกษตรกรยังสามารถให้การเอาใจใส่ดูแลได้ภายใต้ต้นทุนที่จำกัด อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของระยะการเจริญเติบโตของส้มในรอบปี สภาพภูมิอากาศ การให้น้ำให้ปุ๋ยแก่พืช มีผลกระทบต่อการรับรู้ของดาวเทียม และเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาในการประยุกต์ใช้งาน ระดับที่ 4-5 เป็นระดับที่มีความสูญเสียเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากสวนเป็นโรค หรือขาดการบำรุง หรือละทิ้ง
ในการศึกษาไม่สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของปัจจัยทางภูมิอากาศได้เนื่องจากจำนวนสถานีตรวจวัดมีไม่เพียงพอ