วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การให้บริการจุดพิกัดของหน่วยงาน

การให้บริการจุดพิกัดของหน่วยงานโดยเฉพาะหน่วยงานที่เป็นเกษตรท่องเที่ยว เป็นความท้าทายใหม่ ๆ ที่น่าดำเนินการ โดยให้ข้อมูลทั่วไปและตำแหน่ง

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การประชุม 10-11 กันยายน 2550

ห้องประชุมศูนย์สารสนเทศ กรมวิชาการเกษตร
1 ทบทวนขั้นตอนการทำงานตั้งแต่การสร้าง หน่วยการผลิต และการสร้าง X file run DSSAT
ปัญหาในการทำงาน
การกำหนดวันปลูกวันเก็บเกี่ยวเกินข้อมูลที่จัดไว้ให้ เมื่อรันโมเดลแล้วไม่ได้ เช่น ข้อมูลเก็บเกี่ยวปี 2550 แต่ปัจจุบันเรามีข้อมูลเพียง 2549 แก้ไขโดย ประสานงานขอข้อมูลจากกรมอุตุ สถานีที่อยู่ข้างเคียง หากอยู่ห่างไกลให้แจ้ง รหัสสถานีให้วลัยพรทราบ เพื่อประสานงานขอข้อมูลไปที่กรมอุตุอีกครั้ง
นนสด ตันต่อไร่ หารด้วย 0.00047 เป็นหน่วย กก./เฮกตาร์
Summary.out
Overview.out
Growth.out
ทั้ง 3 ไฟล์จะถูกทับทุกครั้งที่มีการรันโมเดล หากต้องการจัดเก็บไว้ต้อง copy ออกไป
การจัดการข้อมูลที่มี .bak เนื่องจากผลของไฟล์ window commander
สรุป
นำ excel ข้อมูลแปลงทดสอบเพื่อค้นหา ดินและอากาศ
2 การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กุลสิริ(สถาบันวิจัยพืชไร่) แบบสอบถาม 2 กลุ่ม เน้นการเก็บข้อมูลในทุกประเด็นเพื่อให้ครอบคลุม ส่วนจำนวนอาจไม่ได้ตามเป้าหมายก็ได้ การสรุปแบบสอบถามต้องสมบรูณ์
มีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแบบสอบถาม
เป้าหมายหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีการเพื่อให้ได้ข้อมูล นัดเกษตรกรมารวมกันสัมภาษณ์ รายแปลง รัศมีรอบโรงงานเป็นจุดเริ่มต้นแทนการสุ่มจากจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกมัน
การส่งแบบสอบถาม สถาบันจะทบทวนอีกครั้ง
3 แนะนำการใช้งาน PDA
-มีอะไรในกล่อง os win CE pg powermap ซึ่งติดตั้งใน PDA แล้ว ความเร็ว 400 G memory 64 M ใช้ SD size 1 Gbyte ฟังเพลงได้ เสียงไม่เพราะเท่า MP3 GPS embedded
การ syn
ใช้แผ่นติดตั้ง เพื่อติดตั้ง Microsoft activesyn และทำตามลำดับ ใส่ชื่อเครื่องตามชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อ แล้วให้ restart
get connect ตามลำดับที่เขาแนะนำ ระบบจะสแกน port ต่างๆ แต่ไม่เกี่ยวกัน cancel ไป เลือก USB port เพื่อใช้งาน ครั้งต่อไปเมื่อเชื่อมต่อจะสามารถ detect ได้เอง
ใส่ชื่อเครื่อง เมื่อเครื่องติดต่อกันแล้วจะปรากฎชื่อ การตั้งชื่อจะปรากฏเป็นชื่อผู้ใช้ในซอฟท์แวร์ต่างๆ
4. align
สวพ 2 ขาด อากาศนครสวรรค์
400201
ดูฝา ใช้ showgraph เลือก new เปิดไฟล์อากาศ เปรียบเทียบ
มันเส้น คำนวณจาก 38% มันสด สวพ2
งาน
จากแผนที่ปลูกมัน ให้นำไปตัดด้วยสวพตัวเอง แล้วนำไป ซ้อนทับกับอากาศ ดิน
สร้าง Smu code จาก รหัสอากาศ รวมกับดิน โดยการเพิ่มฟิลด์ แล้วคำนวณรวมกัน
Summary เลือกข้อมูลที่ไม่ซ้ำกันมาจำลอง station_code and id soil
นำไปจำลองทั้งจังหวัด
Run แต่ละพันธุ์ นำข้อมูลมาเปรียบเทียบด้วย excel
Save as dbf file แล้ว join with smu file

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

กันยาต่อตุลา

เดินทางข้ามหลายดอยทั้งโครงการพิเศษและหน่วยงานในสังกัดช่วงนี้อากาสเปลี่ยนแปลงบ่อย ก่อนมาทีมก็มาไม่ได้ 1 คน มาป่วยอีกคน เลยไม่ค่อยมัน เพราะกังวลกับการเจ็บป่วยการส่งกลับ และงานที่ต้องปรับเปลี่ยนไป ได้งานไม่ตรงตามที่กำหนด ก่อนกลับก็ได้รับโทรศัพท์เรื่องลาออกของอาท ก็คงยุติกิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่อยากทำไปเลย ตัวเองก็ป่วยก่อนกลับ

สบขุ่น สถานีพัฒนาเกษตรที่สูงน่าน

29-30 กันยา เยือนสบขุ่น
บ้านสบขุ่น เป็นชุมชนดั้งเดิม ประกอบด้วยผู้คนขากหลายพื้นที่อบยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่เพื่อทำมาหากิน เนื่องจากเห็นว่าเป็นที่อุดมสมบรูณ์ ชุมชนอยู่ห่างไกลจากเมือง การเดินทางต้องผ่านช่วงที่เป็นภูเขาสูง ผ่านบ้านดอยติ๊วซึ่งเป็นชุมชนของม้ง แต่ทางลาดยางถึงหมู่บ้าน บ้านสบขุ่น เป็นพื้นที่ราบ ปลูกข้าวนาสวนไว้กิน บางรายเหลือก็ขายในหมู่บ้าน มีโรงสีข้าวขนาดเล็กดำเนินการโดยเอกชน รายได้หลักมาจากการปลูกข้าวโพด ปีนี้ข้าวโพดราคาดี ช่วงนี้กำลังเก็บผลผลิต งานอีกอย่างที่น่าสนใจ คือ การจักสาน ชาวบ้านทำตอกไม่ไผ่อ่อนสีขาวตากกันแทบทุกบ้าน สานกันเป็นปื้น ขายเป็นมัด มัดหนึ่งมี 10 พับ มีคนมารับซื้อในราคา 5 บาท



ที่สถานี
นำกล้าสตรอบอรี่มาปลูกด้วยแต่ที่ประทับใจมาก คือ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลอธิบายงานให้คนงานได้น่าประทับใจมาก "สตรอบอรี่ที่อาจารย์นำมาปลูกนี้เป็นพืชเมืองหนาว ดูการสาธิตการปลูก ..."
คนซ้ายในภาพ ชื่อ กอบ ที่นี่มีนักเกษตรในพระองค์ 2 คน เป็น ชาย 1 หญิง 1 มีกิจกรรมที่ดำเนินการก้าวหน้ามาก อาจเป็นเพราะมีแรงสนับสนุนจากภายนอกดี มีผู้ช่วยดีอย่างนายกอบ กิจกรรมที่นี่ดำเนินการได้เร็ว ทั้งทับทิมอินเดีย และมะเดื่อฝรั่ง ชาปีนี้นำมาปลูกแล้วและบางส่วน bare root มาชำไว้ก่อนเตรียมปลูกปีหน้า


วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

งานโครงการพิเศษของกรมบางส่วน

ได้มีโอกาสเยี่ยมชม รับทราบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมในกิจกรรมโครงการพิเศษต่าง ๆ ช่วงปลายกันยายน-ต้นตุลาคม
ภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน





ปีนี้กิจกรรมปรับเปลี่ยนการทำงานเน้นการดำเนินการในแปลงส่วนกลางของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งขอพื้นที่จากโครงการ เดิมเคยทำในพื้นที่ชาวบ้าน ปัจจุบันส่วนที่ขยายผลในแปลงชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านต้องดำเนินกิจกรรมเอง ปีนี้ นำสตอเบอรี่ไปปลูกเป็นพันธุ์จาก สะเมิง แม่สาย ในพื้นที่ส่วนกลางของภูฟ้า พื้นที่ของกรม และแปลงลุงไหล และชาวบ้านที่มาช่วยแรงงานเล็ก ๆ น้อย 20-30 ต้น
นำมันฝรั่งสปุนต้ามาปลูกครั้งแรก ฟักทองญี่ปุ่น ผัก มะระหวาน ถั่วปากอ้า มะเกียง

ความสูงของพื้นที่ ประมาณ 550 เมตร กาแฟที่นี่ปลูกได้แต่สุกแก่เร็ว ซึ่งไม่เหมาะสมนัก หากสุกแก่ช้าคุณภาพของสารกาแฟจะดีกว่า ช่วงนี้ก็มีการเก็บกาแฟบางส่วนแล้ว สารกาแฟคุณภาพดีต้องเก็บไว้ 5 เดือนก่อนนำมาคั่ว


แปลงลุงไหล
เกษตรกรตั้งใจอยากมีพืชที่เป็นรายได้ และปลูกแบบพอเพียง เคยปลูกหลายอย่างแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ตาย เพราะไม่มีน้ำ ??? เรื่องน้ำ หากวิเคราะห์จากข้อเท็จจริงแล้วทุกสวนในโครงการมี ก็อกน้ำตั้งแต่ต้น เพียงแต่ไม่มีระบบน้ำหหรือสปริงเกอรืให้ ปีนี้ พด.มาทำระบบน้ำให้ก็มีกำลังใจในการปลูกพืช เกษตรกรที่นี่ทำงานหนัก ตั้งใจทำแปลงปลูกอย่างดี แต่เสียที่ว่าการแนะนำปลูกครั้งแรกปลูกถี่ไป เกษตรกรปลูกเองยิ่งถี่มากไปอีก ทำให้กล้าไม่พอ
เกษตรกรจึงไปขอรับกล้าเพิ่มจึงแนะนำให้ปรับระยะปลูกใหม่ แปลงนี้นำจะเป้นแปลงตัวอย่างได้ดีทั้งการศึกษาวิจัยและแปลงตัวอย่าง
เป็นที่สังเกตุว่าเกษตรกรไม่กี่รายที่ร่วมกิจกรรมกับโครงการ และก็รับความร่วมมือ ช่วยเหลืออย่างหนาแน่น




การอบรม GIS กรมพัฒนาที่ดิน

กรมพัฒนาที่ดินได้จัดให้มีการฝึกอบรม หลักสูตร การพัฒนาโปรแกรมในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในระหว่างวันที่ 18-21 กันยายน 2550 กล่าวถึง
1. การพัฒนาโปรแกรมใช้ ARCMAP ซึ่งเป็นโมดูลหนึ่งของ ARCGIS เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับผู้ใช้ มีความสามารถปรับแต่งเมนู และเขียนโปรแกรมด้วย VBA ของ ARCMAP
2. การสร้าง MODEL BUILDER ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล GIS และช่วยในการอำนวยความสะดวกในการทำงานกับลักษณะงานที่คล้ายคลึงกันได้
3. เรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Map Window GIS ซึ่งเป็น open source program จัดเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย และมีผู้พัฒนาต่อเนื่อง น่าจะพิจารณานำมาใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล การใช้งานคล้ายกับ ARCVIEW ที่ใช้งานกันทั่วไป แต่ Map Window GIS จะไม่มีปัญหาเรื่อง license ในการใช้งาน
4. การเขียนโปรแกรมด้วย ภาษา Visual Basic สามารถพัฒนาร่วมกับ Map Window GIS โดยดึง service ของ Map Window มาพัฒนาเป็น application ได้ สามารถ complied เป็น exe file หรือ เป็น script นำไปใช้ต่อกับ Map Window GIS ได้ แต่ Visual Basic ใช้ Visual studio.net ซึ่งเป็น commercial software เป็น tool ช่วยเขียน
กรมวิชาการเกษตรเราน่าจะมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้วย GIS open source program โดยเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ GIS อบรมการใช้งาน และการเผยแพร่ข้อมูล ควรพิจารณาเลือกใช้ open source program สำหรับการใช้งานกับ PC และผู้ใช้กลุ่มนี้ก็มีมากขึ้น